อ่าน 162,809 ครั้ง
こちら、そちら、あちら、どちら เป็นคำสรรพนามซึ่งใช้แทนได้ทั้งคน/สิ่งของ/สถานที่/ทิศทาง มีรูปแบบการใช้งาน คือ
คำนาม +は + こちら そちら あちら どちら +ですか
こちら そちら あちら どちら +が +คำนาม +ですか
こちら は おすし です。 Kochira wa osushi desu ของทางนี้คือข้าวหน้าปลาดิบครับ/ค่ะ
そちら は おさしみ です。 Sochira wa osashimi desu ของทางนั้นคือปลาดิบครับ/ค่ะ
あちら は 何 です か。 Achira wa nan desu ka ของทางโน้นคืออะไรครับ/ค่ะ
あちら は おにぎり です。 Achira wa onigiri desu ของทางโน้นคือข้าวปั้นห่อสาหร่ายครับ/ค่ะ
どちら が 山田先生 です か。 Dochira ga Yamadasensei desu ka คนทางไหนคืออาจารย์ยามาดะครับ/ค่ะ
あちら が 山田先生 です。 Achira wa Yamada sensei desu คนทางโน้นคืออาจารย์ยามาดะครับ/ค่ะ
田中さん は どちら です か。 Tanakasan wa dochira desu ka คุณทานากะคือคนทางไหนครับ/ค่ะ
田中さん は こちら です。 Tanakasan wa kochira desu คุณทานากะคือคนทางนี้ครับ/ค่ะ
すみません、公園 は どちら です か。 Sumimasen, kouen wa dochira desu ka ขอโทษ สวนสาธารณะอยู่ทางไหนครับ/ค่ะ
公園 は あちら です。 Kouen wa achira desu สวนสาธารณะอยู่ทางโน้นครับ/ค่ะ
そちら は 何 です か。 Sochira wa nan desu ka สิ่งทางนั้นคืออะไรครับ/ค่ะ
そちら は 病院 です。 Sochira wa byouin desu สิ่งทางนั้นคือโรงพยาบาลครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
こちら (kochira)、そちら (sochira)、あちら (achira) เป็นคำสรรพนามแทนคน/สิ่งของ/สถานที่ ตามระยะที่อยู่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง โดยนำทิศทางเข้ามารวมอยู่ในความรู้สึกในการพูดด้วย
กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ใกล้กัน
こちら ใช้แทนคน/สิ่งของ/สถานที่ ซึ่งอยู่ใกล้ผู้พูดและผู้ฟัง そちら ใช้แทนคน/สิ่งของ/สถานที่ ซึ่งอยู่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง あちら ใช้แทนคน/สิ่งของ/สถานที่ ซึ่งอยู่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ห่างกัน
こちら ใช้แทนคน/สัตว์/สิ่งของ ซึ่งอยู่ใกล้ผู้พูด แต่อยู่ไกลจากผู้ฟัง そちら ใช้แทนคน/สัตว์/สิ่งของ ซึ่งอยู่ไกลจากผู้พูด แต่อยู่ใกล้ผู้ฟัง あちら ใช้แทนคน/สัตว์/สิ่งของ ซึ่งอยู่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
どちら (dochira) เป็นคำสรรพนามในประโยคคำถาม ในกรณีที่ผู้พูดไม่รู้จักหรือไม่ทราบว่าคน/สิ่งของ/สถานที่นั้นคืออันไหนหรืออยู่ทางไหน
หาก どちら มีสถานะเป็นประธานของประโยค ปกติจะใช้คำช่วยคือ が ทั้งในการถามและการตอบ ตามตัวอย่างที่ ⑤ และ ⑥
คำสรรพนาม こちら、そちら、あちら、どちら สามารถเป็นประธานในประโยคคุณศัพท์และประโยคกริยาได้เช่นเดียวกัน เช่น
そちら が 高い です か Sochira ga takai desu ka (ของ)ทางนั้นแพงหรือครับ/ค่ะ こちら が 行きます Kochira ga ikimasu คนทางนี้(=ฉัน)จะไปครับ/ค่ะ อ่านตรงนี้หน่อย
ในภาษาพูด สามารถแทนคำว่า こちら、そちら、あちら、どちら ด้วยคำว่า こっち (kotchi)、そっち (sotchi)、あっち (atchi)、どっち (dotchi) ก็ได้ แต่จะมีความสุภาพน้อยลง
どちら มีความหมายว่า คนไหน อันไหน ทางไหน จึงมักจะใช้ในกรณีที่มีตัวเลือกเพียง 2 ชนิดเท่านั้น
หากเป็นการเลือกตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป มักจะใช้คำว่า どれ (dore) ซึ่งเคยเรียนในบทก่อนหน้านี้แล้ว
