สาระน่ารู้ เรียนรู้เรื่องญี่ปุ่นกับ J-Campus

มารยาทในการรับประทานอาหารญี่ปุ่น

โดย Webmaster : อ่าน 47,133 ครั้ง

มารยาท ในการรับประทานอาหารของแต่ละประเทศ มักจะมีความแตกต่างกันไป มากบ้างน้อยบ้าง จากการหลอมรวมประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีชีวิต และสติปัญญาของบรรพบุรุษของชนชาตินั้นๆเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติในการร่วมโต๊ะอาหาร เพื่อให้ทุกๆคน สามารถรับประทานอาหารร่วมกันได้ ด้วยความเอร็ดอร่อยและเพลิดเพลิน

แม้ว่าการปรับตัวให้คุ้นเคยกับมารยาทในการรับประทานอาหารของประเทศอื่น เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลานาน แต่เมื่อเข้าเมืองตาหลิ่ว ก็ควรต้องหลิ่วตาตาม มิฉะนั้น อาจทำให้ผู้ที่ร่วมวงอาหาร เกิดความกระอักกระอ่วน หรือเป็นการเสียมารยาทอย่างร้ายแรงโดยไม่ได้ตั้งใจก็ได้

มารยาทในการรับประทานอาหารญี่ปุ่น ที่รวบรวมมานี้ แม้ว่าบางอย่าง จะไม่เป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นทุกคน ยึดถือปฏิบัติทุกๆครั้ง

แต่หากพวกเราชาวไทย ที่จำเป็นต้องติดต่อคบหากับคนญี่ปุ่นได้ทราบไว้ ก็ย่อมสามารถหลีกเลี่ยงการกระทำ อันเป็นการเสียมารยาทโดยมิได้ตั้งใจ ให้หมดสิ้นไปได้

การรับประทานอาหารอย่างมีมารยาท ท่ามกลางเพื่อนร่วมโต๊ะชาวญี่ปุ่น ไม่เพียงแต่จะได้รับการชื่นชมแล้ว ยังถือเป็น "เส้นทางลัด" ในการที่จะได้รับการยอมรับและความไว้วางใจ จากชาวญี่ปุ่นเจ้าของวัฒนธรรม อันจะทำให้การคบหาสมาคม เป็นไปอย่างสนิทสนมแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น จึงควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาผ่านตา และพยายามฝึกใช้ทุกครั้งที่มีโอกาส

