อ่าน 169,063 ครั้ง
มี 3 ประเภท คือ 1) ประโยคคำนาม 2) ประโยคคุณศัพท์ และ 3) ประโยคกริยา
ประธาน +は +คำนาม +です
ประธาน +は +คุณศัพท์ +です
ประธาน +が +กริยา +ます |
- 田中さん は 日本人 です
Tanakasan wa nihonjin desu
คุณทานากะเป็นคนญี่ปุ่นครับ/ค่ะ
- 私 は タイ人 です
Watashi wa taijin desu
ฉันเป็นคนไทยครับ/ค่ะ
- 私 は ソムチャイ です
Watashi wa somuchai desu
ผมชื่อสมชายครับ
- 大学生 です
Daigakusei desu
นักศึกษาครับ
- 象 は 大きい です
Zou wa ookii desu
ช้างใหญ่ครับ/ค่ะ
- ねずみ は 小さい です
Nezumi wa chiisai desu
หนูเล็กครับ/ค่ะ
- 桜 は きれい です
Sakura wa kirei desu
ซากุระสวยครับ/ค่ะ
- タイ人 は 親切 です
Taijin wa shinsetsu desu
คนไทยใจดีครับ/ค่ะ
- 子供 が 泣きます
Kodomo ga nakimasu
เด็กร้องไห้ครับ/ค่ะ
- 友達 が 来ます
Tomodachi ga kimasu
เพื่อนมาครับ/ค่ะ
- 本 が あります
Hon ga arimasu
หนังสืออยู่ครับ/ค่ะ
- 日本人 が 居ます
Nihonjin ga imasu
คนญี่ปุ่นอยู่ครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
- ประโยคในภาษาญี่ปุ่น มีโครงสร้างพื้นฐานคือ
โดยภาคประธานจะต้องเป็นคำนาม ส่วนภาคแสดงจะเป็นคำนาม คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาก็ได้
- หากมีคำขยายภาคประธานหรือภาคแสดง ก็จะวางคำขยายไว้ข้างหน้าภาคประธานหรือภาคแสดงนั้นๆ เช่น
- 「คำขยาย」「ประธาน」+「คำขยาย」「ภาคแสดง」
- การวางประธานหรือคำขยายในประโยค ปกติจะต้องใช้คำช่วยทุกครั้ง เพื่อชี้ว่าคำนามแต่ละตัวทำหน้าที่อย่างไรในประโยค
- は เฉพาะกรณีที่เป็นคำช่วย จะอ่านว่า wa เป็นคำช่วยเพื่อชี้หัวข้อเรื่อง ซึ่งบ่อยครั้งที่หัวข้อเรื่องจะเป็นประธาน ปกติจะใช้ในประโยคคำนาม ตามตัวอย่างที่ ①-④ และประโยคคุณศัพท์ ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑧
- です เป็นคำช่วยจบประโยคบอกเล่าอย่างสุภาพ แสดงการยืนยันหรือมั่นใจ ใช้ในประโยคคำนามและประโยคคุณศัพท์
- กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะไม่พูดทั้งประธานและ は ก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ 4 : (私は)大学生です : (ฉันเป็น) นักศึกษาครับ/ค่ะ
- が เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธาน ปกติจะใช้ในประโยคกริยา ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑫
- ます เป็นการผันคำกริยาให้เป็นคำสุภาพ เพื่อใช้จบประโยคบอกเล่าอย่างสุภาพ
- คำว่า あります ในตัวอย่างที่ ⑪ เป็นคำกริยาสุภาพ แปลว่า "อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น สิ่งของ และพืช
- คำว่า 居ます ในตัวอย่างที่ ⑫ เป็นคำกริยาสุภาพ แปลว่า "อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งมีชีวิต คือ คนและสัตว์
- ประโยค ~は~です และ ~が~ます เป็นสำนวนพื้นฐานที่จำเป็นมากที่สุดในการเรียนภาษาญี่ปุ่น จึงควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องชัดเจน ก่อนที่จะก้าวสู่บทต่อๆไป
อ่านตรงนี้หน่อย
