สาระน่ารู้ เรียนรู้เรื่องญี่ปุ่นกับ J-Campus

การอ่านคันจิในเว็บไซต์ ไม่เป็นปัญหาอีกแล้ว
โดย Webmaster (12 มีค 66)
ถ้าคันจิทุกตัว มีฟุริงานะเขียนกำกับไว้ด้วย การท่องเว็บเพื่อศึกษาหาความรู้ภาษาญี่ปุ่น ก็คงจะไม่มีปัญหาอีกต่อไป ... อ่านต่อ ...
เสียงขุ่นนาสิก : か° き° く° け° こ° สุโก้ย หรือ สุโง่ย
โดย Webmaster (8 มีค 58)
か° き° く° け° こ° คืออะไร
ทำไมบางคนออกเสียงว่า สุโก้ย บางคนบอกว่า สุโง่ย
ทำไมถึงออกเสียงไม่เหมือนกัน ?? ... อ่านต่อ ...
การบ้านกอด : 1 ใน 10 เรื่องเล่าที่ควรอ่านไว้ก่อนจะต้องอยู่ตามลำพัง
โดย Webmaster (27 มค 58)
ถ้าคุณครูให้การบ้านว่า ให้กลับไปให้ทุกคนที่บ้านกอด จะเป็นอย่างไรนะ ... อ่านต่อ ...
ซื้อ? ไม่ซื้อ?
โดย Webmaster (16 มค 58)
คุณย่าทวดวัย 98 ปี เล่าให้ฟังว่า ได้ลองใส่เสื้อผ้าชุดสวยที่ห้างสรรพสินค้า ... อ่านต่อ ...
สัญญา 18 ข้อ ในการใช้ iPhone ระหว่างแม่กับลูกชาย
โดย Webmaster (12 มค 56)
คุณแม่คนหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาได้มอบ iPhone เป็นของขวัญวันคริสต์มาสแก่ลูกชายวัย 13 ขวบ โดยทำสัญญาการใช้งานไว้ 18 ข้อ .. นี่คือโทรศัพท์ของแม่ แม่เป็นคนจ่ายเงิน แม่ให้เธอยืมใช้นะ .. ต้องบอก password ให้แม่ทราบ .. ห้ามเปิดดูสิ่งลามก หากสงสัยอะไร ให้ปรึกษากับแม่หรือพ่อ .. ... อ่านต่อ ...
25 เรื่องที่เสียใจในยามเสียชีวิต
โดย Webmaster (9 มค 56)
คุณหมอ Ootsu Shuuichi ผู้มีหน้าที่บรรเทาความทุกข์ทางจิตใจให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งขั้นสุดท้าย ได้รับฟังความในใจของผู้ป่วยก่อนที่จะเสียชีวิตมากกว่า 1,000 คน และได้รวบรวมข้อมูลเหล่านั้นมาเขียนเป็นหนังสือชื่อ "25 เรื่องที่เสียใจในยามเสียชีวิต" เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจถึงสิ่งที่ควรทำ/ไม่ควรทำ เพื่อไม่ให้ต้องเสียใจในช่วงบั้นปลายชีวิต ... อ่านต่อ ...
การใช้คำว่า ~ている และ ~てある
โดย webmaster (25 ธค 55)
~ている และ ~てある ในบางกรณีมีความหมายคล้ายกัน ทำให้สับสนในการใช้งาน มาทบทวนวิธีใช้คำทั้งสองนี้ให้ถูกต้อง ... อ่านต่อ ...
ไม่เปิดพจนานุกรม ก็อ่านคันจิได้นะครับ
โดย อ.ณัฐพล จารัตน์ (21 กย 55)
แนะนำวิธีใช้เว็บไซต์เพื่อเพิ่ม Furigana (คำอ่านฮิรางานะ) ตัวคันจิ โดยไม่ต้องเปิดดิคค้นหา ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับเว็บไซต์ทุกๆแห่งที่มีตัวคันจิอยู่ด้วย ... อ่านต่อ ...
มารยาทในการใช้บันไดเลื่อนของชาวญี่ปุ่นที่กำลังเปลี่ยนไป
โดย Webmaster (15 สค 55)
ขณะที่คนกรุงเทพกำลังรณรงค์ให้ยืนชิดซ้ายหรือชิดขวาบนบันไดเลื่อนในสถานีรถไฟ เพื่อเปิดทางให้คนอื่นเดินแซงผ่าน

