อ่าน 165,512 ครั้ง
แบ่งเป็น 1) ประโยคคำนามปฎิเสธ 2) ประโยคคุณศัพท์ปฎิเสธ 3)ประโยคกริยาปฎิเสธ แต่เนื่องจากคำคุณศัพท์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งผันในรูปปฏิเสธไม่เหมือนกัน จึงมีประโยคปฏิเสธ 4 แบบ ดังนี้
ประธาน +は +คำนาม +では ありません
ประธาน +は +คุณศัพท์-i +く +ありません
ประธาน +は +คุณศัพท์-na +では ありません
ประธาน +が +คำกริยา +ません
あなた は 大人 では ありません Anata wa otona dewa arimasen คุณไม่ใช่ผู้ใหญ่ครับ/ค่ะ
私 は 中国人 では ありません Watashi wa chuugokujin dewa arimasen ฉันไม่ใช่คนจีนครับ/ค่ะ
私 は 田中さん では ありません Watashi wa Tanakasan dewa arimasen ฉันไม่ใช่คุณทานากะครับ/ค่ะ
先生 では ありません Sensei dewa arimasen ไม่ใช่อาจารย์ครับ/ค่ะ
ねずみ は 大きく ありません Nezumi wa ookiku arimasen หนูไม่ใหญ่ครับ/ค่ะ
象 は 小さく ありません Zou wa chiisaku arimasen ช้างไม่เล็กครับ/ค่ะ
海 は きれい では ありません Umi wa kirei dewa arimasen ทะเลไม่สวยครับ/ค่ะ
彼 は 親切 では ありません Kare wa shinsetsu dewa arimasen เขาไม่ใจดีครับ/ค่ะ
子供 が 泣きません Kodomo ga nakimasen เด็กไม่ร้องไห้ครับ/ค่ะ
友達 が 来ません Tomodachi ga kimasen เพื่อนไม่มาครับ/ค่ะ
財布 が ありません Saifu ga arimasen กระเป๋าสตางค์ไม่อยู่ครับ/ค่ะ
田中さん が 居ません Tanakasan ga imasen คุณทานากะไม่อยู่ครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
では ありません อ่านว่า dewa arimasen เป็นการเปลี่ยนคำว่า です ให้เป็นรูปปฏิเสธอย่างสุภาพ
ส่วน ません เป็นการเปลี่ยนคำว่า ます ให้อยู่ในรูปปฏิเสธอย่างสุภาพ
ประโยคคำนามปฏิเสธ จะเปลี่ยน です เป็น では ありません ตามตัวอย่างที่ ①-④
ประโยคคุณศัพท์ปฏิเสธ มี 2 แบบ คือ
คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 (adj-i) จะเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ありません ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥ คือ 大きい (ooki-i) เปลี่ยนเป็น 大きく (ooki-ku) ありません 小さい (chiisa-i) เปลี่ยนเป็น 小さく (chiisa-ku) ありません คุณศัพท์กลุ่มที่ 2 จะคงรูปเดิม แต่เปลี่ยน です เป็น では ありません ตามตัวอย่างที่ ⑦-⑧
ประโยคกริยาปฏิเสธ จะเปลี่ยน ます เป็น ません ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑫
การผันคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 ให้เป็นประโยคปฏิเสธอย่างสุภาพ นอกจากจะใช้วิธีเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ありません ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥ แล้ว ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ない です คือ
ねずみ は 大きくない です Nezumi wa ookikunai desu 象 は 小さくない です Zou wa chiisakunai desu
รายละเอียดการผันคำคุณศัพท์และคำกริยาให้อยู่ในรูปต่างๆ จะอธิบายในภายหลังต่อไป
กรณีที่ทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะไม่พูดทั้งประธานและคำช่วยก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ 4 : (私は)先生 では ありません (ฉัน)ไม่ใช่อาจารย์ครับ/ค่ะ
คำว่า ありません ในตัวอย่างที่ ⑪ เป็นคำกริยาแปลว่า "ไม่อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต
คำว่า 居ません ในตัวอย่างที่ ⑫ เป็นคำกริยาแปลว่า "ไม่อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งมีชีวิต อ่านตรงนี้หน่อย
では ありません เป็นภาษาเขียน เวลาจะพูดมักใช้ว่า じゃ ありません (ja arimasen)
วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ 3 : Watashi wa Tanakasan dewa arimasen ควรพูดว่า Watashiwa Tanakasandewaarimasen หรือ Watashiwa Tanakasanjaarimasen
โพสต์ความเห็น
พบ 49 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 11
ขอบคุณค่ะ
neko
15 พค 55 10:47
ความเห็นที่ 12
ถามหน่อยสิฮะ
คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 ที่ลงท้ายด้วย i แ้ล้วทำเป็นรูปปฎิเสธนี่ทำได้แบบเดียวเหรอครับ
เช่น Nezumi wa ookiku arimasen
ถ้าเราจะเปลี่ยนเป็นปฎิเสธแบบ เติม ~kunai desu จะได้รึเปล่าครับ ก็จะเป็น
Nezumi wa ookikunai desu
ถ้าทำแบบนี้แ้ล้วความหมายจะเปลี่ยนไปหรือเปล่าครับ หรือว่าการใช้มันมีหลายแบบอะครับ
(พอดีว่า รูป kunai desu ผมเรียนมาอีกทีน่ะฮะ พอเห็นแบบนี้แล้วเลยสงสัยว่าสรุปแล้วใช้รูปแบบไหนน่ะฮะ)
Chiheisen
15 พค 55 10:48
ความเห็นที่ 13
^ เอ่อ ขอโทษทีนะครับ มันขึ้นมา 2 โพสเลยอะ พอดีตอนกดตกลงครั้งแรกมันขึ้น 404 not found อะครับ เลยรีหน้ามาแล้วกดตกลงอีกที แล้วก็ขึ้น 404 not found อีก คราวนี้เลยลองกดรีเฟลชดูแล้วมันขึ้นมา 2 โพสเลยอะ ขอโทษจริงๆนะฮะ ไงๆก็รบกวนลบออกไปโพสนึงหน่อยนะฮะ
Chiheisen
15 พค 55 10:51
ความเห็นที่ 14
ไหนๆก็ไหนๆแล้วขอถามเกี่ยวกับ "คำอธิบาย" ข้อ 4 ข้อย่อยที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของ คุณศัพท์กลุ่ม 1 หน่อยนะฮะ
ในข้อนั้นบอกว่า "คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 จะเปลี่ยน い เป็น く และเปลี่ยน です เป็น では ありません ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥"
แต่ตัวอย่างที่ 5 ถึง 6 นั้น ไหงมัน เป็น "ねずみ は 大きく ありません" กับ "象 は 小さく ありません" ล่ะครับ คำว่า では มันหายไปไหนอะครับ อันนั้นคือ มีหรือไม่มีก็ได้รึเปล่าครับ เริ่มงงนิดๆ แฮะๆๆ
ไงๆก็รบกวนด้วยนะฮะ ผมยังไม่ค่อยเก่งรูปอื่นเท่าไหร่น่ะฮะ
Benz Domo
15 พค 55 11:50
ความเห็นที่ 15
ตอบคุณ Chiheisen
Nezumi wa ookiku arimasen และ Nezumi wa ookikunai desu
ความหมายไม่ต่างกันครับ
ในบทนี้ ผมตั้งใจจะให้จำสำนวนปฏิเสธแบบสุภาพ ที่ลงท้ายด้วย ~ません ไม่ว่าจะเป็นประโยคคำนาม / คุณศัพท์ / กริยา ก็ตาม เพื่อจะได้สะดวกต่อการจำ
ส่วนการผันคำคุณศัพท์แบบที่ 1 จาก -i เป็น -ku nai หรือ -ku nai desu
ผมนำไปอธิบายไว้ในบทที่ 45 เรื่องการผันคำคุณศัพท์
ขอบคุณที่ท้วงมาครับ จะได้เพิ่มเติมไว้ในคำอธิบายด้วย
เพื่อคนที่เรียนมาจากตำราเล่มอื่น จะได้ไม่สับสนครับ
webmaster
15 พค 55 12:14
ความเห็นที่ 16
อืม Benz Domo กับ Chiheisen เป็นคนเดียวกันนะฮะ ต่อไปจะใช้ชื่อ Benz Domo แทน Chiheisen ล่ะกันนะฮะ จะได้ไม่งง
ก็ อยากให้ช่วยตอบคำถามของ ความเห็นที่ 13 ด้วยนะฮะ ผมค่อนข้างงงกะตรงนี้น่ะฮะ
Benz Domo
15 พค 55 12:31
ความเห็นที่ 17
ตอบคุณ Benz Domo (^^)
คำอธิบาย ตรงข้อ 4 ว่าให้เปลี่ยน い เป็น く และเปลี่ยน です เป็น では ありません นั้น ...