- は และ が เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธานของประโยค ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้ แต่จะมีความหมายแตกต่างกัน คือจะเป็นการจำเพาะเจาะจงประธานมากกว่าปกติ ซึ่งจะอธิบายในภายหลังต่อไป
- です และ ます เป็นคำจบประโยคอย่างสุภาพ ใช้ได้ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน โดย です จะใช้กับคำนามและคำคุณศัพท์ ส่วน ますจะใช้กับคำกริยา
- ผู้ที่เริ่มศึกษาภาษาญี่ปุ่นควรใช้คำสุภาพ โดยจบประโยคด้วย です หรือะ ます ทุกครั้ง แต่จะต้องระวังไม่ให้สับสนกัน
- ในภาษาพูด มักจะออกเสียง です และ ます ให้กระชับ โดยออกเสียง です ว่า des และออกเสียง ます ว่า mas
- การเรียกชื่อคน เมื่อจะเรียกชื่อผู้อื่นให้เติมคำว่า さん เพื่อให้เกียรติ แต่หากเรียกชื่อตนเองไม่ต้องมีคำว่า さん เช่น
ตัวอย่างที่ ① : 田中さん は 日本人 です => พูดชื่อคนอื่น จึงต้องมีคำว่า さん เพื่อให้เกียรติ
ตัวอย่างข้อ ③ : 私 は ソムチャイ です => พูดถึงตนเอง จึงต้องไม่ใช้คำว่า さん มิฉะนั้นจะกลายเป็น "ผมชื่อคุณสมชาย"
- คำช่วย เป็นคำที่มีความสำคัญมากในภาษาญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อพูดประโยคยาวๆที่มีคำศัพท์หลายๆคำ เนื่องจากคำศัพท์แต่ละคำจะต้องมีคำช่วยต่อท้าย เพื่อให้ผู้ฟังทราบว่าคำศัพท์นั้นทำหน้าที่อะไรในประโยค
- ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาไวยากรณ์ญี่ปุ่น มักจะใช้คำช่วยผิดบ่อยๆ หรือบางคนก็จะไม่ใช้คำช่วยเลย จึงทำให้ไม่สามารถสื่อสารประโยคยาวๆกับคนญี่ปุ่นได้ อีกทั้งยังจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้ง่าย หรือสื่อสารไม่เข้าใจกัน ดังนั้น จึงควรฝึกฝนและใช้คำช่วยเสมอ
- วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ ② : Watashi wa taijin desu จะพูดว่า watashiwa taijindesu
พบ 64 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 41
1.ผมคิดว่าอายุไม่ค่อยสำคัญ
ถ้าเริ่มตั้งแต่ประถม นั่นจึงจะสำคัญ
แต่ถ้าเริ่มตอน 20 หรือ 30 หรือ 40 ผมคิดว่าไม่ต่างกันแล้ว
จะต่างก็แค่ว่า สามารถให้เวลาเรียนได้เพียงพอหรือเปล่า
ผู้ชายวัย 30 ต้องให้เวลาทั้งเรื่องการงานและครอบครัว จึงย่อมเสียเปรียบเป็นธรรมดา
แต่ถ้ามีความตั้งใจ มุ่งมั่น ก็น่าจะชดเชยข้อเสียเปรียบได้บ้าง
2. คันจินี่ยากสำหรับทุกเพศ ทุกวัยครับ ^^
3. ฮิรางานะ จะใส่ก็ได้ แต่ก็ต้องตัดโรมาจิทิ้งไป
ไม่งั้นมันจะมี 3 บรรทัดซ้อนกัน ลำบากทั้งคนทำ และคนเรียน
ผมเลยเลือกโรมาจิ เพื่อให้สามาถเข้าถึงได้เร็วกว่า
แต่ถ้าจะจำฮิรางานะจริงๆ 2 อาทิตย์ ก็คงจำได้แล้ว
สู้ๆนะครับ [smile]
webmaster
17 สค 55 21:30
ความเห็นที่ 42
ขอบคุณมากครับยัง อุตส่าห์ ตอบกลับ
ตอนนี้ ผมกำลังตั้งใจอ่านอยู่เลยครับ
แหม อาจาร์ยคนนี้เอาใจใส่นักเรียนดีจังเลย
มีกำลังใจเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย
ขอบคุณครับ
(^/\^)
จ่าชัย
17 สค 55 22:34
ความเห็นที่ 43
บทไหนไม่เข้าใจ โพสต์คำถามทิ้งไว้ได้ครับ
เข้ามาตรวจการบ้านให้เสมอ ^^
webmaster
18 สค 55 11:46
ความเห็นที่ 44
Thank you.I understends.