มารยาทในการรับประทานอาหารญี่ปุ่น มีรายละเอียดข้อปลีกย่อยเป็นอย่างมาก ดังนี้

  1. กำหนดที่นั่งตามสถานภาพของแต่ละคนอย่างชัดเจน
  2. กล่าวคำว่า Itadakimasu (いただきます) ก่อนรับประทานอาหาร และ Gochisousama (ごちそうさま) หลังจากรับประทานอาหารเสร็จสิ้น โดยอาจพนมมือในระดับอก และก้มศีรษะเล็กน้อย เพื่อแสดงความขอบคุณต่อผู้ที่ผลิตและปรุงอาหาร ตลอดจนธรรมชาติที่ประทานอาหารเหล่านั้นมาให้
  3. ยกภาชนะทุกชนิดขึ้นในระดับอก ในระหว่างที่รับประทานอาหาร โดยถือไว้ด้วยมือซ้าย (หรือมือข้างที่ไม่ได้ใช้ตะเกียบ) ยกเว้นจานขนาดใหญ่ หรือจานที่มีการจัดเรียงอาหารไว้อย่างสวยงาม
    • การไม่ยกภาชนะขึ้นจากโต๊ะ แต่ทานโดยการก้มศีรษะเข้าไปใกล้ภาชนะ เรียกว่า Inugui (犬食い) ถือเป็นสิ่งที่เสียมารยาท
  4. ขณะที่คีบอาหารเข้าปาก ไม่ใช้มืออีกข้างหนึ่งรองใต้อาหาร เพื่อป้องกันอาหารร่วงหรือน้ำซอสหยดไหล
    • การใช้มือรองใต้อาหาร เรียกว่า "จานมือ" หรือ Tezara (手皿) ซึ่งดูคล้ายเป็นสิ่งที่มีมารยาท แต่ถือเป็นสิ่งที่ผิดมารยาท
    • หากกังวลว่าอาหารจะร่วง ให้ใช้จานเล็ก จานแบ่ง หรือฝาถ้วย เป็นภาชนะรองใต้อาหาร ระหว่างที่คีบอาหารเข้าปาก
  5. ใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหารทุกชนิด โดยใช้เฉพาะส่วนปลายของตะเกียบเท่านั้น
  6. รับประทานสลับกันระหว่าง น้ำซุป ⇔ กับข้าว ⇔ ข้าวสวย โดยไม่รับประทานเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งติดๆกัน
  7. น้ำซุป หรือน้ำในชามของนึ่ง ให้ยกถ้วยซุปขึ้นดื่มโดยตรง โดยไม่ใช้ช้อน
  8. การดื่มน้ำซุปและทานบะหมี่ ให้ดื่มและทานโดยมีเสียงดังเล็กน้อย
  9. ระหว่างที่เคี้ยวอาหารอยู่ในปาก ไม่ขยับตะเกียบไปมา หรือแสดงท่าทางที่เตรียมจะคีบอาหารชิ้นอื่นต่อ
  10. การขอข้าวเพิ่ม ควรเหลือข้าวสวยติดก้นชามไว้ 1 คำ
  11. การรับชามข้าวหรือถ้วยซุปที่ขอเพิ่ม ให้รับโดยใช้มือทั้ง 2 ข้าง แล้ววางลงบนถาดข้างหน้าตนเองครั้งหนึ่งก่อน จากนั้นจึงค่อยยกชามข้าวขึ้นเพื่อรับประทานต่อ
  12. อาหารที่ไม่ชอบ หรือทานไม่ได้ ไม่ควรใช้ตะเกียบสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของอาหารจานนั้น
  13. ไม่ท้าวข้อศอกบนโต๊ะอาหาร
  14. ไม่ชะโงกหน้าไปดูอาหาร
  15. ไม่ทานอาหารให้เหลือ
  16. ไม่ลุกจากที่นั่งกลางคันโดยไม่จำเป็น
  17. ไม่ใช้ไม้จิ้มฟันระหว่างรับประทานอาหาร
    • การใช้ไม้จิ้มฟัน ให้ใช้เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว โดยใช้มือข้างอีกข้างหนึ่งป้องปากไว้ และไม่ใช้เวลานานจนเกินไป
  18. ไม่ใช้มือสัมผัสเส้นผม ระหว่างรับประทานอาหาร
  19. ไม่วางสิ่งของ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าถือ บุหรี่ ฯลฯ บนโต๊ะอาหาร
  20. ดื่มน้ำชา เฉพาะภายหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จแล้ว
  21. ไม่ใช้โทรศัพท์ หรือเปิดเสียงสัญญาณโทรศัพท์ ในวงโต๊ะอาหาร