คนญี่ปุ่นกลับรณรงค์ให้หยุดเดินบนบันไดเลื่อนมานานกว่า 8 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถลบล้างธรรมเนียมเก่าๆ และข้ออ้างที่เอารัดเอาเปรียบว่า "ฉันรีบ" ของคนในสังคมได้

คนโตเกียวยืนชิดฝั่งไหน คนโอซากายืนชิดฝั่งไหน แล้วคนไทยกำลังต้องการสร้างธรรมเนียมสังคมให้มุ่งหน้าไปทางไหน เพื่ออะไร มาช่วยกันหาคำตอบด้วยกัน ... อ่านต่อ ...
วิธีออกเสียง za, ji, zu, ze, zo
โดย Webmaster (13 สค 55)
ざ、じ、ず、ぜ、ぞ เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย โดยเฉพาะเสียง じ (ji) เป็นเสียงที่ค่อนข้างยาก มักจะออกได้ไม่ตรงกับเสียงของคนญี่ปุ่น คือชาวต่างชาติมักจะออกเสียงผิดไปเป็นเสียง ち (chi) แต่หากฝึกอย่างถูกต้อง ก็สามารถออกเสียงให้ใกล้เคียงกับชาวญี่ปุ่นได้ ... อ่านต่อ ...
ทำไมคำช่วย は จึงออกเสียงว่า wa
โดย Webmaster (11 สค 55)
ทำไม は ในประโยค ここは… จึงออกเสียงว่า wa
ทำไม へ ในประโยค ここへ… จึงออกเสียงว่า e
และทำไม を ซึ่งอยู่ในแถว わ จึงออกเสียงว่า o
ทั้งหมดเกิดจากการที่เสียงในแถว「は」และ「わ」เปลี่ยนไปหลายครั้งในช่วง 1,000 ปี ระหว่างสมัยนารามาจนถึงช่วงต้นของสม้ยเอโดะ
คือเสียง は ที่อยู่ต้นคำ จะออกเสียงเป็น pa⇒fa⇒ha
ส่วนเสียง は ที่อยู่กลางหรือท้ายคำ จะออกเสียงเป็น pa⇒fa⇒(va)⇒wa แล้วเปลี่ยนไปตามเสียงในแถว わ
คำช่วย は、へ、を จึงเกิดเป็นเสียงที่พ้องกับอักษรตัวอื่น แต่ก็ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบันตามธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยชิน ... อ่านต่อ ...
เด็กหญิงซาดาโกะ กับนกกระเรียนพันตัว
โดย Webmaster (3 สค 55)
เด็กหญิงซาดาโกะ ถูกแรงลมจากระเบิดปรมาณูพัดกระเด็นไปไกล ขณะที่เธอกำลังทานอาหารเข้ากับครอบครัวที่เมืองฮิโรชิมา และถูกฝนกัมมันตรังสีในขณะที่เธอมีอายุได้ 2 ขวบ หลังจากนั้นเธอป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเมื่ออายุ 11 ปี และเสียชีวิตในอีก 11 เดือนถัดมา เธอพับนกกระเรียนไปไม่ต่ำกว่า 1,300-2000 ตัว ซาดาโกะและนกกระเรียนพันตัว ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพและความหวัง ตลอดจนการต่อสู้คัดค้านระเบิดปรมาณู แต่ก็ยังมีการทดลองระเบิดปรมาณูอยู่จนถึงทุกวันนี้ ... อ่านต่อ ...
25 ข้อของหญิงขี้เหร่
โดย Webmaster (26 กค 55)
Takaratzuka kagekidan เป็นคณะนักแสดงประกอบการร้องเพลง ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในญี่ปุ่น มีประวัติอันยาวนานเกือบ 100 ปี
นักแสดงทุกคนจะเป็นผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงาน และจบการศึกษาจากโรงเรียน Takarasuka Music School เท่านั้น พวกเธอจึงเป็นทั้งเพื่อน ทั้งรุ่นพี่รุ่นน้อง แต่ก็ต้องแข่งขันกันเอง เพื่อก้าวขึ้นเป็นดาราเอกของคณะ
ดังนั้น แม้พวกเธอจะมีรูปโฉมงดงามอยู่แล้ว แต่ก็ต้องเรียนรู้วิธีสร้างความสวยทางใจด้วย
เล่ากันว่าที่ด้านหลังเวทีจะมีป้ายคำเตือน "25 ข้อของหญิงขี้เหร่" ไว้ ... อ่านต่อ ...
ทำไมคันจิของญี่ปุ่นจึงมีเสียง onyomi หลายเสียง
โดย Webmaster (25 กค 55)
คันจิส่วนใหญ่ในภาษาจีน มักจะมีเสียงอ่านเพียงเสียงเดียว แต่เหตุใดคันจิในภาษาญี่ปุ่นจึงอ่านแบบจีน (onyomi) ได้หลายเสียง ... อ่านต่อ ...
55 เรื่องที่ชาวญี่ปุ่นอยากทำก่อนที่พ่อแม่จะเสียชีวิต
โดย Webmaster (20 กค 55)
คนญี่ปุ่นมีอายุเฉลี่ย 83 ปี ดังนั้นหากปัจจุบันพ่อแม่มีอายุ 60 ปี ก็เท่ากับว่าจะมีชีวิตอยู่อีก 23 ปี หากใน 1 ปี มีโอกาสกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ 2 ครั้ง ในวันปีใหม่และวันไหว้บรรพบุรุษ (o bon) รวม 6 วัน พบหน้ากันวันละ 11 ชั่วโมง ก็เท่ากับจะมีเวลาพบหน้ากันอีก 1,518 ชั่วโมง หรือคิดเป็นเวลา 63 วันเท่านั้น

คนไทยมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าคนญี่ปุ่นถึง 13 ปี ดังนั้น หากกลับไปหาพ่อแม่เพียงปีละ 6 วัน ก็จะมีเวลาเห็นหน้ากันเพียง 27.5 วันเท่านั้น

คนที่อยู่ใกล้กับพ่อแม่ ก็คงจะมีเวลาอยู่ด้วยกันนานกว่านี้ แต่บางคนก็อาจมีโอกาสอยู่ด้วยกันกับพ่อแม่น้อยกว่านี้อีก ... อ่านต่อ ...
サーカスの象 : ช้างละครสัตว์
โดย Webmaster (3 กค 55)
ลูกช้างในคณะละครสัตว์ จะถูกล่ามโซ่ที่ขาไว้ตั้งแต่เล็กเพื่อไม่ให้หนีไปไหน แต่เมื่อโตขึ้น ช้างก็ไม่คิดจะกระชากโซ่เส้​นนั้นให้ขาด ทั้งๆที่สามารถทำได้ เพราะจำฝังใจมาตั้งแต่เล็กแ​ล้วว่า "ถึงจะทำยังไง ก็ไม่มีทางสำเร็จ"

มนุษย์เองก็มักจะถูกพันธนาการด้วยโซ่ที่ม​องไม่เห็น ซึ่งเกิดจากความเชื่อฝังใจห​รือสิ่งที่คิดไปเอง จนไม่กล้าทำในสิ่งที่สามารถ​ทำได้ ... อ่านต่อ ...
Yubi ori : การนับนิ้วของคนญี่ปุ่น
โดย Webmaster (9 มิย 55)
นอกจากการชูนิ้วเพื่อบอกจำนวน 1-5 เหมือนกับคนไทยแล้ว
ชาวญี่ปุ่นยังมีวิธีการนับนิ้วอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า yubi ori คือการงอนิ้วของมือข้างเดียว เพื่อนับเลข 1-10 ซึ่งต่างกับวิธีของชาวจีนที่ใช้มือเดียวนับ 1-10 หรือชาวอินเดียที่ใช้มือเดียวนับ 1-12 ในขณะที่คนไทยอาจจะต้องใช้นิ้วเท้าช่วยนับ ... อ่านต่อ ...
วันที่ 6 เดือน 6 อายุ 6 ขวบ : วันแห่งการเรียนศิลปะวิชาการ
โดย Webmaster (6 มิย 55)
ชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า การให้บุตรหลานเริ่มเรียนศิลปะวิชาการ ในวันที่ 6 เดือน 6 ในปีที่มีอายุ 6 ขวบ จะทำให้สามารถพัฒนาศิลปะวิชาการนั้นได้ดี ... อ่านต่อ ...
Amida kuji การจับฉลากในสไตล์ของชาวญี่ปุ่น
โดย Webmaster (28 พค 55)
มารู้จักกับที่มาของ Amida kuji เป็นวิธีการจับฉลากของชาวญี่ปุ่น ที่มีมานานกว่า600 ปี และยังคงใช้สืบมาจนถึงทุกวันนี้ ... อ่านต่อ ...
เหตุผล 5 ข้อ ที่ชาวต่างชาติคิดว่าภาษาญี่ปุ่นง่าย
โดย Webmaster (26 พค 55)
แม้ว่าชาวต่างชาติส่วนใหญ่จะคิดว่าการเรียนภาษาญี่ปุ่นยาก
