อ่าน 169,066 ครั้ง
มี 3 ประเภท คือ 1) ประโยคคำนาม 2) ประโยคคุณศัพท์ และ 3) ประโยคกริยา
ประธาน +は +คำนาม +です
ประธาน +は +คุณศัพท์ +です
ประธาน +が +กริยา +ます |
- 田中さん は 日本人 です
Tanakasan wa nihonjin desu
คุณทานากะเป็นคนญี่ปุ่นครับ/ค่ะ
- 私 は タイ人 です
Watashi wa taijin desu
ฉันเป็นคนไทยครับ/ค่ะ
- 私 は ソムチャイ です
Watashi wa somuchai desu
ผมชื่อสมชายครับ
- 大学生 です
Daigakusei desu
นักศึกษาครับ
- 象 は 大きい です
Zou wa ookii desu
ช้างใหญ่ครับ/ค่ะ
- ねずみ は 小さい です
Nezumi wa chiisai desu
หนูเล็กครับ/ค่ะ
- 桜 は きれい です
Sakura wa kirei desu
ซากุระสวยครับ/ค่ะ
- タイ人 は 親切 です
Taijin wa shinsetsu desu
คนไทยใจดีครับ/ค่ะ
- 子供 が 泣きます
Kodomo ga nakimasu
เด็กร้องไห้ครับ/ค่ะ
- 友達 が 来ます
Tomodachi ga kimasu
เพื่อนมาครับ/ค่ะ
- 本 が あります
Hon ga arimasu
หนังสืออยู่ครับ/ค่ะ
- 日本人 が 居ます
Nihonjin ga imasu
คนญี่ปุ่นอยู่ครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
- ประโยคในภาษาญี่ปุ่น มีโครงสร้างพื้นฐานคือ
โดยภาคประธานจะต้องเป็นคำนาม ส่วนภาคแสดงจะเป็นคำนาม คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาก็ได้
- หากมีคำขยายภาคประธานหรือภาคแสดง ก็จะวางคำขยายไว้ข้างหน้าภาคประธานหรือภาคแสดงนั้นๆ เช่น
- 「คำขยาย」「ประธาน」+「คำขยาย」「ภาคแสดง」
- การวางประธานหรือคำขยายในประโยค ปกติจะต้องใช้คำช่วยทุกครั้ง เพื่อชี้ว่าคำนามแต่ละตัวทำหน้าที่อย่างไรในประโยค
- は เฉพาะกรณีที่เป็นคำช่วย จะอ่านว่า wa เป็นคำช่วยเพื่อชี้หัวข้อเรื่อง ซึ่งบ่อยครั้งที่หัวข้อเรื่องจะเป็นประธาน ปกติจะใช้ในประโยคคำนาม ตามตัวอย่างที่ ①-④ และประโยคคุณศัพท์ ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑧
- です เป็นคำช่วยจบประโยคบอกเล่าอย่างสุภาพ แสดงการยืนยันหรือมั่นใจ ใช้ในประโยคคำนามและประโยคคุณศัพท์
- กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะไม่พูดทั้งประธานและ は ก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ 4 : (私は)大学生です : (ฉันเป็น) นักศึกษาครับ/ค่ะ
- が เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธาน ปกติจะใช้ในประโยคกริยา ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑫
- ます เป็นการผันคำกริยาให้เป็นคำสุภาพ เพื่อใช้จบประโยคบอกเล่าอย่างสุภาพ
- คำว่า あります ในตัวอย่างที่ ⑪ เป็นคำกริยาสุภาพ แปลว่า "อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น สิ่งของ และพืช
- คำว่า 居ます ในตัวอย่างที่ ⑫ เป็นคำกริยาสุภาพ แปลว่า "อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งมีชีวิต คือ คนและสัตว์
- ประโยค ~は~です และ ~が~ます เป็นสำนวนพื้นฐานที่จำเป็นมากที่สุดในการเรียนภาษาญี่ปุ่น จึงควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องชัดเจน ก่อนที่จะก้าวสู่บทต่อๆไป
อ่านตรงนี้หน่อย
