การทำงานร่วมกับคนญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
โดย อาจารย์เม้ง : อ่าน 44,761 ครั้ง
ปัญหาในการทำงานกับคนญี่ปุ่น
◆ การสื่อสาร
ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง
ชอบพูดญี่ปุ่นกันเอง
ขาดการสื่อสารที่ดีกับคนไทย การสื่อสารน้อยไป
การสื่อสารคลุมเครือ ไม่ชัดเจน
การสื่อสารคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน
◆ การแบ่งแยก
ขาดการปฏิสัมพันธ์กับคนไทย
คบหากันเอง
ไม่แชร์ข้อมูล
ไม่รับฟังความคิดเห็น
เชื่อแต่คนที่พูดญี่ปุ่นได้
◆ ขาดความยืดหยุ่น
ยึดติดกับวิธีการของตนเอง
เข้มงวดเกินไป
เคร่งครัดมากไป
“รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”......ซุนวู
ในสงคราม เมื่อมีการรู้กำลังของกองทัพของเราเอง รู้ความสามารถของแม่ทัพ รู้ความสามารถของกองทหารของฝ่ายเรา โอกาสรบชนะจะมีครึ่งหนึ่ง
เมื่อใดก็ตามที่เราเรียนรู้กองกำลังของข้าศึก เรียนรู้ความสามารถของแม่ทัพข้าศึก และรู้ความสามารถของกองทหารของข้าศึก โอกาสรบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งก็ไม่ไปไหนไกล
แต่เมื่อใดก็ตามที่ออกรบ แม่ทัพไม่รู้กำลังของตัวเอง ไม่รู้กำลังของกองทหารตัวเอง ไม่ว่าจะออกรบกี่ครั้งก็ต้องแพ้ย่อยยับกลับมาทุกครั้ง
ที่มาของอุปนิสัยของคนญี่ปุ่น
◆ ภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ
◆ ประวัติศาสตร์/เชื้อชาติ
◆ ศาสนา/ปรัชญาความคิด และประเพณีวัฒนธรรม
◆ การเลี้ยงดู/การศึกษา
วัฒนธรรมคนญี่ปุ่นและคนไทย
ที่มา: Ruth Benedict
◆ วัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นเป็นแบบดอกเบญจมาศและซามูไร
ดอกเบญจมาศ
สุนทรียภาพ
เรียบร้อย เกรงใจคน
รักธรรมชาติ
ละเอียดอ่อน ละมุนละไม
เห็นอกเห็นใจคนอื่น
ซามูไร
เวลารบจะเหี้ยมโหด
เอาจริงเอาจัง
เด็ดเดี่ยว
เด็ดขาด
จงรักภักดีต่อนาย
◆ วัฒนธรรมของคนไทย = วัฒนธรรมแบบกลางๆ
พอมีพอกิน
สบายๆ มีความสุขตามอัตภาพ
รักสงบ
เดินสายกลาง
ไม่กระตือรือร้น
ข้อแตกต่างของอุปนิสัยและวิธีการทำงาน
อุปนิสัย
เรียนรู้ด้วยตนเอง / รักการอ่าน ชอบถาม / ฟัง มากกว่าเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่ชอบจดบันทึก ชอบใช้จำ (แต่จำไม่ได้หมด) ไม่ค่อยสนใจพัฒนา พอใจเท่าที่เป็นอยู่ มุ่งมั่น / เอาจริงเอาจังกับงาน รักสบาย รักสนุก ทำงานตามหน้าที่ ไม่ค่อยมีวินัย ไม่ชอบอยู่ในกฎเกณฑ์ มีความเป็นปัจเจกชนนิยมสูง (Individual) ยึดระบบ ระเบียบหรือหลักการ
วิธีคิด
ใช้ดุลพินิจ / ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล (ชอบจุดเทียน) ใช้เหตุผลและข้อมูลประกอบการตัดสินใจ คิดสร้างสรรค์ / คิดนอกกรอบ
วิธีการทำงาน
แก้ปัญหาเก่ง แต่คิดไม่ป้องกันก่อน ทำงานแบบบูรณาการเพื่อเป้าหมายเดียวกัน มองเป้าหมายเฉพาะตน / กลุ่มของตน คิดร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกัน จงตีตะปูทุกตัวที่โผล่ขึ้นมา (ไม่ทำตัวเด่น จะเป็นภัย)
จริยธรรม/คุณธรรม
กลัวกฎ กติกาสังคม มากกว่าเรื่องบาปบุญคุณโทษ ตามความเชื่อทางศาสนา เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ แต่ไม่เข้มงวด / เคร่งครัด
มุมมองของคนต่างชาติในไทยที่มีต่อคนไทย
ที่มา: คุณเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย / Thaicoach.com
มุมมองของคนต่างชาติที่มีต่อคนไทย
ไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ไม่พูดในสิ่งที่ควรพูด ในเวลาที่ควรพูด
Accountability / Commitment / Ownership ไม่ค่อยยอมตั้งเป้าหมายในขณะที่งานบางอย่างนั้นจะต้องทำให้ลุล่วงภายในกำหนดเวลา ไม่ยอมผูกพันและรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร
คอยบอกแต่ข่าวดี ที่คิดว่าผู้บังคับบัญชาต้องการฟัง ไม่กล้าที่จะบอกว่า “มีปัญหาเกิดขึ้น”
ไม่เป็นไร Pro-active / Mai pen rai / Wait and see รอให้ปัญหาเกิดแล้วค่อยแก้ไข แทนที่จะวางแผนป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิด
ขาดทักษะในการวิเคราะห์ โดยเฉพาะการวิเคราะห์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ไม่สุขุมรอบคอบและไม่มองการณ์ไกล
มีจุดอ่อนในเรื่องการตรงต่อเวลา และการบริหารเวลา
ไม่สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้
เรียนรู้และฝึกฝนทักษะในการทำงานเพียงเพื่อให้พอทำงานได้เท่านั้น ไม่พยายามทำให้ถึงที่สุด
ไม่ค่อยรู้สึกกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เรื่องราวความเคลื่อนไหวของโลกเท่าใดนัก แม้กระทั่งเรื่องราวและความเคลื่อนไหวของประเทศไทยก็ตาม หากคนไทยได้สัมผัสกับประเทศของตัวเองมากเพียงพอ จะช่วยให้แต่ละคนเข้าใจโครงสร้างและภาพรวมของประเทศได้ดีขึ้น
ควรจะมีความซื่อสัตย์และตรงไปตรงมามากกว่านี้
เป็นระบบพวกพ้องและอาวุโสนิยม
ควรเปลี่ยนทัศนคติจาก “บอกฉันมาว่าขั้นตอนเป็นอย่างไร แล้วฉันจะลงมือทำตามที่บอก” มาเป็น “ผลลัพธ์ที่คุณต้องการให้ฉันทำคืออะไร และฉันมีทรัพยากรอะไรบ้างเพื่อช่วยให้ฉันทำงานนั้นลุล่วงได้ตามที่เราจะตกลงกัน”
ไม่แยกแยะเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวออกจากกัน สอดรู้สอดเห็น โดยเฉพาะในเรื่องส่วนตัว การพูดคุยกันเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานมากเกินไป บางครั้งทำให้บานปลาย และนำไปสู่ข่าวลือและการติฉินนินทากันภายในสำนักงาน
อื่น ๆ ได้แก่
ลาออกจากบริษัทโดยไม่แจ้งล่วงหน้า แต่คาดหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์เต็มที่
ไม่ยอมรับภารกิจและความรับผิดชอบที่มีมากขึ้นในช่วงวิกฤติ
ต้องการมากขึ้นแต่กลับไม่ค่อยสร้างคุณค่างานอะไรเพิ่มขึ้นเลย
องค์กรควรจะมุ่งเน้นการจัดหาบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงกับงาน แทนที่จะสรรหาคนที่มีคุณสมบัติสูงล้นเกินลักษณะของงานที่รับผิดชอบ
การบริหารความขัดแย้งในที่ทำงาน
ที่มา: คุณสมิต สัชฌุกร
สาเหตุหลักของความขัดแย้ง
ขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างกัน (Lack of Communication)
การสื่อสารที่ไม่ชัดเจน คลุมเครือ
ความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน
วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง
วิธีหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนจากการทำลายที่เกิดจากความขัดแย้ง (Destructive Conflict) ให้กลายเป็นความขัดแย้งที่สร้างสรรค์ (Constructive Conflict) ก็คือ ต้องมองลงไปที่เนื้อหาของความขัดแย้ง แทนที่จะมองที่ตัวบุคคล วิธีการนี้เป็นการมุ่งที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่าการตำหนิ (Blaming) คู่กรณี ซึ่งไม่สามารถสร้างผลดี อย่างไรเลย แต่กลับเป็นการก่อให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น
