อ่าน 169,065 ครั้ง
มี 3 ประเภท คือ 1) ประโยคคำนาม 2) ประโยคคุณศัพท์ และ 3) ประโยคกริยา
ประธาน +は +คำนาม +です
ประธาน +は +คุณศัพท์ +です
ประธาน +が +กริยา +ます |
- 田中さん は 日本人 です
Tanakasan wa nihonjin desu
คุณทานากะเป็นคนญี่ปุ่นครับ/ค่ะ
- 私 は タイ人 です
Watashi wa taijin desu
ฉันเป็นคนไทยครับ/ค่ะ
- 私 は ソムチャイ です
Watashi wa somuchai desu
ผมชื่อสมชายครับ
- 大学生 です
Daigakusei desu
นักศึกษาครับ
- 象 は 大きい です
Zou wa ookii desu
ช้างใหญ่ครับ/ค่ะ
- ねずみ は 小さい です
Nezumi wa chiisai desu
หนูเล็กครับ/ค่ะ
- 桜 は きれい です
Sakura wa kirei desu
ซากุระสวยครับ/ค่ะ
- タイ人 は 親切 です
Taijin wa shinsetsu desu
คนไทยใจดีครับ/ค่ะ
- 子供 が 泣きます
Kodomo ga nakimasu
เด็กร้องไห้ครับ/ค่ะ
- 友達 が 来ます
Tomodachi ga kimasu
เพื่อนมาครับ/ค่ะ
- 本 が あります
Hon ga arimasu
หนังสืออยู่ครับ/ค่ะ
- 日本人 が 居ます
Nihonjin ga imasu
คนญี่ปุ่นอยู่ครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
- ประโยคในภาษาญี่ปุ่น มีโครงสร้างพื้นฐานคือ
โดยภาคประธานจะต้องเป็นคำนาม ส่วนภาคแสดงจะเป็นคำนาม คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาก็ได้
- หากมีคำขยายภาคประธานหรือภาคแสดง ก็จะวางคำขยายไว้ข้างหน้าภาคประธานหรือภาคแสดงนั้นๆ เช่น
- 「คำขยาย」「ประธาน」+「คำขยาย」「ภาคแสดง」
- การวางประธานหรือคำขยายในประโยค ปกติจะต้องใช้คำช่วยทุกครั้ง เพื่อชี้ว่าคำนามแต่ละตัวทำหน้าที่อย่างไรในประโยค
- は เฉพาะกรณีที่เป็นคำช่วย จะอ่านว่า wa เป็นคำช่วยเพื่อชี้หัวข้อเรื่อง ซึ่งบ่อยครั้งที่หัวข้อเรื่องจะเป็นประธาน ปกติจะใช้ในประโยคคำนาม ตามตัวอย่างที่ ①-④ และประโยคคุณศัพท์ ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑧
- です เป็นคำช่วยจบประโยคบอกเล่าอย่างสุภาพ แสดงการยืนยันหรือมั่นใจ ใช้ในประโยคคำนามและประโยคคุณศัพท์
- กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะไม่พูดทั้งประธานและ は ก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ 4 : (私は)大学生です : (ฉันเป็น) นักศึกษาครับ/ค่ะ
- が เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธาน ปกติจะใช้ในประโยคกริยา ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑫
- ます เป็นการผันคำกริยาให้เป็นคำสุภาพ เพื่อใช้จบประโยคบอกเล่าอย่างสุภาพ
- คำว่า あります ในตัวอย่างที่ ⑪ เป็นคำกริยาสุภาพ แปลว่า "อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น สิ่งของ และพืช
- คำว่า 居ます ในตัวอย่างที่ ⑫ เป็นคำกริยาสุภาพ แปลว่า "อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งมีชีวิต คือ คนและสัตว์
- ประโยค ~は~です และ ~が~ます เป็นสำนวนพื้นฐานที่จำเป็นมากที่สุดในการเรียนภาษาญี่ปุ่น จึงควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องชัดเจน ก่อนที่จะก้าวสู่บทต่อๆไป
อ่านตรงนี้หน่อย
