อ่าน 162,811 ครั้ง
こちら、そちら、あちら、どちら เป็นคำสรรพนามซึ่งใช้แทนได้ทั้งคน/สิ่งของ/สถานที่/ทิศทาง มีรูปแบบการใช้งาน คือ
คำนาม +は + | こちら そちら あちら どちら | +ですか |
こちら そちら あちら どちら | +が +คำนาม +ですか |
- こちら は おすし です。
Kochira wa osushi desu
ของทางนี้คือข้าวหน้าปลาดิบครับ/ค่ะ
- そちら は おさしみ です。
Sochira wa osashimi desu
ของทางนั้นคือปลาดิบครับ/ค่ะ
- あちら は 何 です か。
Achira wa nan desu ka
ของทางโน้นคืออะไรครับ/ค่ะ
- あちら は おにぎり です。
Achira wa onigiri desu
ของทางโน้นคือข้าวปั้นห่อสาหร่ายครับ/ค่ะ
- どちら が 山田先生 です か。
Dochira ga Yamadasensei desu ka
คนทางไหนคืออาจารย์ยามาดะครับ/ค่ะ
- あちら が 山田先生 です。
Achira wa Yamada sensei desu
คนทางโน้นคืออาจารย์ยามาดะครับ/ค่ะ
- 田中さん は どちら です か。
Tanakasan wa dochira desu ka
คุณทานากะคือคนทางไหนครับ/ค่ะ
- 田中さん は こちら です。
Tanakasan wa kochira desu
คุณทานากะคือคนทางนี้ครับ/ค่ะ
- すみません、公園 は どちら です か。
Sumimasen, kouen wa dochira desu ka
ขอโทษ สวนสาธารณะอยู่ทางไหนครับ/ค่ะ
- 公園 は あちら です。
Kouen wa achira desu
สวนสาธารณะอยู่ทางโน้นครับ/ค่ะ
- そちら は 何 です か。
Sochira wa nan desu ka
สิ่งทางนั้นคืออะไรครับ/ค่ะ
- そちら は 病院 です。
Sochira wa byouin desu
สิ่งทางนั้นคือโรงพยาบาลครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
- こちら (kochira)、そちら (sochira)、あちら (achira) เป็นคำสรรพนามแทนคน/สิ่งของ/สถานที่ ตามระยะที่อยู่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง โดยนำทิศทางเข้ามารวมอยู่ในความรู้สึกในการพูดด้วย
- กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ใกล้กัน
- こちら ใช้แทนคน/สิ่งของ/สถานที่ ซึ่งอยู่ใกล้ผู้พูดและผู้ฟัง
- そちら ใช้แทนคน/สิ่งของ/สถานที่ ซึ่งอยู่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง
- あちら ใช้แทนคน/สิ่งของ/สถานที่ ซึ่งอยู่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
- กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ห่างกัน
- こちら ใช้แทนคน/สัตว์/สิ่งของ ซึ่งอยู่ใกล้ผู้พูด แต่อยู่ไกลจากผู้ฟัง
- そちら ใช้แทนคน/สัตว์/สิ่งของ ซึ่งอยู่ไกลจากผู้พูด แต่อยู่ใกล้ผู้ฟัง
- あちら ใช้แทนคน/สัตว์/สิ่งของ ซึ่งอยู่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
- どちら (dochira) เป็นคำสรรพนามในประโยคคำถาม ในกรณีที่ผู้พูดไม่รู้จักหรือไม่ทราบว่าคน/สิ่งของ/สถานที่นั้นคืออันไหนหรืออยู่ทางไหน
- หาก どちら มีสถานะเป็นประธานของประโยค ปกติจะใช้คำช่วยคือ が ทั้งในการถามและการตอบ ตามตัวอย่างที่ ⑤ และ ⑥
- คำสรรพนาม こちら、そちら、あちら、どちら สามารถเป็นประธานในประโยคคุณศัพท์และประโยคกริยาได้เช่นเดียวกัน เช่น
- そちら が 高い です か
Sochira ga takai desu ka
(ของ)ทางนั้นแพงหรือครับ/ค่ะ - こちら が 行きます
Kochira ga ikimasu
คนทางนี้(=ฉัน)จะไปครับ/ค่ะ
อ่านตรงนี้หน่อย
- ในภาษาพูด สามารถแทนคำว่า こちら、そちら、あちら、どちら ด้วยคำว่า こっち (kotchi)、そっち (sotchi)、あっち (atchi)、どっち (dotchi) ก็ได้ แต่จะมีความสุภาพน้อยลง
- どちら มีความหมายว่า คนไหน อันไหน ทางไหน จึงมักจะใช้ในกรณีที่มีตัวเลือกเพียง 2 ชนิดเท่านั้น
- หากเป็นการเลือกตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป มักจะใช้คำว่า どれ (dore) ซึ่งเคยเรียนในบทก่อนหน้านี้แล้ว
- แต่คำว่า どれ จะไม่ใช้กับคน ดังนั้น การให้เลือกคนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จึงจะใช้คำว่า どなた (donata : ใคร) ซึ่งเป็นคำสุภาพ หรือใช้คำว่า 誰 (dare : ใคร) แต่จะสุภาพน้อยกว่า
พบ 41 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 11
ผมเข้าใจนะ แต่กลัวลืมนี่ซิ
คงต้องคลุกคลีประจำ
Shin
5 พย 55 19:13
ความเห็นที่ 12
ผมอยากรู้จังว่า N5 จะสอบอะไรบ้างครับ?
