อ่าน 165,510 ครั้ง
แบ่งเป็น 1) ประโยคคำนามปฎิเสธ 2) ประโยคคุณศัพท์ปฎิเสธ 3)ประโยคกริยาปฎิเสธ แต่เนื่องจากคำคุณศัพท์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งผันในรูปปฏิเสธไม่เหมือนกัน จึงมีประโยคปฏิเสธ 4 แบบ ดังนี้
ประธาน +は +คำนาม +では ありません
ประธาน +は +คุณศัพท์-i +く +ありません
ประธาน +は +คุณศัพท์-na +では ありません
ประธาน +が +คำกริยา +ません
あなた は 大人 では ありません Anata wa otona dewa arimasen คุณไม่ใช่ผู้ใหญ่ครับ/ค่ะ
私 は 中国人 では ありません Watashi wa chuugokujin dewa arimasen ฉันไม่ใช่คนจีนครับ/ค่ะ
私 は 田中さん では ありません Watashi wa Tanakasan dewa arimasen ฉันไม่ใช่คุณทานากะครับ/ค่ะ
先生 では ありません Sensei dewa arimasen ไม่ใช่อาจารย์ครับ/ค่ะ
ねずみ は 大きく ありません Nezumi wa ookiku arimasen หนูไม่ใหญ่ครับ/ค่ะ
象 は 小さく ありません Zou wa chiisaku arimasen ช้างไม่เล็กครับ/ค่ะ
海 は きれい では ありません Umi wa kirei dewa arimasen ทะเลไม่สวยครับ/ค่ะ
彼 は 親切 では ありません Kare wa shinsetsu dewa arimasen เขาไม่ใจดีครับ/ค่ะ
子供 が 泣きません Kodomo ga nakimasen เด็กไม่ร้องไห้ครับ/ค่ะ
友達 が 来ません Tomodachi ga kimasen เพื่อนไม่มาครับ/ค่ะ
財布 が ありません Saifu ga arimasen กระเป๋าสตางค์ไม่อยู่ครับ/ค่ะ
田中さん が 居ません Tanakasan ga imasen คุณทานากะไม่อยู่ครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
では ありません อ่านว่า dewa arimasen เป็นการเปลี่ยนคำว่า です ให้เป็นรูปปฏิเสธอย่างสุภาพ
ส่วน ません เป็นการเปลี่ยนคำว่า ます ให้อยู่ในรูปปฏิเสธอย่างสุภาพ
ประโยคคำนามปฏิเสธ จะเปลี่ยน です เป็น では ありません ตามตัวอย่างที่ ①-④
ประโยคคุณศัพท์ปฏิเสธ มี 2 แบบ คือ
คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 (adj-i) จะเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ありません ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥ คือ 大きい (ooki-i) เปลี่ยนเป็น 大きく (ooki-ku) ありません 小さい (chiisa-i) เปลี่ยนเป็น 小さく (chiisa-ku) ありません คุณศัพท์กลุ่มที่ 2 จะคงรูปเดิม แต่เปลี่ยน です เป็น では ありません ตามตัวอย่างที่ ⑦-⑧
ประโยคกริยาปฏิเสธ จะเปลี่ยน ます เป็น ません ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑫
การผันคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 ให้เป็นประโยคปฏิเสธอย่างสุภาพ นอกจากจะใช้วิธีเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ありません ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥ แล้ว ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ない です คือ
ねずみ は 大きくない です Nezumi wa ookikunai desu 象 は 小さくない です Zou wa chiisakunai desu
รายละเอียดการผันคำคุณศัพท์และคำกริยาให้อยู่ในรูปต่างๆ จะอธิบายในภายหลังต่อไป
กรณีที่ทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะไม่พูดทั้งประธานและคำช่วยก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ 4 : (私は)先生 では ありません (ฉัน)ไม่ใช่อาจารย์ครับ/ค่ะ
คำว่า ありません ในตัวอย่างที่ ⑪ เป็นคำกริยาแปลว่า "ไม่อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต
คำว่า 居ません ในตัวอย่างที่ ⑫ เป็นคำกริยาแปลว่า "ไม่อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งมีชีวิต อ่านตรงนี้หน่อย
では ありません เป็นภาษาเขียน เวลาจะพูดมักใช้ว่า じゃ ありません (ja arimasen)
วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ 3 : Watashi wa Tanakasan dewa arimasen ควรพูดว่า Watashiwa Tanakasandewaarimasen หรือ Watashiwa Tanakasanjaarimasen
โพสต์ความเห็น
พบ 49 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 1
ดีครับผมกำลังศึกษาอยู่พอดี
อภิชาติ
14 มิย 53 21:40
ความเห็นที่ 2
มันมีเป็นหนังสือบ้างมั้ยค่ะ ?