- は และ が เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธานของประโยค ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้ แต่จะมีความหมายแตกต่างกัน คือจะเป็นการจำเพาะเจาะจงประธานมากกว่าปกติ ซึ่งจะอธิบายในภายหลังต่อไป
- です และ ます เป็นคำจบประโยคอย่างสุภาพ ใช้ได้ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน โดย です จะใช้กับคำนามและคำคุณศัพท์ ส่วน ますจะใช้กับคำกริยา
- ผู้ที่เริ่มศึกษาภาษาญี่ปุ่นควรใช้คำสุภาพ โดยจบประโยคด้วย です หรือะ ます ทุกครั้ง แต่จะต้องระวังไม่ให้สับสนกัน
- ในภาษาพูด มักจะออกเสียง です และ ます ให้กระชับ โดยออกเสียง です ว่า des และออกเสียง ます ว่า mas
- การเรียกชื่อคน เมื่อจะเรียกชื่อผู้อื่นให้เติมคำว่า さん เพื่อให้เกียรติ แต่หากเรียกชื่อตนเองไม่ต้องมีคำว่า さん เช่น
ตัวอย่างที่ ① : 田中さん は 日本人 です => พูดชื่อคนอื่น จึงต้องมีคำว่า さん เพื่อให้เกียรติ
ตัวอย่างข้อ ③ : 私 は ソムチャイ です => พูดถึงตนเอง จึงต้องไม่ใช้คำว่า さん มิฉะนั้นจะกลายเป็น "ผมชื่อคุณสมชาย"
- คำช่วย เป็นคำที่มีความสำคัญมากในภาษาญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อพูดประโยคยาวๆที่มีคำศัพท์หลายๆคำ เนื่องจากคำศัพท์แต่ละคำจะต้องมีคำช่วยต่อท้าย เพื่อให้ผู้ฟังทราบว่าคำศัพท์นั้นทำหน้าที่อะไรในประโยค
- ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาไวยากรณ์ญี่ปุ่น มักจะใช้คำช่วยผิดบ่อยๆ หรือบางคนก็จะไม่ใช้คำช่วยเลย จึงทำให้ไม่สามารถสื่อสารประโยคยาวๆกับคนญี่ปุ่นได้ อีกทั้งยังจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้ง่าย หรือสื่อสารไม่เข้าใจกัน ดังนั้น จึงควรฝึกฝนและใช้คำช่วยเสมอ
- วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ ② : Watashi wa taijin desu จะพูดว่า watashiwa taijindesu
พบ 64 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 21
เข้าใจกว่าไปนั่งเรียนอีกค่ะ ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ[smile]
ใบหม่อน
6 กพ 55 15:45
ความเห็นที่ 22
บางบท ก็อาจเขียนคำอธิบายได้ยาวๆ
แต่บางบท ก็อาจเขียนสั้นไป จนอาจจะเข้าใจยาก
ถ้าเจอบทไหนที่อธิบายไม่ชัดเจน ก็ช่วยท้วงมาด้วยนะครับ [haha]
webmaster
6 กพ 55 18:00
ความเห็นที่ 23
ขอบพระคุณค่ะ T0T [huhu][smile]
pudding
7 กพ 55 23:51
ความเห็นที่ 24
ขอบคุณครับ
์ำNew
18 เมย 55 13:19
ความเห็นที่ 25
^^
webmaster
18 เมย 55 17:32
ความเห็นที่ 26
มีเนื้อหาที่ช่วยอธิบายได้มากเลยครับ แต่ผมเพิ่งหัดเรียนจึงลำบากในการอ่านคันจิอยู่ จึงอย่าให้เพิ่ม
ตัวฮิรางานะเข้าไปด้วยนะครับ เพื่อฝึกอ่านไปในตัว ขอบคุณมากนะครับ
sealine450@gmail.com
1 พค 55 14:52
ความเห็นที่ 27
ถ้าเพิ่มฮิรางานะ ก็จะต้องตัดโรมาจิทิ้งไป
ซึ่งถ้าตัดโรมาจิทิ้งไป ก็จะมีปัญหากับคนที่อ่านฮิรางานะ/คาตาคานะ ยังไม่เก่ง
ผมขออนุญาตแนะนำอย่างนี้ได้ไหมครับ
คันจิ ที่อยู่ในบทเรียนทั้ง 100 กว่าบท