ความแตกต่างในการใช้ตะเกียบของชาวญี่ปุ่นและชาวจีน


ญี่ปุ่น จีน
วัสดุ ทำจากไม้ ไม้ไผ่ หรือพลาสติก ทำจากวัสดุ 5 ประเภท คือ ไม้หรือไม้ไผ่ โลหะ งาช้างหรือกระดูกสัตว์ หยกหรือหินมีค่า และพลาสติก
รูปทรง ด้ามตะเกียบทรงกลม ปลายเรียวแหลม เหมาะสำหรับการทานปลาที่มีก้าง ด้ามตะเกียบทรงกระบอก เพื่อป้องกันการกลิ้งหล่น ปลายตะเกียบทรงกลม มีความยาวกว่าตะเกียบญี่ปุ่นมาก
เพศ มีตะเกียบผัวเมีย (Fuufu bashi) และชามข้าวผัวเมีย (Fuufu chawan) โดย ตะเกียบและชามข้าวของฝ่ายหญิงจะมีขนาดเล็กกว่าของฝ่ายชายเล็กน้อย ไม่แบ่งตะเกียบตามเพศชายหรือหญิง
ตะเกียบส่วนตัว มีตะเกียบ ชามข้าว และถ้วยน้ำชาส่วนตัว ไม่ใช้ปะปนกับบุคคลอื่นในครอบครัว ไม่มีตะเกียบหรือภาชนะส่วนตัว สามารถใช้สลับกันได้ทุกคนในครอบครัว
ตะเกียบเด็ก มีขนาดเล็ก และเปลี่ยนเป็นขนาดยาวขึ้น ตามการเติบโตของเด็ก ใช้ตะเกียบขนาดเดียวกันกับผู้ใหญ่ ตั้งแต่เล็กจนโต
การวางตะเกียบ วางขนานกับที่นั่ง ก่อนทานข้าว วางด้านขวาของถ้วย ตั้งฉากกับที่นั่ง เมื่อทานเสร็จแล้ว วางพาดบนชามข้าว ขนานกับที่นั่ง
การดื่มซุป ยกถ้วยซุปขึ้นดื่มโดยตรง โดยดื่มให้มีเสียงเล็กน้อย ใช้ช้อนตักซุป ไม่ยกถ้วยซุป และไม่ดื่มโดยทำเสียงดัง
ตะเกียบกลาง มีตะเกียบกลาง (tori bashi) ไม่มีตะเกียบกลาง
วิธีรับประทาน ใช้ตะเกียบเพียงอย่างเดียว.. ซุปทุกชนิด จะยกถ้วยซุปขึ้นดื่มโดยตรง.. ใช้ตะเกียบกลางคีบอาหารในจานเปล ใช้ช้อนสำหรับทานซุป และใช้ตะเกียบสำหรับทานข้าวและอาหารชนิดอื่น.. ใช้ตะเกียบของแต่ละคน คีบอาหารในจานเปล เพื่อแสดงความสนิทสนม

หมายเหตุ : การใช้ตะเกียบของชาวเกาหลี ส่วนใหญ่จะเหมือนกับชาวจีน แต่ตะเกียบมักจะเป็นโลหะ และไม่ยาวเท่ากับตะเกียบจีน

มารยาทในการกำหนดที่นั่ง

การรับประทานอาหารที่เป็นพิธีรีตอง โดยเฉพาะกรณีที่มีครูบาอาจารย์ ผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้บังคับบัญชา ฯลฯ ร่วมวงอาหารอยู่ด้วย จะต้องนั่งในตำแหน่งที่ถูกต้อง ตามเกียรติและศักดิ์ศรีของแต่ละฝ่ายอย่างเคร่งครัด

ที่นั่งในการรับประทานอาหารอย่างเป็นพิธีรีตอง แบ่งเป็น ที่นั่งสูง (Kamiza : 上座) และ ที่นั่งต่ำ (Shimoza : 下座)

มารยาทในการรับประทานให้หมด

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เคยแพ้สงคราม และเคยผ่านช่วงที่ขาดแคลนอาหารอย่างแสนสาหัส จึงให้ความสำคัญต่ออาหารเป็นอย่างมาก การรับประทานอาหารให้หมด จึงถือเป็นมารยาทที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง

กรณีเป็นอาหารที่ไม่ชอบ หรือรับประทานไม่ได้ ควรแจ้งให้พนักงานยกกลับไป โดยไม่แตะต้องอาหารนั้น

การรับประทานอาหารให้หมด โดยทำให้ภาชนะแลดูสะอาดเรียบร้อย เช่น ก้างปลาถูกคีบไปวางกองรวมไว้ที่มุมเดียวกัน ฯลฯ เป็นการแสดงถึงความมีมารยาท ที่ใส่ใจแม้แต่เรื่องที่ละเอียดอ่อน อันสื่อไปถึงการได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ดีตั้งแต่เยาว์วัยของบุคคลผู้นั้น

มารยาทในการการใช้ตะเกียบ

เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศเดียว ที่ใช้เฉพาะตะเกียบในการรับประทานอาหารทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการคีบ ตัด ฯลฯ จึงมีข้อห้ามเกี่ยวกับการใช้ตะเกียบที่ถือเป็นการเสียมารยาท อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนี้

