อ่าน 165,511 ครั้ง
แบ่งเป็น 1) ประโยคคำนามปฎิเสธ 2) ประโยคคุณศัพท์ปฎิเสธ 3)ประโยคกริยาปฎิเสธ แต่เนื่องจากคำคุณศัพท์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งผันในรูปปฏิเสธไม่เหมือนกัน จึงมีประโยคปฏิเสธ 4 แบบ ดังนี้
ประธาน +は +คำนาม +では ありません
ประธาน +は +คุณศัพท์-i +く +ありません
ประธาน +は +คุณศัพท์-na +では ありません
ประธาน +が +คำกริยา +ません
あなた は 大人 では ありません Anata wa otona dewa arimasen คุณไม่ใช่ผู้ใหญ่ครับ/ค่ะ
私 は 中国人 では ありません Watashi wa chuugokujin dewa arimasen ฉันไม่ใช่คนจีนครับ/ค่ะ
私 は 田中さん では ありません Watashi wa Tanakasan dewa arimasen ฉันไม่ใช่คุณทานากะครับ/ค่ะ
先生 では ありません Sensei dewa arimasen ไม่ใช่อาจารย์ครับ/ค่ะ
ねずみ は 大きく ありません Nezumi wa ookiku arimasen หนูไม่ใหญ่ครับ/ค่ะ
象 は 小さく ありません Zou wa chiisaku arimasen ช้างไม่เล็กครับ/ค่ะ
海 は きれい では ありません Umi wa kirei dewa arimasen ทะเลไม่สวยครับ/ค่ะ
彼 は 親切 では ありません Kare wa shinsetsu dewa arimasen เขาไม่ใจดีครับ/ค่ะ
子供 が 泣きません Kodomo ga nakimasen เด็กไม่ร้องไห้ครับ/ค่ะ
友達 が 来ません Tomodachi ga kimasen เพื่อนไม่มาครับ/ค่ะ
財布 が ありません Saifu ga arimasen กระเป๋าสตางค์ไม่อยู่ครับ/ค่ะ
田中さん が 居ません Tanakasan ga imasen คุณทานากะไม่อยู่ครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
では ありません อ่านว่า dewa arimasen เป็นการเปลี่ยนคำว่า です ให้เป็นรูปปฏิเสธอย่างสุภาพ
ส่วน ません เป็นการเปลี่ยนคำว่า ます ให้อยู่ในรูปปฏิเสธอย่างสุภาพ
ประโยคคำนามปฏิเสธ จะเปลี่ยน です เป็น では ありません ตามตัวอย่างที่ ①-④
ประโยคคุณศัพท์ปฏิเสธ มี 2 แบบ คือ
คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 (adj-i) จะเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ありません ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥ คือ 大きい (ooki-i) เปลี่ยนเป็น 大きく (ooki-ku) ありません 小さい (chiisa-i) เปลี่ยนเป็น 小さく (chiisa-ku) ありません คุณศัพท์กลุ่มที่ 2 จะคงรูปเดิม แต่เปลี่ยน です เป็น では ありません ตามตัวอย่างที่ ⑦-⑧
ประโยคกริยาปฏิเสธ จะเปลี่ยน ます เป็น ません ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑫
การผันคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 ให้เป็นประโยคปฏิเสธอย่างสุภาพ นอกจากจะใช้วิธีเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ありません ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥ แล้ว ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ない です คือ
ねずみ は 大きくない です Nezumi wa ookikunai desu 象 は 小さくない です Zou wa chiisakunai desu
รายละเอียดการผันคำคุณศัพท์และคำกริยาให้อยู่ในรูปต่างๆ จะอธิบายในภายหลังต่อไป
กรณีที่ทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะไม่พูดทั้งประธานและคำช่วยก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ 4 : (私は)先生 では ありません (ฉัน)ไม่ใช่อาจารย์ครับ/ค่ะ
คำว่า ありません ในตัวอย่างที่ ⑪ เป็นคำกริยาแปลว่า "ไม่อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต
คำว่า 居ません ในตัวอย่างที่ ⑫ เป็นคำกริยาแปลว่า "ไม่อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งมีชีวิต อ่านตรงนี้หน่อย
では ありません เป็นภาษาเขียน เวลาจะพูดมักใช้ว่า じゃ ありません (ja arimasen)
วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ 3 : Watashi wa Tanakasan dewa arimasen ควรพูดว่า Watashiwa Tanakasandewaarimasen หรือ Watashiwa Tanakasanjaarimasen
โพสต์ความเห็น
พบ 49 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 21
ที่คุณ Benz สรุปใน 3 บรรทัดแรกของคำตอบที่ 17 ถูกต้องแล้วครับ
******************
คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 อย่าจำว่า ตัด na แล้วเติม dewa arimasen เลย
คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 ที่อยู่ในรูปจบประโยค จะเป็นรูป da-form เช่น koko wa shizuka da
ถ้าเป็นประโยคสุภาพ ก็เปลี่ยน da เป็น desu
ถ้าเป็นประโยคปฏิเสธอย่างสุภาพ ก็เปลี่ยน desu เป็น dewa arimasen
หากจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับการผันคำคุณศัพท์ ขอให้ดูในบทที่ 45 ดีกว่าครับ
webmaster
15 พค 55 14:22
ความเห็นที่ 22
ส่วนการที่จะสรุปง่ายๆ ตามคำตอบที่ 19 ว่า
คำคุณศัพท์ในรูปปฏิเสธนั้น
- ลงท้ายด้วย i ไม่มี では
- นอกนั้น มี では
ก็ไม่เห็นด้วยครับ ... มันเป็นเรื่องของการผันคำ อย่าเพิ่งด่วนสรุปครับ ค่อยๆเรียนไปก่อน..