ผมพยายามเลือกใช้คันจิพื้นฐาน ซึ่งมักจะใช้ในชีวิตประจำวันบ่อยๆ
หากเรียนไปซักพักหนึ่ง ก็จะต้องจำคันจิเหล่านี้แน่นอน
ดังนั้น เมื่อเห็นคันจิที่ไม่รู้จัก ในบทเรียน
อยากให้จำวิธีอ่านจากโรมาจิ พร้อมกับจำความหมายภาษาไทย และจำภาพคร่าวๆ ของคันจิตัวนั้นไว้
เมื่อเห็นคันจิตัวนั้นอีกในบทต่อๆไป หรือมีการทบทวนอ่านบทเรียนนี้อีก
ก็เท่ากับเป็นการฝึกจำคันจิทางอ้อมไปในตัว
ซึ่งอาจจะจำได้ โดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยเป็นโรมาจิหรือฮิรางานะเลยครับ
webmaster
2 พค 55 09:21
ความเห็นที่ 28
มีคำถาม่จะถามครับ ว่า ทำไม สมชาย ภาษาญี่ปุ่น ถึงอ่านว่า ソムチャイ (somuchai)
เป็นเฉพาะตัวอักษร ตัว M ใช่ไหมครับ รบกวนด้วยนะครับ สงสัยมาก ๆ
ทิวากาล
9 พค 55 16:21
ความเห็นที่ 29
มีคำถาม่จะถามครับ ว่า ทำไม สมชาย ภาษาญี่ปุ่น ถึงอ่านว่า ソムチャイ (somuchai)
เป็นเฉพาะตัวอักษร ตัว M ใช่ไหมครับ รบกวนด้วยนะครับ สงสัยมาก ๆ
ทิวากาล
9 พค 55 16:22
ความเห็นที่ 30
ภาษาญี่ปุ่นมีตัวอักษร และตัวสะกด เพียงไม่กี่ชนิด
จึงมักเขียนคำทับศัพท์ภาษาต่างชาติ ไม่ค่อยตรงเท่าไร
การเขียนชื่อคนไทย เป็นภาษาญี่ปุ่น ขึ้นอยู่กับว่า เจ้าตัวมีเจตนาอยากให้ออกเสียงเช่นไร อยากใช้แนวโรมาจิ หรืออยากให้ออกเสียงให้ตรงเป๊ะๆ
กรณีของ "สมชาย" มีให้เลือกหลายวิธีเช่น
1.ソンシャイ กรณีนี้ ตัว ん นำหน้าอักษรแถว「さ」จึงออกเสียงเป็น "น" คือคล้าย "โสะ-น-ไช" -> สนไช
2.ソンチャイ กรณีนี้ ตัว ん นำหน้าอักษรแถว「た」จึงออกเสียงเป็น "น" คือคล้าย "โสะ-น-ไจ" -> สนไจ
3.ソムシャイ กรณีนี้ จะออกเสียงเป็น "โสะ-มุ-ไช" -> สมมุไช
4.ソムチャイ กรณีนี้ จะออกเสียงเป็น "โสะ-มุ-ไจ" -> สมมุไจ
5.ソムシャーイ กรณีนี้ จะออกเสียงเป็น "โสะ-มุ-ชา-อิ" -> สมชาย
6.ソムチャーイ กรณีนี้ จะออกเสียงเป็น "โสะ-มุ-จา-อิ" -> สมจาย
กรณีที่ 1 และ 2 ถ้าไม่อยากให้ฟังตัวสะกดเป็น "น" ก็ต้องตัดทิ้งไป
กรณีที่ 5 และ 6 โดยส่วนตัว ผมแนะนำให้ตัดทิ้ง เพราะไม่ต้องการให้สะกดชื่อและนามสกุล ยาวจนรกรุงรังเกินไป อีกทั้งการลากเสียงยาวก็ไม่ได้เป็นสาระในการเรียกชื่อมากนัก เช่น ชื่อภาษาอังกฤษว่า Somchai ก็ไม่ได้เน้นการลากเสียงยาวอยู่แล้ว
จึงเหลือกรณีที่ 3 และ 4 แม้จะออกเสียงเป็น "โสมุ" แต่ก็ให้เสียงที่ใกล้เคียงกับ "สม" ได้ดีกว่า
การเลือกใช้ระหว่าง シャイ หรือ チャイ นั้น แม้ว่า シャイ จะออกเสียงเหมือน "ช.ช้าง" มากกว่า แต่เนื่องจากชื่อภาษาอังกฤษ คนไทยจะเขียนว่า somchai จึงควรใช้หลักการคีย์โรมาจิ คือใช้ チャイ จะปลอดภัยกว่า
มิฉะนั้น คนญีปุ่นจะงงว่า ชื่อคุณเขียนภาษาอังกฤษว่า chai แต่ทำไมเขียนภาษาญี่ปุ่นว่า シャイ
เพราะโดยทั่วไป เวลาจะทับศัพท์ คนญี่ปุ่นมักจะยึดแนวโรมาจิเป็นหลัก เช่น
shadow ทับศัพท์เป็น シャドー
charming ทับศัพท์เป็น チャーミング
ไม่ทราบว่า ผมตอบตรงกับคำถามหรือเปล่า .. ถ้าไม่ตรง สอบถามเพิ่มได้ครับ ^^
webmaster
10 พค 55 09:21
1<>7
pageviews 8,319,873