- は และ が เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธานของประโยค ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้ แต่จะมีความหมายแตกต่างกัน คือจะเป็นการจำเพาะเจาะจงประธานมากกว่าปกติ ซึ่งจะอธิบายในภายหลังต่อไป
- です และ ます เป็นคำจบประโยคอย่างสุภาพ ใช้ได้ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน โดย です จะใช้กับคำนามและคำคุณศัพท์ ส่วน ますจะใช้กับคำกริยา
- ผู้ที่เริ่มศึกษาภาษาญี่ปุ่นควรใช้คำสุภาพ โดยจบประโยคด้วย です หรือะ ます ทุกครั้ง แต่จะต้องระวังไม่ให้สับสนกัน
- ในภาษาพูด มักจะออกเสียง です และ ます ให้กระชับ โดยออกเสียง です ว่า des และออกเสียง ます ว่า mas
- การเรียกชื่อคน เมื่อจะเรียกชื่อผู้อื่นให้เติมคำว่า さん เพื่อให้เกียรติ แต่หากเรียกชื่อตนเองไม่ต้องมีคำว่า さん เช่น
ตัวอย่างที่ ① : 田中さん は 日本人 です => พูดชื่อคนอื่น จึงต้องมีคำว่า さん เพื่อให้เกียรติ
ตัวอย่างข้อ ③ : 私 は ソムチャイ です => พูดถึงตนเอง จึงต้องไม่ใช้คำว่า さん มิฉะนั้นจะกลายเป็น "ผมชื่อคุณสมชาย"
- คำช่วย เป็นคำที่มีความสำคัญมากในภาษาญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อพูดประโยคยาวๆที่มีคำศัพท์หลายๆคำ เนื่องจากคำศัพท์แต่ละคำจะต้องมีคำช่วยต่อท้าย เพื่อให้ผู้ฟังทราบว่าคำศัพท์นั้นทำหน้าที่อะไรในประโยค
- ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาไวยากรณ์ญี่ปุ่น มักจะใช้คำช่วยผิดบ่อยๆ หรือบางคนก็จะไม่ใช้คำช่วยเลย จึงทำให้ไม่สามารถสื่อสารประโยคยาวๆกับคนญี่ปุ่นได้ อีกทั้งยังจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้ง่าย หรือสื่อสารไม่เข้าใจกัน ดังนั้น จึงควรฝึกฝนและใช้คำช่วยเสมอ
- วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ ② : Watashi wa taijin desu จะพูดว่า watashiwa taijindesu
พบ 64 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 31
ขอบคุณ คุณ webmaster มากนะครับ คำตอบคืออย่างนี้ีนี่เอง คือผมมีคำถามเพิ่มเติมนะครับ คือ ถ้าเราจะเขียนชื่อคนไทย เป็นภาษาญี่ปุ่น ต้องมีหลักเกณฑ์อะไรหรือเปล่าครับ
ทิวากาล
10 พค 55 10:47
ความเห็นที่ 32
ขอบคุณ คุณ webmaster มากนะครับ คำตอบคืออย่างนี้ีนี่เอง คือผมมีคำถามเพิ่มเติมนะครับ คือ ถ้าเราจะเขียนชื่อคนไทย เป็นภาษาญี่ปุ่น ต้องมีหลักเกณฑ์อะไรหรือเปล่าครับ
ทิวากาล
10 พค 55 10:49
ความเห็นที่ 33
ตอบไม่ถูกเลย [smile]
หลักการก็คือ เขียนให้ตรง หรือใกล้เคียงเท่าที่เป็นไปได้
แต่ถ้าเขียนให้ตรงไม่ได้ ก็สุดแล้วแต่ว่า เจ้าตัวเขาจะชอบแนวไหน
ตัวอย่างเรื่อง การเขียนชื่อ "สมชาย" เป็น ソムチャイ ก็เป็นเพียงมุมมองของผม
ไม่ได้เป็นหลักเกณฑ์หรือกติกาว่า ต้องเป็นเช่นนั้นเสมอ
คนอื่น อาจมีมุมมองที่ต่างจากผมก็ได้ครับ
webmaster
10 พค 55 17:27
ความเห็นที่ 34