แต่ชาวต่างชาติในโซนยุโรปและอเมริกาที่เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่น ก็คิดว่าการเรียนภาษาญี่ปุ่น ยังมีความง่ายหากเปรียบเทียบกับภาษาอื่น ด้วยเหตุผล 5 ประการ คือ ... อ่านต่อ ...
เหตุผล 7 ข้อ ที่ชาวต่างชาติคิดว่าภาษาญี่ปุ่นยาก
โดย Webmaster (26 พค 55)
ปัจจุบันมีชาวต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ทั่วโลกอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่า การเรียนภาษาที่มีอักษรถึง 3 ประเภท และมีไวยากรณ์ที่ซับซ้อนเช่นภาษาญี่ปุ่นนี้ ย่อมมีความยากลำบากอย่างยิ่ง
ชาวต่างชาติ โดยเฉพาะในโซนยุโรปและอเมริกา มีความรู้สึกว่าภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ยาก ด้วยเหตุผล 7 ประการ คือ ... อ่านต่อ ...
การจับปลาด้วยนกกาน้ำ (鵜飼い : ukai)
โดย Webmaster (11 พค 55)
ukai คือ ผู้ที่เลี้ยงนกกาน้ำเพื่อการจับปลา ayu ซึ่งจะเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลจับปลา ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม ถึงวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี ในบรรดาครูฝึกนกกาน้ำนี้ มีอยู่ 9 คนที่มีตำแหน่งเป็นครูฝึกทรงเลี้ยง สังกัดสำนักพระราชวัง ซึ่งในแต่ละปี จะจับปลา ayu เพื่อนำไปเป็นพระกระยาหารในพระราชวัง และสักการะต่อศาลเจ้า Meiji และศาลเจ้า Ise ... อ่านต่อ ...
การกล่าวขอโทษด้วยคำว่า sumimasen และ gomennasai
โดย Webmaster (4 พค 55)
sumimasen นอกจากจะเป็นคำที่ใช้กล่าวขอโทษแล้ว ยังใช้สำหรับขอบคุณ ไหว้วาน และร้องเรียกได้อีกด้วย จึงควรระมัดระวังการใช้งาน เพื่อไม่ให้ผู้ฟังเข้าใจผิดว่า เป็นการกล่าวขอโทษเพียงลมปากเท่านั้น ... อ่านต่อ ...
ธงปลาคาร์ฟ (Koi Nobori) และประเพณีในวันของเด็กผู้ชาย
โดย Webmaster (22 เมย 55)
วันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งปัจจุบันเป็นวันเด็กของประเทศญี่ปุ่นนั้น ในอดีตเมื่อกว่า 1,000 ปีก่อน ถือเป็นวันแห่งความชั่วร้าย ซึ่งต้องทำพิธีกรรมเพื่อสะเดาะห์เคราะห์และปัดเป่าเภทภัย