มารยาทในการใช้ผ้าเย็นหรือผ้าร้อน (O shibori)

O shibori (おしぼり) คือผ้าขนหนูผืนเล็ก ที่แช่ไว้ในตู้ทำความเย็นหรือทำความร้อน ตามฤดูกาล สำหรับเช็ดมือ

มารยาทในการใช้ภาชนะ

อาหารญี่ปุ่น นอกจากจะให้ความสำคัญกับรสชาติอาหารแล้ว ยังให้ความสำคัญในการสร้างความเพลิดเพลินทางสายตาด้วย คือนอกจากจะเลือกใช้วัตถุดิบที่มีสีสรรตามธรรมชาติซึ่งกลมกลืนกันหรือมีสีสรรตัดกันแล้ว ยังให้ความสวยงานตระการตา จากการเลือกใช้ภาชนะชนิดต่างๆ ที่สอดรับกับอาหารนั้นๆด้วย

ร้านอาหารชั้นดี จะใช้ภาชนะที่มีชื่อเสียง หรือมีราคาสูง ดังนั้น การใช้ภาชนะต่างๆ ด้วยความสุภาพเรียบร้อย ก็เป็นมารยาทในการรับประทานอาหารญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน

มารยาทในขณะที่นั่งรับประทานอาหาร

วางมือทั้ง 2 ข้าง บนโต๊ะอาหาร พิจารณาความสวยงามของภาชนะ การประดับตกแต่ง การเลือกใช้อาหารและวัสดุที่มีสีสรรหลากหลาย และสอดรับกันตามฤดูกาล ตลอดจนกลิ่นของอาหาร และเครื่องเคียงแต่ละชนิด ด้วยความเพลิดเพลิน

มารยาทในการหักตะเกียบ พักตะเกียบ และรวบตะเกียบ

ตะเกียบในร้านอาหารญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะเป็นแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เรียกว่า Wari bashi (割り箸) ซึ่งมีโคนติดกัน ต้องถ่างออกเพื่อหักแยกออกเป็น 2 ข้าง โดยตะเกียบอาจใส่อยู่ในซอง หรือไม่มีซองก็ได้

กรณีเป็นอาหารในพิธีน้ำชา หรืออาหาร Kaiseki (懐石) อาจใช้ตะเกียบปลายแหลมทั้ง 2 ข้าง เรียกว่า Rikyuu bashi (利休箸) โดยมีกระดาษแผ่นเล็กๆรัดอยู่ตรงกลาง

นอกจากนี้ ร้านอาหารบางแห่งจะมีที่สำหรับวางพักตะเกียบ แต่ร้านบางแห่งอาจจะไม่มีก็ได้

มารยาทในการหักตะเกียบ

การพักตะเกียบระหว่างหยุดรับประทานอาหารชั่วขณะ

การรวบตะเกียบ

การรับประทานอาหารญี่ปุ่น ไม่มีการทำสัญญาณเช่นเดียวกับการรวบช้อนส้อม เพื่อแสดงว่ารับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงให้ใช้วิธีบอกกับพนักงานเสิร์ฟโดยตรง หรือใช้วิธีรวบตะเกียบ (เก็บตะเกียบ) เพื่อสื่อเป็นนัยอย่างอ้อมๆ

การรวบตะเกียบ เพื่อสื่อเป็นนัยว่ารับประทานอาหารเสร็จสิ้นแล้ว อาจใช้วิธีดังนี้

มารยาทในการรับประทานข้าวสวย

มารยาทในการดื่มซุปและทานอาหารในถ้วยซุป

มารยาทในการตักแบ่งอาหาร

มารยาทในการใช้ตะเกียบกลาง (Tori bashi : 取り箸)

มารยาทในการการพูดในขณะที่มีอาหารอยู่ในปาก

มารยาทในการรับประทานอาหารชนิดต่างๆ

ปลาดิบ (Sashimi)

ข้าวปั้นปลาดิบ (Sushi)

เท็มปุระ

ปลาย่าง

pageviews 1,970,475