เขียมผิดคร้าบบ [shy] ขออภัย [sad]
ตอนนี้ได้แก้ไขคำอธิบายใหม่แล้ว โดยรวมคำถามตอบในความเห็นที่ 11-14 เข้าไปด้วย
คุณ Benz ช่วยดูให้อีกครั้งได้ไหมว่า คราวนี้จะชัดเจนขึ้นหรือยัง ขอบคุณนะครับ ^^
webmaster
15 พค 55 12:43
ความเห็นที่ 18
อ้อ อย่างนี้นี่เอง กระจ่างแ้ล้วฮะ ผมขอลองบอกตามความเข้าใจใหม่ที่พึ่งได้รับนะฮะ ว่า
สรุปคือ คุณศัพท์กลุ่ม 1 เปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ありません
ส่วน คุณศัพท์กลุ่ม 2 คงรูปเดิม แต่เปลี่ยน です เป็น では ありません
ง่ายๆก็คือ ลงท้ายด้วยอิ ให้ตัดอิทิ้งเติมคุ ต่อท้ายด้วย ありません
หากลงท้ายด้วยอย่างอื่น (เท่าที่ผมเรียนมาเค้าบอกลงท้ายด้วย na ถ้าเป็นคุณศัพท์ ) ให้คงรูปไว้แล้วเติม では ありません ความต่างของสองแบบนี้คือ ในคุณศัพท์กลุ่ม 1 ไม่มี では แต่ในคุณศัพท์กลุ่ม 2 จะมี では ใช่มั้ยครับ
ขอโทษนะฮะ คอมผมมันพิมพ์ภาษาญี่ปุ่นไม่ได้อะ (อ่านยังไม่ได้เลย) เลยใช้ภาษาไทยมั่งบางทีก็ก๊อบมามั่ง อาจงงๆแต่อย่าพยายามงงนะฮะ ฮ่ะๆๆ
Benz Domo
15 พค 55 13:03
ความเห็นที่ 19
เพิ่มเติมจาก "ความเห็นที่ 17" นิดนะฮะ ผมอ่านเองตอนแรกไม่งง พออ่านเองอีกรอบ กลัวคนอื่นจะงง ประโยคที่ว่า
"...(เท่าที่ผมเรียนมาเค้าบอกลงท้ายด้วย na ถ้าเป็นคุณศัพท์ )..." น่ะครับ
ก็ที่สอนผมเค้าบอกว่าคุณศัพท์มีสองรูปคือแบบ i กับ na โดยแบบ i นี่ถ้าลงท้ายในรูปปฏิเสธแล้วให้ตัด i ทิ้งแล้วเติม kunai อะอันนี้ผ่าน
ส่วนแบบ na นั้น ก็เป็นคำที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย i เช่นพวก shizuka (เงียบสงบ) ซึ่งถ้าเขียนในรูปปกติล่ะก็ต้องเติม na ต่อท้ายคุณศัพท์พวกนี้ด้วย แต่ถ้าอยู่ในแบบปฏิเสธก็ให้ตัด na ทิ้ง แล้วค่อยเติม では ありません
สรุปแล้ว ประโยคที่ว่า "...(เท่าที่ผมเรียนมาเค้าบอกลงท้ายด้วย na ถ้าเป็นคุณศัพท์ )..." นี้นั้น ง่ายๆก็คือ "คำที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย i " นั่นล่ะครับ
อืม หวังว่าคงไม่งงนะ ทำไมผมยิ่งพิมพ์แล้วยิ่งงงเองนะ [mmm]
Benz Domo
15 พค 55 13:15
ความเห็นที่ 20
สุดท้ายล่ะครับ พึ่งนึกได้ เดี๋ยวจะลืมหมด ความเห็นที่ 17 นั่นอยากให้ช่วยดูว่าผมเข้าใจถูกมั้ย ส่วนความเห็นที่ 18 ก็เป็นส่วนเสริมประโยคของ ความเห็นที่ 17
ส่วนความเข้าใจที่ผมอยากเข้าใจก็คือสรุปง่ายๆ ในรูปปฏิเสธนั้น
- ลงท้ายด้วย i ไม่มี では
- นอกนั้น มี では
น่ะฮะ...
Benz Domo
15 พค 55 13:21
1 1 2 3 4 5 > 5
pageviews 8,319,957
Top