ต่อมาภายหลัง วันนี้ได้กลายมาเป็นวันของเด็กผู้ชาย และมีการประดับธงปลาคาร์ฟ ซึ่งนอกจากจะเป็นการปัดเป่าภยันตภัยแล้ว ยังเป็นการอธิษฐานขอให้บุตรชายเติบโตแข็งแรง ประสบความสำเร็จในชีวิต ตามความเชื่อโบราณของชาวจีนเรื่องปลาคาร์ฟที่ว่ายทวนน้ำขึ้นไปถึงประตูมังกร จะกลายร่างเป็นมังกร และบินขึ้นสู่สวรรค์ ... อ่านต่อ ...
กฎหมายเมาแล้วขับ : แค่นั่งไปด้วยก็ติดคุก 3 ปี
โดย Webmaster (9 เมย 55)
แม้ตัวเลขจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะแสดงว่าประเทศไทยมีอุบัติเหตุจราจรและจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บน้อยกว่าญี่ปุ่นประมาณ 10 เท่า แต่เป็นที่ทราบกัยดีว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยในการขับขี่และการสัญจรบนท้องถนน

ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนของญี่ปุ่นลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ญี่ปุ่นก็ยังคงแก้ไขกฎหมายเพิ่มโทษการเมาแล้วขับ โดยให้มีโทษไปถึงร้านอาหารที่จำหน่ายสุรา และคนที่ร่วมโดยสารมากับผู้ที่เมาแล้วขับด้วย

คนที่โดยสารมากับผู้ที่เมาแล้วขับ จะได้รับโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 3 ปี ซึ่งเป็นโทษที่หนักกว่ากฏหมายไทยในกรณีของผู้ที่เมาแล้วขับรถไปชนผู้อื่นได้รับบาดเจ็บเสียอีก ... อ่านต่อ ...
O hanami : เทศกาลชมดอกซากุระ
โดย webmaster (31 มีค 55)
ทุกๆปีในฤดูใบไม้ผลิ ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมไปจนถึงต้นเดือนเมษายน ชาวญี่ปุ่นจะเฝ้าติดตามข่าวการพยากรณ์วันที่ดอกซากุระจะบาน เพื่อที่จะนัดหมายกันออกไปจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ และชมดอกซากุระบานสะพรั่ง ซึ่งจะมีให้เห็นเป็นเวลาเพียง 1-2 สัปดาห์เท่านั้น

เทศกาลชมดอกซากุระของชาวญี่ปุ่น ถือกำเนิดมาเป็นเวลานานกว่า 1,400 ปีแล้ว และยังจะคงเป็นประเพณีที่คงอยู่สืบทอดตลอดไป ... อ่านต่อ ...
มารยาทในการรับประทานอาหารญี่ปุ่น
โดย Webmaster (16 มีค 55)
มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นสิ่งที่เกิดจากการหลอมรวมประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีชีวิต และสติปัญญาของบรรพบุรุษของชนชาตินั้นๆเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติในการร่วมโต๊ะอาหาร เพื่อให้ทุกๆคน สามารถรับประทานอาหารร่วมกันได้ ด้วยความเอร็ดอร่อยและเพลิดเพลิน

การรับประทานอาหารอย่างมีมารยาท ท่ามกลางเพื่อนร่วมโต๊ะชาวญี่ปุ่น ไม่เพียงแต่จะได้รับการชื่นชมแล้ว ยังเป็น "เส้นทางลัด" ในการจะได้รับการยอมรับและความไว้วางใจ จากชาวญี่ปุ่นเจ้าของวัฒนธรรม อันจะทำให้การคบหาสมาคม เป็นไปอย่างสนิทสนมแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น จึงควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาผ่านตา และพยายามฝึกใช้ทุกครั้งที่มีโอกาส ... อ่านต่อ ...
ปลาดุกยักษ์กับแผ่นดินไหว : ความเชื่อหรือความจริง
โดย Webmaster (11 มีค 55)
ชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อสืบทอดมาแต่โบราณว่า แผ่นดินไหวเกิดขึ้นจากการขยับตัวของปลาดุกยักษ์ใต้พื้นดิน เทพเจ้าจึงต้องนำแท่งหินขนาดใหญ่มากดทับไว้