จะบอกว่า ละเอียดมากอ่ะ แบบว่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ในห้องเรียนเค้าไม่ค่อยสอน ก็มีบอกอ่ะ
อย่างแรกเลยคือ เราไม่รู้ด้วยซ้ำอ่ะว่า wa ต้องใช้คู่กับ desu แล้ว ka ก้ต้องคู่กับ masu
รู้แต่ว่า มันคือคำช่วยกะคำลงท้าย แอบสงสัยเหมือนกันว่า ทำไมไม่ใช้คำเดียวไปเลย
ทีนี้ก้อถึงบางอ้อสักที รึตอนอาจารย์เค้าอธิบายเรามัวแต่นั่งหลับหว่า - -"
แต่ยังไงก็ขอบคุณท่านเวปมาสเตอร์มากนะค่ะ ^^
zlevs
14 พค 55 17:09
ความเห็นที่ 35
wa กับ ga ค่อนข้างจะเข้าใจยากครับ
หนังสือเรียนต่างๆ จึงไม่อยากจะสอนทั้ง wa และ ga พร้อมๆกัน ตั้งแต่บทต้นๆ เพราะกลัวว่าจะสับสน
ก็เลยกลายเป็นข้อเสีย คือทำให้คนเรียนเห็นภาพไม่กระจ่างตั้งแต่ต้น
เรื่องของ wa และ ga ในเว็บนี้ ยังมีในบทเรียนที่ 21,22 และ 38
และมีคำอธิบายโดยละเอียด และตัวอย่าง แยกต่างหาก อยู่ในเพจหัวข้อ "คำช่วยต่างๆ" ตาม link
ถ้ามีเวลา ก็ลองศึกษาดูนะครับ อาจจะช่วยให้เข้าใจเพิ่มมากขึ้นอีก
webmaster
14 พค 55 21:42
ความเห็นที่ 36
ขอบคุณ คุณ webmaster มากนะครับ ขอให้เว็บนี้อยู่กันไปนาน ๆ ๆ เพราะผมก็ได้ความรู้จากเว็บนี้มากกว่าหนังสืออีก (หรือในหนังสือไม่ค่อยอยากอ่านก็ไม่รู้นะครับ ไม่ค่อยดึงดูดอยากให้อ่านเท่าไหร่ สงสัยจะคิดมากไปเอง)
ทิวากาล
18 พค 55 15:14
ความเห็นที่ 37
การเรียนด้วยตนเองในสมัยนี้ ไม่เหมือนกับสมัยก่อน ที่ต้องนั่งอ่านอยู่ในห้องตามลำพัง
การเรียนด้วยตนเองในสมัยนี้ มีเครื่องมือช่วยเหลือ มีตัวอย่างคำถามแปลกๆใหม่ๆของคนอื่น มีเพื่อนคอยให้กำลังใจและให้ปรึกษาอยู่ทั่วโลก จึงอาจรู้สึกว่าสนุกกว่าการเรียนจากตำรามั้งครับ ^^
webmaster
18 พค 55 18:21
ความเห็นที่ 38
友達 が 来ます ไม่เข้าใจคะ ทำไมใช้ が ทำไมไม่ใช้ へ
あかね
6 มิย 55 20:54
ความเห็นที่ 39
คำว่า が เป็นคำช่วย ทำหน้าที่ "ชี้ประธานของประโยค"
คำว่า へ เป็นคำช่วย ทำหน้าที่ "ชี้ทิศทางของการเคลื่อนที่"
คุณ あかね อาจจำหลักไวยากรณ์ผิด
คือไปจำว่า ถ้าเห็นคำกริยาที่เป็นการเคลื่อนที่ ให้ใช้คำช่วยคือ へ
ซึ่งไม่ถูกต้องครับ
คำช่วย ทำหน้าที่ต่อท้ายคำนาม (หรือคำอื่นแล้วแต่กรณี)
เพื่อชี้ว่า คำนามนั้น ทำหน้าที่อะไรในประโยค
ดังนั้น ประโยคว่า 友達 (…) 来ます
จึงต้องดูที่ 友達 ว่า ทำหน้าที่อะไร
กรณีนี้ 友達 ทำหน้าที่ประธาน คือ เป็นคนที่เดินทางมา
จึงต้องใช้คำช่วยเป็น が
友達 が 来ます ครับ
webmaster
6 มิย 55 22:10
ความเห็นที่ 40
ขอบคุณครับที่สอน
ได้อะไรเยอะเลย ผมเป็นคนที่เพิ่งหัด เรียนภาษาญี่ปุ่น แต่ก็อายุ จะ 30 แล้ว สมองเลยไม่ค่อยไวซักเท่าไร ไม่รู้จะช้าไปไหมสำหรับเรียนภาษา แต่ก็จะพยายามเต็มที
แต่มันติดตรงที่มันมี ตัวคันจินี้แระครับ เลยทำให้มันยากไปซักนิดสำหรับผม
ถึงจะมีตัวโรมาจิก็เถอะ - -
ถ้าเพิ่มคำอ่านตัว ฮิระงะนะให้ด้วยจะดีมากเลยจะได้เรียนการสะกด ไปด้วยเลย 55
ยังไงก็ขอบคุณมากครับสำหรับสิ่งดี ๆ
สู้ตายคร๊าบ
จ่าชัย
17 สค 55 21:00
1<>7
pageviews 8,319,815