อ่าน 165,508 ครั้ง
แบ่งเป็น 1) ประโยคคำนามปฎิเสธ 2) ประโยคคุณศัพท์ปฎิเสธ 3)ประโยคกริยาปฎิเสธ
แต่เนื่องจากคำคุณศัพท์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งผันในรูปปฏิเสธไม่เหมือนกัน จึงมีประโยคปฏิเสธ 4 แบบ ดังนี้
ประธาน +は +คำนาม +では ありません
ประธาน +は +คุณศัพท์-i +く +ありません
ประธาน +は +คุณศัพท์-na +では ありません
ประธาน +が +คำกริยา +ません |
- あなた は 大人 では ありません
Anata wa otona dewa arimasen
คุณไม่ใช่ผู้ใหญ่ครับ/ค่ะ
- 私 は 中国人 では ありません
Watashi wa chuugokujin dewa arimasen
ฉันไม่ใช่คนจีนครับ/ค่ะ
- 私 は 田中さん では ありません
Watashi wa Tanakasan dewa arimasen
ฉันไม่ใช่คุณทานากะครับ/ค่ะ
- 先生 では ありません
Sensei dewa arimasen
ไม่ใช่อาจารย์ครับ/ค่ะ
- ねずみ は 大きく ありません
Nezumi wa ookiku arimasen
หนูไม่ใหญ่ครับ/ค่ะ
- 象 は 小さく ありません
Zou wa chiisaku arimasen
ช้างไม่เล็กครับ/ค่ะ
- 海 は きれい では ありません
Umi wa kirei dewa arimasen
ทะเลไม่สวยครับ/ค่ะ
- 彼 は 親切 では ありません
Kare wa shinsetsu dewa arimasen
เขาไม่ใจดีครับ/ค่ะ
- 子供 が 泣きません
Kodomo ga nakimasen
เด็กไม่ร้องไห้ครับ/ค่ะ
- 友達 が 来ません
Tomodachi ga kimasen
เพื่อนไม่มาครับ/ค่ะ
- 財布 が ありません
Saifu ga arimasen
กระเป๋าสตางค์ไม่อยู่ครับ/ค่ะ
- 田中さん が 居ません
Tanakasan ga imasen
คุณทานากะไม่อยู่ครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
- では ありません อ่านว่า dewa arimasen เป็นการเปลี่ยนคำว่า です ให้เป็นรูปปฏิเสธอย่างสุภาพ
- ส่วน ません เป็นการเปลี่ยนคำว่า ます ให้อยู่ในรูปปฏิเสธอย่างสุภาพ
- ประโยคคำนามปฏิเสธ จะเปลี่ยน です เป็น では ありません ตามตัวอย่างที่ ①-④
- ประโยคคุณศัพท์ปฏิเสธ มี 2 แบบ คือ
- คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 (adj-i) จะเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ありません ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥ คือ
大きい (ooki-i) เปลี่ยนเป็น 大きく (ooki-ku) ありません
小さい (chiisa-i) เปลี่ยนเป็น 小さく (chiisa-ku) ありません - คุณศัพท์กลุ่มที่ 2 จะคงรูปเดิม แต่เปลี่ยน です เป็น では ありません ตามตัวอย่างที่ ⑦-⑧
- ประโยคกริยาปฏิเสธ จะเปลี่ยน ます เป็น ません ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑫
- การผันคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 ให้เป็นประโยคปฏิเสธอย่างสุภาพ นอกจากจะใช้วิธีเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ありません ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥ แล้ว ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ない です คือ
- ねずみ は 大きくない です
Nezumi wa ookikunai desu - 象 は 小さくない です
Zou wa chiisakunai desu
- รายละเอียดการผันคำคุณศัพท์และคำกริยาให้อยู่ในรูปต่างๆ จะอธิบายในภายหลังต่อไป
- กรณีที่ทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะไม่พูดทั้งประธานและคำช่วยก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ 4 : (私は)先生 では ありません (ฉัน)ไม่ใช่อาจารย์ครับ/ค่ะ