webmaseter
15 พค 55 14:27
ความเห็นที่ 23
อย่างนี้นี่เอง แหม ญี่ปุ่นนี่ลึกซึ้งแฮะ คิดไม่ผิดจริงๆน้อที่เลือก ขอบคุณมากนะฮะ ผมเองก็ยังไม่ได้เรียนเรื่อง ฟอร์มรูป da เลย ก็เรียนไปเรื่อยๆ อื้มๆ น่าสนุกจริงๆน้า ถ้ามีเรื่องสงสัยแล้วจะมาถามอีกนะฮะ อิอิอิ [huhu]
Benz Domo
15 พค 55 19:55
ความเห็นที่ 24
ยินดีครับ ^^
webmaster
15 พค 55 22:33
ความเห็นที่ 25
ありがとー[smile]
愛
9 ตค 55 11:10
ความเห็นที่ 26
ครับ ^^
webmaster
10 ตค 55 20:23
ความเห็นที่ 27
กำลังนั่งจดๆไปแล้วมันเกิดสงสัยเกี่ยวกับคำคุณศัพท์ขึ้นมา
ลองอ่านในบทที่ 17 18 กับเรื่องไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นใบบทที่ 4 แล้ว
มันยังมึนๆ งงๆ ไม่เข้าใจอยู่
เท่าที่เข้าใจคือคำคุณศัพท์มีแค่ลงท้ายด้วย い กับ な 2 ประเภทใช่ไหมคะ?
ในเรื่องไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นใบบทที่ 4 บอกว่าในเว็บนี้เรียก adj.い ว่า 'คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1' และ adj.な ว่า 'คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2'
ซึ่งในบทที่ 8 นี้มีรูปประโยคคือ
"「ประธาน」+ は +「คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 + く」+ ありません
「ประธาน」+ は +「คุณศัพท์กลุ่มที่ 2」+ では ありません"
เพราะฉะนั้น กลุ่ม1 = い กลุ่ม2 = な
แล้วพวกคำคุณศัพท์ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย い กับ な อย่าง しんせつ ล่ะคะ
เห็นข้างบนใช้แบบเดียวกับประเภท 2 แสดงว่ามันอยู่ในประเภท 2 หรอคะ?
หรือประเภทไหน? หรือว่ามันต้องมีผันเป็นนั่น นู่น นี่อีก?