Umi
22 มีค 56 23:19
ความเห็นที่ 45
สวัสดีคะฉันเพิ่งมาเริ่มเรียนภาษานี้เลยไม่รู้จะเริ่มเรียนที่ตรงไหนดีหนะคะช่วยชี้แนะธด่วยนะคะ ^ ^
Umi
22 มีค 56 23:23
ความเห็นที่ 46
เว็บนี้ใช้ทั้งโรมาจิ และฮิรางานะ คันจิ ผสมกัน
จึงอยากให้เรียนจากโรมาจิก่อน (ได้ใช้แน่นอนเวลาจะคีย์ภาษาญี่ปุ่น หรือใช้ค้นหาคำศัพท์จากดิกในเว็บนี้)
จากนั้นก็จำฮิรางานะ และคาตาคานะ (คาตาคานะ ใช้เวลามากหน่อยก็ไม่เป็นไร หรือจะมาตามเก็บให้ครบทีหลังก็ได้)
ระหว่างนั้นก็เริ่มเรียนบทเรียนไปเรื่อยๆตามลำดับ ถ้าเรียนได้ถึงบทที่ 40-50 ก็ถือว่าหรูแล้วครับ สำหรับการเริ่มเรียนด้วยตนเอง
และถ้าสนใจ ก็ฝึกจำคันจิด้วย เริ่มจาก ป.1 หรือคำที่เห็นบ่อยๆ ไปด้วยครับ
webmaster
23 มีค 56 19:46
ความเห็นที่ 47
จากตัวอย่างที่ให้ 日本人 が 居ます
日本人 は 居ます ถ้าเขียนแบบนี้จะมีความหมายมั้ยครับ
ถ้ามีความหมาย สองประโยคนี้จะต่างกันยังไงครับ
ยิ้ม
30 กค 56 22:35
ความเห็นที่ 48
การใช้ は หรือ が ในประโยคกริยา จะให้ความหมายที่ต่างกัน
ลองดูคำอธิบายเพิ่มเติมในบทที่ 21 และ 22 นะครับ
webmaster
1 สค 56 00:26
ความเห็นที่ 49
ถามนอกบทนิดครับ ผมสงสัยคำนี้ครับ(จริงๆมีอีกหลายคำเลย) 小さい ที่แปลว่าเล็กอ่ะครับ ผมไปดูในหน้าศัพท์คันจิ อ่านได้ตั้งหลายแบบ เราจะรู้ได้ไงว่าเราจะพูด หรืออ่านเสียงไหนอ่ะครับ หรือมันไม่ตายตัวจะอ่านอะไรก็ได้? อย่าหมาน้อย จะอ่าน chiisai inu หรือ shou inu หรือ ko inu ก็ได้หรือเปล่าครับ
AgentMolder
22 พย 56 16:22
ความเห็นที่ 50
นี่คือความยากของคันจิครับ
ดูคันจิแล้วพอจะเดาความหมายได้ แต่ไม่รู้จะอ่านแบบไหน
หลักกว้างๆ คือ คำศัพท์ที่อ่านแบบ onyomi มักจะอ่าน onyomi ทั้งคู่
หรือถ้าอ่านแบบ kunyomi ก็มักจะอ่าน kunyomi ทั้งคู่
แต่การจะอ่านแบบไหนนั้น คงต้องใช้วิธีท่องจำเป็นหลัก
เช่นคำว่า 小人 ถ้าอ่านแบบ onyomi จะอ่านว่า ショウニン (หรือ ショウジン)
ซึ่งทั้ง ショウ และ ニン และ ジン เป็นเสียงอ่านแบบ onyomi
แต่ถ้าอ่านแบบ kunyomi จะอ่านว่า こびと
ซึ่งทั้ง こ และ ひと เป็นเสียงอ่านแบบ kunyomi
คำศัพท์บางคำ สามารถอ่านได้ทั้งแบบ onyomi และ kunyomi ตามตัวอย่างข้างบน
ซึ่งบางครั้งความหมายจะเหมือนกัน แต่บางครั้งความหมายจะต่างกัน
แต่คำศัพท์บางคำ จะอ่านได้เพียงแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น
เช่น 小犬 อ่านแบบ kunyomi ว่า こいぬ (สุนัขพันธุ์เล็ก)
แต่จะไม่อ่านแบบ onyomi คือไม่อ่านว่า ショウケン
ส่วน 小さい犬 (chiisai inu) เป็น Adj + N
ซึ่งต่างกับวิธีการอ่านคำศัพท์ 小犬 ที่เขียนไว้ข้างต้นครับ
webmaster
23 พย 56 12:53
1<>7
pageviews 8,319,701