- คำว่า ありません ในตัวอย่างที่ ⑪ เป็นคำกริยาแปลว่า "ไม่อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต
- คำว่า 居ません ในตัวอย่างที่ ⑫ เป็นคำกริยาแปลว่า "ไม่อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งมีชีวิต
อ่านตรงนี้หน่อย
- では ありません เป็นภาษาเขียน เวลาจะพูดมักใช้ว่า じゃ ありません (ja arimasen)
- วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ 3 : Watashi wa Tanakasan dewa arimasen ควรพูดว่า Watashiwa Tanakasandewaarimasen หรือ Watashiwa Tanakasanjaarimasen
พบ 49 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 31
อ๋อออ ดูง่ายขึ้นกว่าเดิมเยอะเลย
เวลาแต่งประโยคคุณศัพท์ทีไรไม่ค่อยมั่นใจทุกที
เดี๋ยวจะลองจำคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย い ในกลุ่ม 2 ดูนะคะ
เผื่อตอนแต่งประโยคจะมั่นใจขึ้น
ขอบคุณมากนะคะที่อธิบายให้ [smile] [clap]
Cloud
24 ตค 55 15:29
ความเห็นที่ 32
ยินดีครับ
webmaster
24 ตค 55 16:56
ความเห็นที่ 33
「ประธาน」+ は +「คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 + く」+ ありません
1. การผันคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 ถ้าจะคิดหรือจำว่า --> เป็นการเปลี่ยนจาก い เป็น く
หรือ ตัด い เติม くจะได้หรือไม่คะ ถ้าจำแบบนี้จะผิดหลักหรือเปล่า
2. คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 นั้น จะต้องผันทุกคำหรือเปล่าคะ ในประโยคปฏิเสธและประโยคคำถาม
3. อยากทราบว่าคำกริยาที่แปลว่า "อยู่" และ "ไม่อยู่" คืออะไร
คือสงสัยคำว่า あります、居ます คำศัพท์จริงๆคือคำว่าอะไร
แล้วที่ใช้ในประโยคคือคำที่ผันแล้วใช่ไหมคะ
แล้วเขาใช้กันโดดหรือเปล่าคะ
4. อยากทราบว่า คำที่ทำให้เกิดความสุภาพนั้นคือคำว่าอะไร
หมายถึงว่า ถ้าไม่มีคำนี้จะกลายเป็นประโยคห้วนๆหรือเปล่า
5. ではありません กับ じゃありません เป็นคำสุภาพเหมือนกันหรือไม่
สามารถใช้แทนกันได้เลยใช่ไหมไม่ว่ากับใคร
ขอบคุณมากค่ะ
CB
25 ตค 55 08:41
ความเห็นที่ 34
1. การผันคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 เป็นรูปปฎิเสธ
ให้จำได้เลยว่า เปลี่ยน い เป็น く แล้วเติม ありません
大きい ⇒ 大きくありません
小さい ⇒ 小さくありません
2. คำถามข้อ 2 ไม่ค่อยเข้าใจ ขอตอบกลางๆก่อน คือ
คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 หากจะทำเป็นประโยคปฏิเสธ ก็ต้องผันในรูป -ku arimasen ตามข้อ 1
หากจะทำเป็นประโยคคำถาม ก็เติมคำว่า か ซึ่งอธิบายไว้ในบทที่ 9
3. คำกริยาว่า "อยู่" คือ あります และ 居ます
คำปฏิเสธ คือ ありません และ 居ません
dic form คือ ある และ いる
ตัวอย่างคำกริยาในบทนี้ เป็นคำกริยาที่ผันแล้วให้อยู่ในรูปสุภาพ หรือปฏิเสธอย่างสุภาพ
การใช้คำกริยาโดดๆ ไม่แน่ใจว่า ถามถึงเรื่องใด
ขอตอบกลางๆก่อนว่า สามารถใช้โดดๆได้
การผันคำกริยา จะอยู่ในบทที่ 44
4. คำที่ทำให้เกิดความสุภาพ คือ ~ます (เป็นคำกริยานุเคราะห์ชนิดหนึ่ง)
ถ้าไม่มีคำนี้ ก็จะกลายเป็นประโยคกันเอง ในบทที่ 49-53
5. ではありません ใช้ในภาษาเขียน
じゃありません ใช้ในภาษาพูด