แต่คำว่า どれ จะไม่ใช้กับคน ดังนั้น การให้เลือกคนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จึงจะใช้คำว่า どなた (donata : ใคร) ซึ่งเป็นคำสุภาพ หรือใช้คำว่า 誰 (dare : ใคร) แต่จะสุภาพน้อยกว่า
โพสต์ความเห็น
พบ 41 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 1
ไม่เข้าใจเลยบทนี้ น่าจะมีตัวอย่างมากกว่านี้นะ
ไม่เข้าใจเลยบทนี้
31 สค 54 15:57
ความเห็นที่ 2
บทนี้มีตัวอย่าง 3 หน้า รวม 12 ตัวอย่าง
น่าจะพอเข้าใจได้นะครับ
webmaster
25 กย 54 13:06
ความเห็นที่ 3
จะบอกว่า เข้าใจในระดับนึงนะในตอนต้นของบทเรียนน่ะ คงจะเพราะเคยเรียนมาบ้าง
แต่มันมาเข้าใจแจ่มแจ้ง ถึงบางจุดเอาตรงท้ายที่เป็นการเสริมไว้นั่นแหละค่ะ
ชอบจิงๆๆอิแบบนี้ ^^
zlevs
14 พค 55 19:27
ความเห็นที่ 4
บทท้ายๆ มีหลายบทที่แทบจะไม่ค่อยได้เขียนคำอธิบายไว้เลย
หากเจอบทไหนที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็ช่วยแจ้งด้วยนะ จะได้ปรับปรุงให้เข้าใจง่ายขึ้นครับ
webmaster
14 พค 55 21:47
ความเห็นที่ 5
ที่จริงติดใจว่าจะถามมาตั้งแต่บทที่ 10 ล่ะฮะ แต่กลัวจะโดนหาว่าแปลก แต่ก็อยากรู้น่ะฮะ
เรื่องที่ติดใจคือ พวก dore doko dochira (คำแสดงคำถาม) พวกนี้น่ะฮะ ผมสงสัยว่า
เวลาที่พวกนี้มาเป็นประธานในประโยค คำช่วยที่ใช้ใช้ได้แค่ ga อย่างเดียวเหรอฮะ แล้ว
wa ใช้ไม่ได้เหรอฮะ หรือว่ามันเป็นเงื่อนไขในตัวอยู่แล้วว่าหากคำแสดงคำถามขึ้นมาให้ใช้
ga ทันที อะไรแบบนั้นหรือเปล่าฮะ
Benz Domo
16 พค 55 10:36
ความเห็นที่ 6
は เป็นคำช่วยเพื่อยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากล่าวถึงเป็นพิเศษ หรือเพื่อพูดถึงหัวข้อเรื่องที่กำลังกล่าวถึง
ดังนั้น เมื่อประธาน/หัวข้อเรื่อง ของประโยค เป็นอะไรก็ยังไม่รู้ (ใคร/อันไหน/..) จึงไม่ใช้ は
สรุปตามที่เขียนไว้ในคำอธิบาย คือ หาก どちら มีสถานะเป็นประธานของประโยค ปกติจะใช้คำช่วยคือ が ทั้งในการถามและการตอบ ตามตัวอย่างที่ ⑤ และ ⑥ ครับ
webmaster
16 พค 55 12:05
ความเห็นที่ 7
อ๋อ เข้าใจแล้ววว อย่างนี้นี่เอง ขอบคุณมากนะฮะ
พอดีว่า เคยอ่านเจอประมาณว่า wa กับ ga นั้นบ่งบอกความเป็นหัวเรื่องได้ ก็เลยจบแค่นั้น
ล่ะก็จำมาอย่างเดียวว่า wa กับ ga ชี้ประธาน
แต่จากที่คุณ webmaster บอกนี่ แล้วลองไปอ่านอีกครั้ง ดูเหมือนจะจริงนะนี่ ประมาณว่า
- wa ใช้ชี้ประธานที่มีตัวตนหรือหัวเรื่องที่รู้แน่แล้วว่าคือเรื่องอะไร
- ga ใช้ชี้ประธานด้วยก็จริง แต่เหมือนกับจะถามหากรรม (กรณีประธานคือปุจฉาสรรพนาม)
ก็เช่น どちら が 山田先生 です か นี่ก็เหมือนกับถามหาคุณยามาดะ (กรรม) ใช่มั้ยฮะ
ถูกผิดยังไง ดูให้หน่อยนะฮะ (ถามมากไปจะโดนว่ามั้ยนี่ ฮ่ะๆๆ)
Benz Domo
16 พค 55 13:23
ความเห็นที่ 8
"กรรม" ในไวยากรณ์ จะหมายถึงสิ่งที่ถูกกระทำ หรือผู้ที่ถูกกระทำ จึงเป็นกรณีของประโยคกริยา (หรือประโยคคุณศัพท์บางคำที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรักชอบ หรือความสามารถ)
どちら が 山田先生 です か เป็นประโยคคำนาม จึงไม่เกี่ยวกัน ครับ
webmaster
16 พค 55 13:40
ความเห็นที่ 9
อ้อ อย่างงั้นเหรอฮะนี่ งั้นตอนนี้ก็เอาแค่ว่า [ปุจฉาสรรพนาม] + ga + [คำนาม] + desu ka ก่อนล่ะกันนะ แหะๆๆ
Benz Domo
16 พค 55 17:53
ความเห็นที่ 10
^^
webmaster
18 พค 55 11:23
1 2 3 4 5 > 5
pageviews 8,319,862
Top