อยากจะซื้อมาอ่านจัง ขอบคุณสำหรับข้อมูลทุกๆบทค่ะ ^^
Penguinhup
5 เมย 54 23:41
ความเห็นที่ 3
หนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นมีวางขายจำนวนมาก
คงหาได้ไม่ยากจากร้านหนังสือใหญ่ๆ ทุกแห่ง
บทเรียนที่เขียนในเว็บฯนี้ เป็นการเรียบเรียงและจัดลำดับการสอนขึ้นเอง
จึงอาจมีทั้งที่คล้ายๆกับหนังสือเล่มหรือ และมีส่วนที่ไม่คล้ายครับ
webmaster
5 เมย 54 22:53
ความเห็นที่ 4
กำลังจะเรียนภาษาญี่ปุ่น แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี มีวิธีหรือเคล็ดลับ ในการเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตัวเองไหมครับ
ผมอ่านไปหลายหน้าแล้วก็ไม่เข้าใจ มีจุดพิเศษอะไรที่จะจำได้ง่าย ไหมครับ
ขอบคุณครับ
Tomaishi
26 มค 55 11:13
ความเห็นที่ 5
การเรียนภาษา อาจจะมี "เคล็บลับ" หรือ "เส้นทางลัด" อยู่บ้าง
ขึ้นอยู่กับว่า "เป้าหมายสุดท้าย" ของคุณอยู่ที่ใด
ขอยกตัวอย่างคนไทยที่ไปญี่ปุ่น 2 คน คือ A กับ B
A ไปเรียนทุกวัน กลับบ้านก็อ่านหนังสือ
B ไม่ไปโรงเรียนเลย ทำงานพิเศษทั้งวันทั้งคืน
ประมาณ 1 ปีแรก ภาษาของ B จะชนะขาด
หมายถึง ไวยากรณ์อาจจะผิดๆถูกๆ คำศัพท์อาจมั่วๆซั่วๆ ไปบ้าง ไม่รู้ละ แต่คุยกับคนญี่ปุ่นได้จ้อ
ในขณะที่ภาษาของ A ยังตะกุกตะกัก รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง
... ถ้าตั้งเป้าหมายไว้แค่นี้ วิธีของ B ก็คือเส้นทางลัด
แต่หลังจากนั้น A จะค่อยๆตามทัน และแซงหน้า
โดยที่ B จะไม่มีโอกาสตามทันอีกเลย
A จะพูดประโยคที่สละสลวย และสื่อสารได้อย่างถูกต้อง
... ถ้าตั้งเป้าหมายไว้ถึงขั้นนี้ วิธีของ A ก็คือเส้นทางลัด
หรือถ้าจะตั้งเป้าไว้สูงไปกว่านั้น
เช่น โทรศัพท์ไปหาคนญี่ปุ่น แล้วต้องการให้เขาตกกะใจ เมื่อเราบอกว่าเราเป็นคนไทย
คือต้องการให้เขาฟังแค่เสียง แล้วนึกว่า "คนญี่ปุ่น" โทรมา
นั่นนอกจากจะต้องใช้เส้นทางของ A แล้ว ยังต้องมีเทคนิคและความพยายามอีกมากมาย
ถ้าต้องการก้าวไปถึงจุดที่สูงมากๆ
สิ่งที่ผมพอจะแนะนำได้ คือ การเรียนภาษา อย่าใช้วิธีเรียนลัด แต่ให้ใช้ความขยัน อดทน
อย่าจำคำศัพท์หรือสำนวน โดยการเปรียบเทียบกับภาษาไทย
ขอให้จำในลักษณะผ้าขาว
ได้ยินคำศัพท์อะไร เสียงสูงเสียงต่ำอย่างไร ก็ให้ input ไปในสมองตามนั้น
ได้ยินสำนวนอะไร ในสถานการณ์แบบไหน ก็ให้ input ไปในสมองตามนั้นเช่นกัน
อย่าพยายามจำ โดยการนำไปเปรียบเทียบหรือแปลเป็นภาษาไทยโดยไม่จำเป็น
มิฉะนั้น ในทางกลับกัน เมื่อคุณจะพูดภาษาญี่ปุ่น
คุณจะต้องคิดเป็นภาษาไทย แล้วแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นในหัว แล้วจึงจะพูอออกมา
ซึ่งใช้เวลาถึง 3 ขั้นตอน
webmaster
26 มค 55 14:32
ความเห็นที่ 6
การเรียนด้วยตนเอง มีข้อเสียเปรียบเพียงอย่างเดียว คือ ไม่ได้ฟังเสียง
แต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่าไร เพราะคุณสามารถหาฟังภาษาญี่ปุ่นจากที่ไหนก็ได้ ทั้งเพลงและการ์ตูน
ซึ่งถ้าจะฟังเพลงและดูการ์ตูนเพื่อศึกษาภาษา
ผมแนะนำให้ฟังเพลงระดับเด็กประถมอนุบาล เช่น แบบเพลง ช้างๆๆๆ .. ในบ้านเรา
ส่วนการ์ตูน ก็ขอให้เป็นการ์ตูนสำหรับเด็กเล็ก เช่น Doraemon หรือ Sasae san หรือ Anpanman ทำนองนี้
ส่วนเพลงวัยรุ่นทันสมัย หรือการ์ตูนสำหรับวัยรุ่นขึ้นไป เช่น Conan ไม่เอานะครับ ยากเกินไป
................