เป็นคำสุภาพเหมือนกันครับ
webmaster
25 ตค 55 09:32
ความเห็นที่ 35
ขอบคุณมากค่ะ
เห็นสัจธรรมเลย....[peace][peace][peace]
~CB~
25 ตค 55 16:05
ความเห็นที่ 36
ยินดีด้วยครับ [green]
webmaster
25 ตค 55 16:47
ความเห็นที่ 37
ขอเห็นสัจธรรมด้วยคนค่ะ
ตอนที่อ่านในหนังสือ ยิ่งอ่านก็ยิ่ง งง ค่ะ
แต่พอมาอ่านของอาจารย์ แม้ว่าจะยังจำศัพท์ไม่ได้ แต่ไม่งงแล้ว
ปวดหัวอยู่หลายเดือน หายซะที [lol]
Jiang Minglian
3 มีค 56 23:42
ความเห็นที่ 38
เอาใจช่วยครับ
การเรียนไม่มีเส้นทางลัด ค่อยๆทำความเข้าใจและทบทวนบ่อยๆ ไม่ต้องรีบร้อนนะครับ ^^
webmaster
5 มีค 56 09:47
ความเห็นที่ 39
จากหัวข้อสาระน่ารู้เรื่องทำไมคำช่วย はจึงออกเสียงว่าวwaมีคำถามรบกวนอาจารย์ช่วยตอบด้วยค่ะดังนี้
1.จากประโยคนี้ ははには二たびあいたれども ちちには一度もあわず
คำว่า あわず มีความหมายว่า あわないใช่ไหมคะ มีวิธีการใช้ ずอย่างไรหรือมีที่มาอย่างไรคะ
2.二たび ใช่ 二度 หรือไม่ถ้าใช่่ จากคำอ่านโดยกูเกิลอ่านว่าにどและจากตย.ข้างต้นท้ายประโยคน่าจะอ่านว่าいちどもあわずใช่หรือไม่ถ้าไม่ใช่มีหลักการอ่านอย่างไร
3.รบกวนช่วยอธิบายหลักการใช้คำว่า(一)度และคำว่า(一)回 สองคำนี้ใช้ต่างกันอย่างไรถ้าจะพูดว่าเคาะระฆัง3ครั้งควรจะใช้คำไหนมากกว่ากันหรือมีคำที่เหมาะสมกว่าสองคำนี้หรือไม่
4.จากあいたれคำれมีหลักการใช้อย่างไรคะ
pat
7 เมย 56 14:32
ความเห็นที่ 40
ก่อนอื่นขออนุญาตทำความเข้าใจก่อนนะครับ
คำถามที่จะตั้งในบทเรียน ขอให้เป็นคำถามที่ตรงกับบทเรียนนั้นๆ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์กับผู้ที่เข้ามาศึกษาความรู้ตามบทเรียน ผมไม่อยากให้คำถามในแต่ละบท กระจัดกระจายหลายเรื่อง จนคนที่เข้ามาอ่านสับสน และหาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ
กรณีที่สิ่งที่ต้องการถาม ไม่มีในบทเรียน อยากให้ถามบนเฟสบุค (หรือถามไว้ในบันทึกเยี่ยมชมก็ได้) เพื่อที่ผมจะได้เลือกคำตอบที่น่าจะเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ไปแชร์บนเฟสบุคนะครับ
.........................................................
ประโยคที่ยกมานั้น เป็นประโยคโบราณนะครับ ไม่น่าจะนำมาใช้เป็นตัวอย่างในการศึกษาไวยากรณ์
ขอตอบเฉพาะที่เป็นเรื่องปัจจุบันคือ
1.回 และ 度 เป็นคำลักษณะนามในการนับจำนวนครั้งเหมือนกัน โดยทั่วไปแล้วจะใช้งานเหมือนๆกัน
เท่าที่ค้นหาความแตกต่างในเน็ต (ไม่ยืนยันความถูกต้อง) คือ
回 สามารถใช้กับจำนวนครั้งที่เป็น 0 หรือทศนิยมได้ เช่น 0回 หรือ 1.5回
และหากใช้ในรูป ~回目 จะใช้ในความหมายคาดการณ์หรือคาดหวังว่า เมื่อครบรอบแล้วก็จะเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นอีก
ส่วน 度 จะไม่ใช้กับจำนวนครั้งที่เป็น 0 หรือทศนิยม คือไม่ใช้ว่า 0度 หรือ 1.5度
และหากใช้ในรูป ~度目 จะใช้ในความหมายที่ไม่คาดหวังว่าจะเกิดเหตุการณ์นั้นอีก
2.度(たび)ที่เป็นคำลักษณะนาม มีความหมายเหมือนกับ 度(ど)และ 回 แต่เป็นวิธีการพูดที่ค่อนข้างเก่าหน่อย อ่านว่า ひとたび、ふたたび、みたび ครับ
webmaster
7 เมย 56 18:42
1<5
pageviews 8,319,822