วิธีการแก้ไขความขัดแย้งพื้นฐาน 5 วิธี
การหลีกเลี่ยง (Avoidance)
ไม่ยุ่งเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้ามที่จะนำข้อโต้แย้งเข้ามาหาตน หรือโดยวิธีการเปลี่ยนประเด็นการสนทนา (Changing Issues)
ข้อดี : ทำได้ง่าย
ข้อเสีย : ปัญหายังคงมีอยู่ ต้องหวาดผวา
การปรองดอง (Accommodation)
ยอมเสียสละความต้องการของตนเอง เพื่อที่จะให้ฝ่ายตรงข้ามบรรลุความต้องการของตน
ข้อดี : ทำให้บรรเทาความขัดแย้งได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะคู่กรณีได้ประโยชน์
ข้อเสีย : ผู้ได้ประโยชน์ย่ามใจ ผู้เสียประโยชน์รอวันแก้แค้น
การประนีประนอม(Compromise)
โดยวิธี “พบกันครึ่งทาง”ต่างฝ่ายต่างต้องยอมลดความต้องการของตนบางส่วน
ข้อดี : ต่างฝ่ายต่างได้เท่าที่ตกลงรอมชอมกัน
ข้อเสีย : ฝ่ายเสียเปรียบจะยังขุ่นเคืองใจ
การแข่งขัน (Competition)
เป็นการใช้วิธีเอาแพ้เอาชนะ เพื่อให้ตนเองสามารถบรรลุความต้องการ (2 ฝ่าย มีความสัมพันธ์กันเพียงช่วงสั้น และไม่มีความจำเป็นต้องรักษาสัมพันธภาพระยะยาว)
ข้อดี : รู้ดีรู้ชั่ว รู้ผลแพ้ชนะชัดเจน
ข้อเสีย : ฝากรอยแค้นไว้รอวันชำระหนี้แค้น
การร่วมมือกัน (Collaboration)
เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด หันหน้าเข้าหารือกันเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดโดยคู่กรณีที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ และยินยอมพร้อมใจ ยอมปฏิบัติตามผลของข้อยุตินั้น
ข้อดี : เป็นการยุติที่บรรลุข้อตกลงด้วยดี มีผลยาวนาน
ข้อเสีย : ทำยากที่จะทำให้พอใจและร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย
ทักษะที่จำเป็นในการแก้ไขความขัดแย้ง
ความสามารถในการพิจารณาลักษณะของข้อขัดแย้ง
ความสามารถในการจำแนกประเด็นของข้อขัดแย้ง
ความสามารถในการเริ่มต้นเจรจาแก้ไขข้อขัดแย้ง
ความสามารถในการฟัง
ความสามารถในการใช้เหตุผลและให้เหตุผล
การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง (โดย Mark Sichel)
ZIP IT
SIT, WAIT, THINK AND ACT WHEN CORRECT
LISTEN, DON'T DISPUTE
DOCUMENT, DOCUMENT AND DOCUMENT AGAIN
GOOD FENCES MAKE FOR GOOD WORK RELATIONSHIPS
CORDIALITY AND FRIENDLINESS
THOU SHALT NOT OVERREACT. EVER
PLAY WELL WITH OTHERS
LET BREVITY AND PAUCITY BE YOUR MOTTO
WHAT YOU SEE IS WHAT YOU GET
กฎสำคัญ คือ ผู้คนสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง แต่ไม่มีใครจะเปลี่ยนแปลงผู้อื่นได้ เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่คุณสามารถ และยอมรับในสิ่งที่คุณไม่สามารถเปลี่ยน
STAY IN THE DRIVER'S SEAT
ควบคุมสถานการณ์ที่อาจเกิดปัญหาในการทำงาน และรับผิดชอบในการจัดการสิ่งเหล่านั้น
การทำงานร่วมกับคนญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
ทำความเข้าใจอุปนิสัย ประเพณี วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ยึดติดกับวิธีการทำงานที่เคยชิน
เรียนรู้ข้อดีของคนญี่ปุ่น แล้วนำมาปรับใช้ เพื่อพัฒนาตนเอง
มองข้ามข้อไม่ดีของคนญี่ปุ่น
ยอมรับข้อไม่ดีของคนไทย แล้วปรับปรุงเพื่อการทำงานที่ดีขึ้น
ทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกัน
Top
pageviews 1,996,495