ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นไม่ยากอย่างที่คิด

อ่าน 161,988 ครั้ง

に เป็นคำช่วยที่มีลักษณะการใช้งานหลายรูปแบบ เช่น ใช้ชี้สถานที่ เวลา หรือบุคคล

ประธาน +が +สถานที่
เวลา
บุคคล
+に +กริยา +ます

  1. お父さん が 会社 行きます
    Otousan ga kaisha ni ikimasu
    คุณพ่อไปบริษัทครับ/ค่ะ
  2. おじいさん が 電車 乗ります
    Ojiisan ga densha ni norimasu
    คุณปู่ขึ้นรถไฟครับ/ค่ะ
  3. お客さん が 家 来ます
    Okyakusan ga ie ni kimasu
    แขกมาที่บ้านครับ/ค่ะ
  4. 先生 が 部屋 戻ります
    Sensei ga heya ni modorimasu
    อาจารย์กลับห้องครับ/ค่ะ

  1. ノート が 机 の 上 あります
    Nooto ga tsukue no ue ni arimasu
    สมุดอยู่บนโต๊ะครับ/ค่ะ
  2. 先生 が 本 を 机 の 上 置きます
    Sensei ga hon o tsukue no ue ni okimasu
    อาจารย์วางหนังสือบนโต๊ะครับ/ค่ะ
  3. お父さん が 会社 居ます
    Otousan ga kaisha ni imasu
    คุณพ่ออยู่ที่บริษัทครับ/ค่ะ
  4. おばあさん が 台所 居ます
    Obaasan ga daidokoro ni imasu
    คุณยายอยู่ในครัวครับ/ค่ะ

  1. お母さん が 毎日 6時 起きます
    Okaasan ga mainichi rokuji ni okimasu
    คุณแม่ตื่นเวลา 6 โมงเช้าทุกวันครับ/ค่ะ
  2. お父さん が 7時 出かけます
    Otousan ga shichiji ni dekakemasu
    คุณพ่อออกจากบ้านตอน 7 โมงเช้าครับ/ค่ะ
  3. お兄さん が 9時 帰ります
    Oniisan ga kuji ni kaerimasu
    พี่ชายกลับมาตอน 3 ทุ่มครับ/ค่ะ
  4. 弟 が 10時 寝ます
    Otouto ga juuji ni nemasu
    น้องชายนอนตอน 4 ทุ่มครับ/ค่ะ

  1. 先生 質問 を します
    Sensei ni shitsumon o shimasu
    ถามคำถามอาจารย์ครับ/ค่ะ
  2. お母さん お小遣い を もらいます
    Okaasan ni okotzukai o moraimasu
    ได้เงินค่าขนมจากคุณแม่ครับ/ค่ะ
  3. 友達 電話番号 を 教えます
    Tomodachi ni denwa bangou o oshiemasu
    บอกเบอร์โทรศัพท์แก่เพื่อนครับ/ค่ะ
  4. 弟 が 犬 えさ を あげます
    Otouto ga inu ni esa o agemasu
    น้องชายให้อาหารสุนัขครับ/ค่ะ

คำอธิบาย

พบ 60 ความเห็นในบทเรียนนี้

ความเห็นที่ 31
มีคำถามครับ ถ้าเรามีประโยคซ้อนประโยคจะใช้ตัวเชื่อม หรือวางประโยคยังไงครับเช่น

"ฉันเห็นเธอกินขนมที่อยู่บนโตะ" มีกริยา 2 ตัวคือ เห็น กับ กิน ซึ่งขยายประธานคนละตัว งง แฮะๆ หรือต้องแยกประโยคครับเป็น "ฉันเห็นเธอ"+"เธอกินขนมที่อยู่บนโต๊ะ"
AgentMolder 3 มค 57 13:16

ความเห็นที่ 32
[ฉัน] + [เห็น]
[わたし は] [みた]

[ฉัน] + [เธอ] + [เห็น]
[わたし は] [あなた を] [みた]

[ฉัน] + [เธอทานขนม] + [เห็น]
[わたし は] [おかし を たべた あなた を] [みた]

[ฉัน] + [เธอทานขนมบนโต๊ะ] + [เห็น]
[わたし は] [つくえ の うえ の おかし を たべた あなた を] [みた]

ลองดูนะครับว่าเข้าใจการเรียงโครงสร้างไหม
แล้วลองแต่ประโยคอื่นดูครับ
webmaster 7 มค 57 10:40

ความเห็นที่ 33
จากที่ WM ยกมา

[ฉัน] + [เธอทานขนมบนโต๊ะ] + [เห็น]
[わたし は] [つくえ の うえ の おかし を たべた あなた を] [みた]

แสดงว่าประโยคซ้อนที่ไปขยายกริยา เห็น (เธอทานขนม) เหมือนเอาไปวางต่อๆกันโดยที่ไม่ต้องใส่รูปประโยคอีกแล้วใช่ไหมครับ แต่ใช้วิธีผันกริยาแทน? เพราะปกติประโยค "เธอทานขนม" โดดๆ จะเขียนว่า anata ka okashi o tabemasu
AgentMolder 7 มค 57 14:04