ไม่รู้ว่าจะถามเรื่องคำคุณศัพท์ในบทนี้ หรือจะไปถามในบทที่ 17 18 ดี
แต่ขอถามในนี้แล้วกันนะคะ เพิ่งเรียนถึงแค่ตรงนี้
เข้าใจที่ถามไหมคะ? แบบว่า...อาจจะพูดวกไปวนมานิดนึง ^^;;
Cloud
17 ตค 55 16:56
ความเห็นที่ 28
ขอสรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายที่สุด (โดยไม่ต้องสนใจที่มาที่ไป) เลยนะครับ
การแบ่งคำคุณศัพท์เป็นออกเป็น 2 กลุ่ม (-i กับ -na) เป็นการแบ่งตามวิธีการผันรูป เช่น
1. กรณีนำไปขยายคำนาม
- กลุ่มที่หนึ่ง สามารถนำไปวางหน้าคำนามได้เลย เช่น ookii hito, chiisai hito
- กลุ่มที่สอง จะต้องเติม na ก่อน จึงจะนำไปวางหน้าคำนามได้ เช่น kirei na hito, shinsetsu na hito
2. กรณีใช้ในรูปปฏิเสธ + ขยายคำนาม
- กลุ่มที่หนึ่ง จะต้องเปลี่ยนรูปจาก -i เป็น -kunai ก่อนนำไปวางหน้าคำนาม เช่น ookikunai hito
- กลุ่มที่สอง จะต้องเติม dewanai หรือ janai ก่อนนำไปวางหน้าคำนาม เช่น shinsetsu dewanai hito หรือ shinsetsu janai hito
3. กรณีใช้จบประโยคกันเอง
- กลุ่มที่หนึ่ง สามารถจบประโยคได้เลย เช่น kare wa ookii
- กลุ่มที่สอง จะต้องเติม da เช่น kare wa shinsetsu da
4. การใช้จบประโยคกันเองในรูปปฏิเสธ
- กลุ่มที่หนึ่ง จะต้องเป็นรูปจาก -i เป็น -kunai เช่น kare wa ookikunai
- กลุ่มที่สอง จะต้องเติม dewa nai หรือ ja nai เช่น kare wa shinsetsu dewa nai หรือ kare wa shinsetsu ja nai
5. การนำไปขยายคำกริยา
- กลุ่มที่หนึ่ง เปลี่ยนรูปจาก -i เป็น -ku ก่อนนำไปวางหน้าคำกริยา เช่น ookiku naru
- กลุ่มที่สอง จะต้องเติม ni ก่อนนำไปวางหน้าคำกริยา เช่น kirei ni naru
ฯลฯ
สรุปคือ การที่เราเรียกกันว่า คำคุณศัพท์ -na นั้น
เป็นการเรียกตามกรณีที่นำไปขยายคำนามแล้วต้องเติม na ตามตัวอย่างในกรณีที่ 1 เท่านั้น
แต่หากใช้ในกรณีอื่น จะกลายเป็นรูปอื่นๆ เช่น -ni , -da เป็นต้น
ดังนั้น ผมจึงไม่พยายามเรียกว่าคำคุณศัพท์ -na เพราะจะทำให้สงสัยว่า บางครั้ง na มันหายไปไหน
แต่จะบอกว่าเป็นคำคุณศัพท์กลุ่มที่สอง ซึ่งจะต้องเติม na, ni, da ฯลฯ ให้ตรงกับฟอร์มที่นำไปใช้
ไม่ทราบว่า พอจะช่วยให้เข้าใจขึ้นบ้างไหมครับ [haha]
webmaster
17 ตค 55 18:22
ความเห็นที่ 29
แยกเป็นข้อแบบนี้ดูอ่านง่ายดี พอเข้าใจขึ้นบ้าง
แต่แล้วเราจะรู้ได้ยังไงอ่ะคะว่าตัวไหนจะเป็นกลุ่ม 1 หรือ 2
ขึ้นอยู่กับการผันและการนำไปใช้รึเปล่าคะ?
ดูท่าจะเริ่มยากแล้วสิเนี่ย [sad]
Cloud
19 ตค 55 18:18
ความเห็นที่ 30
1. กลุ่มแรกจะลงท้ายด้วย -i เสมอ เวลาเขียนก็จะมีฮิรางานะ い เป็น okurigana ตามท้าย เช่น 狭い、高い、安い、悪い、美しい、嬉しい、柔らかい、ややこしい เป็นต้น
2. กลุ่มที่สองส่วนใหญ่จะลงท้ายด้วยเสียงอื่น แต่ก็มีบางคำที่ลงท้ายด้วย -i แต่ไม่ใช่ okurigana เช่น 綺麗 (kirei), 容易 (you'i), 簡易 (kan'i), 軽快 (keikai), 懸命 (kenmei), 不本意 (fuhon'i), 不明 (fumei), 愉快 (yukai) เป็นต้น
ดังนั้น ถ้าเห็นการเขียน ก็สามารถแยกแยะได้
ยกเว้นบางคำที่จะปกติจะเขียนด้วยฮิรางานะ เช่น きれい อาจสับสนว่าอยู่ในกลุ่มไหน
ดังนั้นอาจจะจำเฉพาะคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วยเสียง -i ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ 2 ก็พอ
-> เพราะคำที่ลงท้ายด้วย -i นอกเหนือจากนั้น ก็จะเป็นกลุ่มที่ 1 ไปโดยปริยาย
-> ส่วนคำที่ไม่ได้ลงท้ายด้วยเสียง -i ก็จะเป็นกลุ่มที่ 2 ไปโดยปริยายเช่นกัน ครับ
webmaster
20 ตค 55 00:59
1 < 1 2 3 4 5 > 5
pageviews 8,319,899
Top