ก่อนเกิดแผ่นดินไหวครั้งสำคัญ มักมีรายงานความผิดปกติของสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งชาวญี่ปุ่นเองก็มีความเชื่อว่า อาการดิ้นพล่านของปลาดุก เป็นสัญญาณเตือนภัยว่าใกล้จะเกิดแผ่นดินไหว

การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการมาเป็นเวลาร่วม 100 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหวได้

มนุษย์จะไขปริศนาการพยากรณ์แผ่นดินไหวได้โดยวิทยาศาสตร์หรือการอ่านสัญชาติญาณของสัตว์ คงยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป ... อ่านต่อ ...
"ตำนานลับ" ของเป็ดแมนดาริน
โดย Webmaster (24 กพ 55)
เป็ดแมนดาริน นอกจากจะเป็นนกน้ำที่มีสีสรรสวยงามที่สุดแล้ว ยังเป็นสำนวนในสุภาษิตจีนและญี่ปุ่น ที่แสดงถึงคำมั่นสัญญาของคู่รักที่มีต่อกัน เนื่องจากเรามักจะมองเห็นเป็ดตัวผู้และตัวเมีย จะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ เคียงข้างอยู่ด้วยกันตลอดเวลา

ในประเทศจีน ภาพวาดและตุ๊กตาคู่เป็ดแมนดาริน เป็นสิ่งมงคลที่เป็นตัวแทนความรักและซื่อสัตย์ของหญิงและชาย ส่วนที่ประเทศญี่ปุ่น ก็จะเรียกสามีภรรยาที่มีความสนิทสนม และมักทำกิจกรรมเคียงข้างกันตลอดเวลาว่า "คู่สามีภรรยาเป็ดแมนดาริน"

แต่คนในสมัยโบราณคงไม่อาจทราบได้ว่า ในสัญญารักของเป็ดแมนดารินนั้น มี "ตำนานลับ" อันมิอาจเปิดเผยซ่อนอยู่ ... อ่านต่อ ...
Dango san kyoudai เพลงเด็กอนุบาลที่ขายดีกว่า AKB48 ถึง 2 เท่า
โดย Webmaster (16 กพ 55)
เพลง 3 พี่น้องดังโงะ (Dango san kyoudai) เป็นเพลงหนึ่งในรายการโทรทัศน์ชื่อดัง ที่ให้เด็กวัยเตรียมอนุบาลที่ไปร่วมรายการได้ร้องเพลง และออกกำลัง