ความเห็นที่ 34
ลืมไปครับ ประโยคที่ว่า เธอทานขนมบนโต๊ะ ไม่ใช้ ni เหรอครับ

anata wa tsukue no ue ni okashi o tabeta anata o mite
AgentMolder 7 มค 57 14:06

ความเห็นที่ 35
ความเห็นที่ 33 เข้าใจผิดนะครับ
การเรียงตำแหน่งคำ ในโครงสร้างประโยคซ้อน เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่แค่ผันคำกริยา ลองอ่านดูอีกรอบนึงนะครับ
webmaster 9 มค 57 07:50

ความเห็นที่ 36
ความเห็นที่ 34
อย่าใช้วิธีจำว่า พอมีคำว่า ue แล้วต้องมี ni เสมอ แต่ต้องดูว่า "ภาคแสดง" คืออะไร

ยกตัวอย่าง เช่น
ue + ni + ภาคแสดง
ue + de + ภาคแสดง
ue + kara + ภาคแสดง
ฯลฯ
เป็นไปได้ทั้งนั้น

ประโยคที่สอบถาม หากจะใช้ に ก็ได้ แต่ต้องเพิ่มคำกริยาเข้าไปอีกคำนึง จึงจะสมบูรณ์
ลองดูอีกครั้งนึงครับ
webmaster 9 มค 57 07:51

ความเห็นที่ 37
อืม..เรื่องประโยค ซ้อนประโยค ยังไม่ค่อยเข้าใจ สงสัยต้องเรียนไปอีกสักพักครับ

ส่วนคำเชื่อม ni ผมพิมพ์ผิดตำแหน่งครับ น่าจะใช้กับ "บนโต๊ะ" หรือเปล่าครับ "tsukue ni ue no okashi o" เพราะปรโยค "อยู่บนโต๊ะ" ไม่น่าใช้คำเชื่อมว่า no นะครับ ผมลองย้อนกลับไปอ่านคำช่วย no ก็ไม่มีตรงไหนบอก..หรือผมเข้าใจผิด

ยังไงก็ขอโทษที่ถามบ่อยนะครับ หวังว่าคงไม่รำคาญก่อน แฮะๆ
Agent Molder 9 มค 57 10:47

ความเห็นที่ 38
ถ้าจะใช้ ni ก็จะเป็นอย่างนี้ครับ
"tsukue no ue ni aru okashi" ขนมบนโต๊ะ
"tsukue no ue ni aru okashi o tabeta" ทานขนมบนโต๊ะ
"tsukue no ue ni aru okashi o tabeta anata" เธอคนที่ทานขนมบนโต๊ะ
"tsukue no ue ni aru okashi o tabeta anata o mita" เห็นเธอทานขนมบนโต๊ะ
"watashi wa tsukue no ue ni aru okashi o tabeta anata o mita" ฉันเห็นเธอทานขนมบนโต๊ะ

ส่วนคำช่วย の ที่ผมใช้ มีความหมายตามหลักไวยากรณ์ข้อ iii ในลิ้งค์

ที่คุณ AgentMolder ยังไม่เข้าใจตอนนี้ น่าจะเป็นเรื่อง "การวางตำแหน่งคำศัพท์และคำช่วยในวลีที่ยาวๆ" เช่น
- ขนมบนโต๊ะ
- ขนมหวานบนโต๊ะ
- ขนมหวานชิ้นใหญ่บนโต๊ะ
- ขนมหวานชิ้นใหญ่ 2 ชิ้นบนโต๊ะ
- ขนมหวานชิ้นใหญ่ 2 ชิ้นกับกาแฟบนโต๊ะ
- ขนมหวานชิ้นใหญ่ 2 ชิ้นกับกาแฟร้อนบนโต๊ะ
ทั้งหมดนี้เป็น "วลี" ครับ
webmaster 10 มค 57 08:37

ความเห็นที่ 39
อ่อครับ พอกดไปดูที่ link นี่ มีเงื่อนไขมากกว่าในบทเรียนเพียบเลยครับ >< ไม่หวาดไม่ไหวจริงๆ สู้ๆครับ
Agent Molder 15 มค 57 10:40

ความเห็นที่ 40
คำช่วยที่อธิบายในบทเรียน เป็นการอธิบายในความหมายพื้นฐานที่ใช้บ่อยๆ เท่านั้น
หากจะศึกษาการใช้คำช่วย คงต้องเข้าไปอ่านเพิ่มเติมในหัวข้อ "คำช่วยต่างๆ" แต่เพิ่งเขียนไปได้ 30 กว่าตัวเท่านั้นครับ
webmaster 15 มค 57 18:03

1<>6

pageviews 8,320,018