Shin
5 พย 55 19:14
ความเห็นที่ 13
ถ้าไม่ใช้ ก็ต้องลืมเป็นธรรมดา
ดังนั้น ถ้าจะเรียน ก็ควรตั้งเป้าหมายด้วยว่าเพื่ออะไร เช่น ฟังเพลง ดูอานิเม อ่านการ์ตูน เป็นต้น
ซึ่งจะทำให้มีโอกาสได้ยินได้เห็นบ่อยขึ้น และแก้ปัญหาการลืมได้ครับ
และต้องขอโทษด้วยว่า บทเรียนในเว็บนี้ไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับเรียนเพื่อการสอบ JLPT
เพราะบางเรื่องที่ผมเห็นว่าง่าย (แต่ JLPT อาจเห็นว่ายาก) ผมก็จะสอนตั้งแต่บทแรกๆ
จึงไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ตรงๆว่า N5 จะตรงกับบทไหนบ้าง
เว็บต่างประเทศมีหลายแห่งที่รวบรวมไวยากรณ์ คันจิ คำศัพท์ ตาม N1-N5
สามารถเช็คดูได้ครับ
webmaster
6 พย 55 00:06
ความเห็นที่ 14
จากที่อาจารย์อธิบายว่า
คำสรรพนาม こちら、そちら、あちら、どちら สามารถเป็นประธานในประโยคคุณศัพท์และประโยคกริยาได้เช่นเดียวกัน เช่น
そちら が 高い です か
Sochira ga takai desu ka
(ของ)ทางนั้นแพงหรือครับ/ค่ะ
สงสัยว่า ขึ้นต้นประโยคด้วย そちら แต่ทำไมใช้ が แทน は คะ
ถ้าเราจะพูดว่า
そちら は 高い です か
Sochira wa takai desu ka
ได้ไหมคะ
Jiang Minglian
1 กพ 56 10:05
ความเห็นที่ 15
は กับ が จะเข้าใจยากนิดนึงครับ
ตามที่ได้อธิบายไว้ในบทต้นๆ ประโยคคุณศัพท์โดยทั่วไปจะใช้ は เป็นคำช่วยแสดงหัวข้อเรื่อง (ซึ่งอาจเป็นประธานของประโยคด้วย)
การพูดโดยทั่วไป จึงใช้เป็น そちら は 高い です か (ของ)ทางนั้นแพงไหม
แต่ในประโยคคุณศัพท์นี้ หากเปลี่ยนคำช่วยเป็น が จะมีความหมายแสดงการจำเพาะเจาะจงประธานมากกว่าปกติ ตือ
そちら が 高い です か (ของ)ทางนั้นแพงไหม -> เจาะจงของนั้นมากกว่าของอื่นๆ
ผมเลือกใช้ตัวอย่างไม่ดีเอง จึงทำให้สับสน
ลองอ่านวิธีการใช้ が ในบทที่ 22 เพิ่มเติม อาจจะช่วยให้เข้าใจชัดขึ้น
ต้องขอโทษด้วยนะครับ
webmaster
1 กพ 56 20:52
ความเห็นที่ 16
ไม่เป็นไรค่ะ อาจารย์ไม่ต้องขอโทษหรอกค่ะ[smile]
ได้อ่านบทที่ 22 ตามที่อาจารย์บอกแล้ว แต่ขอยอมรับว่ายังไม่เข้าใจความแตกต่างเท่าไหร่
แต่จะพยายามอ่านให้เข้าใจให้ได้ค่ะ
Jiang Minglian
8 กพ 56 14:42
ความเห็นที่ 17
は กับ が ใช้ยากครับ
ค่อยๆ อ่านทวนซ้ำในทุกๆบทที่เกี่ยวกับเรื่อง は และ が เพื่อให้เข้าใจและคุ้นกับวิธีใช้งาน
และหากมีคำถามเพิ่มเติมในบทนั้นๆ ก็ยินดีครับ ^^
webmaster
11 กพ 56 09:08
ความเห็นที่ 18
どうもありがとうございます。
Jiang Minglian
16 กพ 56 23:26
ความเห็นที่ 19
これから、私は頑張ります。\(*⌒0⌒)♪
Jiang Minglian
16 กพ 56 23:34
ความเห็นที่ 20
頑張ってください。応援します。^^
webmaster
18 กพ 56 13:21
1>5
pageviews 8,319,969