เพลงนี้ถูกประพันธ์ในปีเดือนมกราคม 2542 ขึ้นในทำนอง Tango เพื่อให้พ้องเสียงกับ Dango และด้วยแคแรคเตอร์ของขนมดังโงะที่น่ารัก ประกอบกับทำนองในจังหวะแทงโก้ที่เร้าใจเด็กๆ ทำให้เพลงนี้ดังสนั่นไปทั่วประเทศ โดยมียอดขายแผ่น single สูงถึง 2.9 ล้านแผ่น ซึ่งสูงกว่าเพลง "Atomatic" ซึ่งเป็น single แผ่นแรกของ Utada Hikaru ตลอดจน single ดังๆต่างๆ ของ AKB48 ไปมากทีเดียว ... อ่านต่อ ...
การให้ช็อกโกแลตในวันวาเลนไทน์ของญี่ปุ่น
โดย Webmaster (12 กพ 55)
กว่าจะกลายมาเป็นธรรมเนียมที่หญิงสาวชาวญี่ปุ่น จะเป็นฝ่ายให้ช็อคโกแลตแก่ผู้ชายที่ตนรัก ในวันวาเลนไทน์ เพื่อสื่อความในใจนี้
ผู้ประกอบการในวงการขนมหวานและช็อคโกแล็ต ต้องใช้เวลาชี้ชวนชี้นำ เป็นเวลานานเกือบ 20 ปีทีเดียว
ปัจจุบัน ธรรมเนียมการให้ช็อคโกแลตยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง และเพิ่มรูปแบบหลายหลายยิ่งขึ้น รวมถึงแม้กระทั่งการให้ช็อคโกแลตแก่ตนเอง ... อ่านต่อ ...
วิธีออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นให้ถูกต้อง [กระทู้แนะนำ]
โดย webmaster (11 กพ 55)
สิ่งที่มีความยากที่สุดอย่างหนึ่งในการเรียนภาษาต่างชาติ ก็คือ การออกเสียงสูงต่ำ (Accent) อย่างถูกต้อง
ภาษาญี่ปุ่น แม้จะมีเสียงสูงเสียงต่ำเพียง 2 เสียง คือ เสียงสูง และเสียงต่ำ แต่ก็มีความยากในการออกเสียงเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก
1. ไม่มีวรรณยุกต์หรือสัญลักษณ์แสดงการออกเสียง
2. การนำคำศัพท์ตั้งแต่ 2 คำมารวมกันเป็นคำใหม่ อาจออกเสียงต่างไปจากเดิม
3. ภาษากลางและภาษาท้องถิ่น ออกเสียงสูงต่ำต่างกัน
4. คำบางคำ เช่น คำช่วย ไม่มีเสียงสูงต่ำของตนเอง แต่จะออกเสียงสูงต่ำตามคำศัพท์ที่นำไปใช้ร่วมด้วย
5. การออกเสียงสูงต่ำสลับที่กัน อาจทำให้ความหมายเปลี่ยนไปเป็นคำอื่น จึงทำให้เกิดความสับสนในการสื่อสาร ... อ่านต่อ ...
การทำงานร่วมกับคนญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
โดย อาจารย์เม้ง (4 กพ 55)
สรุปปัญหาการทำงานร่วมกับคนญี่ปุ่นให้มีประสิทธิภาพ
1.ปัญหาในการทำงานกับคนญี่ปุ่น
2.ที่มาของความเป็นคนญี่ปุ่น
3.วัฒนธรรมคนญี่ปุ่นและคนไทย
4.ข้อแตกต่างของอุปนิสัยและวิธีการทำงาน
5.มุมมองของคนต่างชาติในไทยที่มีต่อคนไทย
6.การบริหารความขัดแย้งในที่ทำงาน
7.การทำงานร่วมกับคนญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ... อ่านต่อ ...
กว่าจะมาเป็นเนื้อวัวที่แพงที่สุดในโลก
โดย webmaster (29 มค 55)
"วัว" เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อการบริโภค ที่มีประสิทธิภาพการเลี้ยงต่ำที่สุดชนิดหนึ่ง แม้ว่าเทคโนโลยีการเกษตรในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปอย่างมากแล้วก็ตาม แต่การเลี้ยงวัวเพื่อให้มีน้ำหนักเพิ่ม 1 กิโลกรัม จะต้องใช้ข้าวโพดและธัญพืชมากถึง 8 กิโลกรัม และยิ่งถ้าเป็นวัวเนื้อชั้นดีของญี่ปุ่นด้วยแล้ว ยิ่งต้องใช้ข้าวโพดและธัญพืชมากถึง 10 กิโลกรัม

นอกจากนี้ การเจริญเติบโตของวัวก็ยังช้ากว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น คือกว่าจะโตเป็นวัวเนื้อเพื่อการบริโภค ต้องใช้เวลาในการเลี้ยงไม่ต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งหากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตกับผลตอบแทนที่ได้รับแล้ว ก็คงต้องกล่าวว่า "เนื้อวัว" เป็นอาหารที่ฟุ่มเฟือยและสิ้นเปลืองมากที่สุดชนิดหนึ่ง