ข้อดีของการเรียนด้วยตนเองบนเว็บ คือ
คุณสามารถเรียบเรียงประเด็นที่ไม่เข้าใจ เพื่อเขียนเป็นคำถาม (ซึ่งแค่นั้นก็ถือว่า คุณได้รับความรู้แล้วในระดับหนึ่ง)
จากนั้นคุณอาจได้คำตอบที่ดีกว่าเรียนที่โรงเรียน เพราะจะมีเวลาถามตอบกันได้อย่างไม่จำกัด
ลองดูนะครับ
เริ่มไปเรื่อยๆ ช้าๆ ตั้งแต่บทแรกๆ
ไม่เข้าใจบทไหน อย่างไร ก็สอบถามมาได้ครับ [smile]
webmaster
26 มค 55 14:43
ความเห็นที่ 7
ขอบพระคุณมากเลยค่ะ หลิวกำลังจะเรียนจบ ไม่ได้ไปเรียนภาษาเพิ่มเติมที่ไน อาศัยเรียนในเว็บไซต์ อยากไปลองทำงานที่ญี่ปุ่นมาก ^0^[smile]
pudding2551
7 กพ 55 00:20
ความเห็นที่ 8
หมายความว่า เรียนจบที่เมืองไทย แล้วอยากไปลองทำงานที่ญี่ปุ่นหรือครับ?
โดยส่วนตัว ผมคิดว่ามีความเป็นไปได้น้อยมาก
คนไทยที่ทำงานในญี่ปุ่นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนใหญ่จะมีอยู่แค่ไม่กี่แบบ คือ
1. จบที่ญี่ปุ่น แล้วทำงานในหน่วยงานราชการไทย (ที่ญี่ปุ่นแทบจะไม่มีบริษัทเอกชนไทยเลย)
2. จบที่ญี่ปุ่น แล้วทำงานในบริษัทญี่ปุ่น 1-2 ปี ก่อนที่จะถูกส่งมาบรรจุใหม่ที่โรงงานในประเทศไทย
3. นักศึกษาที่ไปเรียนที่ญี่ปุ่น และทำงานรับจ้าง parttime
กลุ่มแรก มักจะเป็นคนไทยที่แต่งงานกับญี่ปุ่น แล้วก็ตั้งรกรากที่นั่นเลย
กลุ่มที่สอง เหตุผลคือบริษัทญี่ปุ่นต้องการคนที่รู้ภาษาญี่ปุ่นและเข้าใจวัฒนธรรมแนวความคิดของคนญี่ปุ่น จึงมักจะเลือกจากนักศึกษาที่จบจากญี่ปุ่น (แทนที่จะรับนักศึกษาที่จบในไทยไปฝึกงานที่ญี่ปุ่น)
และโดยส่วนตัว ก็ไม่แนะนำให้ไปทำงานที่บริษัทในญี่ปุ่น
เพราะเราจะเสียเปรียบในทุกๆด้าน ไม่เป็นประโยชน์อะไรกับเราเลย
อ้อ.. มีวิธีลัดอีกทางหนึ่งสำหรับคนที่จบเมืองไทย คือ แต่งกับคนญี่ปุ่น
แล้วตามไปใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นสัก 3-4 ปี ให้ใช้ภาษาได้คล่อง
จากนั้นก็ทำงานเป็นอาจารย์สอนภาษาไทยบ้าง ล่ามบ้าง ครับ [smile]
webmaster
7 กพ 55 09:34
ความเห็นที่ 9
จริงหร๋อค่ะ ไม่เป็นไรค่ะ ยังไงก็จะพยายามเรียนภาษาต่อไปเรื่องๆ ซักวันมันต้องมีประโยชน์ซิค่ะ
[peace][sad]
pudding
8 กพ 55 02:03
ความเห็นที่ 10
ก็ได้หมายความถึงกับว่า การไปทำงานใน "บริษัทญี่ปุ่นที่ประเทศญี่ปุ่น" ไม่มีประโยชน์อะไรเลย
แต่หมายความว่า มันยากเกินไป เราเสียเปรียบเพื่อนร่วมงาน(ชาวญี่ปุ่น)มากเกินไป
ไม่สามารถแสดงฝีมือและความสามารถของเราออกมาได้อย่างเต็มที่
สุดท้ายก็คือ บริษัทจะใช้ประโยชน์จากตัวเราได้น้อยมาก
ตัวเราเองก็จะได้รับประโยชน์กลับมาน้อยกว่าที่ควร
แต่ถ้าทำงานใน "บริษัทญี่ปุ่นที่ประเทศไทย"
เรายังน่าจะแสดงฝีมือได้มากกว่า และน่าจะเป็นประโยชน์กว่า
ผมหมายความเพียงเท่านั้นเอง ....
การเรียนภาษา เป็นการเปิดโลกทัศน์ ยังไงก็มีประโยชน์แน่ๆครับ [haha]
webmaster
8 กพ 55 11:37
1 2 3 4 5 > 5
pageviews 8,319,853
Top