มนุษย์กับวัวมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ภาพเขียนในถ้ำตั้งแต่ยุคหิน (Stone Age) ก็มีภาพวัวปรากฏอยู่

คาดว่ามนุษย์ได้เริ่มเลี้ยงวัวป่าเพื่อเป็นปศุสัตว์เมื่อประมาณ 8,000 ปีก่อน โดยเริ่มจากประเทศในแถบเอเซียตะวันตก

นับตั้งแต่ประเทศญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายห้ามบริโภคเนื้อสัตว์ ซึ่งรวมถึงเนื้อวัว และยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาเป็นเวลานานกว่า 1,200 ปี จนกระทั่งได้มีการยกเลิกไปในรัชสมัยของจักรพรรดิเมจิ ในปี พ.ศ. 2414 นั้น การบริโภคเนื้อวัวก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในประเทศญี่ปุ่น จนต้องนำเข้าวัวเนื้อสายพันธุ์ยุโรปเข้ามาเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ และใช้เวลานานถึง 40 ปี จนสามารถพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ซึ่งมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วโลกในทุกวันนี้ ... อ่านต่อ ...
"แมลง" กับความเชื่อของคนญี่ปุ่น
โดย webmaster (11 มค 55)
เมื่อพูดถึงคำว่า mushi (虫) ชาวต่างชาติที่เคยเรียนภาษาญี่ปุ่นทุกคน คงจะนึกถึงคำว่า "แมลง" ขึ้นมาในทันที และเมื่อพูดถึงคำว่า Mushi King หรือราชันย์แห่งแมลง หลายต่อหลายคนก็คงนึกถึงภาพยนต์การ์ตูน หรือเกมการ์ด หรือเกมส์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ป่า หรือการต่อสู้ของแมลงปีกแข็ง โดยมีด้วงกว่างเป็นพระเอก
แต่ในพจนานุกรมญี่ปุ่น คำว่า mushi นอกจากจะแปลว่า "แมลง" แล้ว ยังมีความหมายว่า "สิ่งที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ ซึ่งเชื่อว่ามีความสามารถอย่างอัศจรรย์ในการควบคุมอารมณ์และจิตใจของมนุษย์ โดยจะเปลี่ยนตำแหน่งที่อาศัยในร่างกายของบุคคลนั้นเป็นครั้งคราว" อีกด้วย
mushi ที่ว่านี้ จะทำให้เกิดเสียงท้องร้องเมื่อยามหิว และจะเงียบเสียงลงเมื่อให้อาหาร และยามใดที่ mushi ที่ว่านี้ เคลื่อนย้ายตัว ก็จะทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกพะอืดพะอม และอาจจะอาเจียนออกมาเป็นของเหลวที่มีรสเปรี้ยวซึ่งเป็นสารที่ปล่อยออกมาจาก mushi ที่ว่านั้น ... อ่านต่อ ...
ชาวญี่ปุ่นเขาทำอะไรในวันขึ้นปีใหม่
โดย webmaster (31 ธค 54)
ก่อนถึงวันที่ 1 มกราคม อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ของทุกปี ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะปฏิบัติตามประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ ซี่งถึงแม้ว่าอาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้างตามวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น แต่ประเพณีที่มักจะพบเห็นได้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วประเทศญี่ปุ่นในช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ ประกอบด้วย การประดับสิ่งสักการะเทพเจ้า การทานอาหารสิริมงคลในเทศกาลปีใหม่ และ การไปนมัสการศาลเจ้า

การประดับสิ่งสักการะเทพเจ้า ปกติจะกระทำให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปี ซึ่งประกอบด้วย Kado matsu หรือ Matsu kazari คือซุ้มสนสำหรับประดับที่ประตูรั้วบ้าน ซึ่งในสมัยโบราณจะสร้างจากไม้สนเป็นหลัก แต่ปัจจุบันนิยมทำจากไม้ไผ่ที่บากเฉียง ประดับด้วยใบสน ใบเฟิร์น ฟางข้าว และสิ่งมงคล ... อ่านต่อ ...

pageviews 1,967,993