อ่าน 169,064 ครั้ง
มี 3 ประเภท คือ 1) ประโยคคำนาม 2) ประโยคคุณศัพท์ และ 3) ประโยคกริยา
ประธาน +は +คำนาม +です
ประธาน +は +คุณศัพท์ +です
ประธาน +が +กริยา +ます |
- 田中さん は 日本人 です
Tanakasan wa nihonjin desu
คุณทานากะเป็นคนญี่ปุ่นครับ/ค่ะ
- 私 は タイ人 です
Watashi wa taijin desu
ฉันเป็นคนไทยครับ/ค่ะ
- 私 は ソムチャイ です
Watashi wa somuchai desu
ผมชื่อสมชายครับ
- 大学生 です
Daigakusei desu
นักศึกษาครับ
- 象 は 大きい です
Zou wa ookii desu
ช้างใหญ่ครับ/ค่ะ
- ねずみ は 小さい です
Nezumi wa chiisai desu
หนูเล็กครับ/ค่ะ
- 桜 は きれい です
Sakura wa kirei desu
ซากุระสวยครับ/ค่ะ
- タイ人 は 親切 です
Taijin wa shinsetsu desu
คนไทยใจดีครับ/ค่ะ
- 子供 が 泣きます
Kodomo ga nakimasu
เด็กร้องไห้ครับ/ค่ะ
- 友達 が 来ます
Tomodachi ga kimasu
เพื่อนมาครับ/ค่ะ
- 本 が あります
Hon ga arimasu
หนังสืออยู่ครับ/ค่ะ
- 日本人 が 居ます
Nihonjin ga imasu
คนญี่ปุ่นอยู่ครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
- ประโยคในภาษาญี่ปุ่น มีโครงสร้างพื้นฐานคือ
โดยภาคประธานจะต้องเป็นคำนาม ส่วนภาคแสดงจะเป็นคำนาม คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาก็ได้
- หากมีคำขยายภาคประธานหรือภาคแสดง ก็จะวางคำขยายไว้ข้างหน้าภาคประธานหรือภาคแสดงนั้นๆ เช่น
- 「คำขยาย」「ประธาน」+「คำขยาย」「ภาคแสดง」
- การวางประธานหรือคำขยายในประโยค ปกติจะต้องใช้คำช่วยทุกครั้ง เพื่อชี้ว่าคำนามแต่ละตัวทำหน้าที่อย่างไรในประโยค
- は เฉพาะกรณีที่เป็นคำช่วย จะอ่านว่า wa เป็นคำช่วยเพื่อชี้หัวข้อเรื่อง ซึ่งบ่อยครั้งที่หัวข้อเรื่องจะเป็นประธาน ปกติจะใช้ในประโยคคำนาม ตามตัวอย่างที่ ①-④ และประโยคคุณศัพท์ ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑧
- です เป็นคำช่วยจบประโยคบอกเล่าอย่างสุภาพ แสดงการยืนยันหรือมั่นใจ ใช้ในประโยคคำนามและประโยคคุณศัพท์
- กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะไม่พูดทั้งประธานและ は ก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ 4 : (私は)大学生です : (ฉันเป็น) นักศึกษาครับ/ค่ะ
- が เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธาน ปกติจะใช้ในประโยคกริยา ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑫
- ます เป็นการผันคำกริยาให้เป็นคำสุภาพ เพื่อใช้จบประโยคบอกเล่าอย่างสุภาพ
- คำว่า あります ในตัวอย่างที่ ⑪ เป็นคำกริยาสุภาพ แปลว่า "อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น สิ่งของ และพืช
- คำว่า 居ます ในตัวอย่างที่ ⑫ เป็นคำกริยาสุภาพ แปลว่า "อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งมีชีวิต คือ คนและสัตว์
- ประโยค ~は~です และ ~が~ます เป็นสำนวนพื้นฐานที่จำเป็นมากที่สุดในการเรียนภาษาญี่ปุ่น จึงควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องชัดเจน ก่อนที่จะก้าวสู่บทต่อๆไป
อ่านตรงนี้หน่อย
- は และ が เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธานของประโยค ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้ แต่จะมีความหมายแตกต่างกัน คือจะเป็นการจำเพาะเจาะจงประธานมากกว่าปกติ ซึ่งจะอธิบายในภายหลังต่อไป
- です และ ます เป็นคำจบประโยคอย่างสุภาพ ใช้ได้ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน โดย です จะใช้กับคำนามและคำคุณศัพท์ ส่วน ますจะใช้กับคำกริยา
- ผู้ที่เริ่มศึกษาภาษาญี่ปุ่นควรใช้คำสุภาพ โดยจบประโยคด้วย です หรือะ ます ทุกครั้ง แต่จะต้องระวังไม่ให้สับสนกัน
- ในภาษาพูด มักจะออกเสียง です และ ます ให้กระชับ โดยออกเสียง です ว่า des และออกเสียง ます ว่า mas
- การเรียกชื่อคน เมื่อจะเรียกชื่อผู้อื่นให้เติมคำว่า さん เพื่อให้เกียรติ แต่หากเรียกชื่อตนเองไม่ต้องมีคำว่า さん เช่น
ตัวอย่างที่ ① : 田中さん は 日本人 です => พูดชื่อคนอื่น จึงต้องมีคำว่า さん เพื่อให้เกียรติ
ตัวอย่างข้อ ③ : 私 は ソムチャイ です => พูดถึงตนเอง จึงต้องไม่ใช้คำว่า さん มิฉะนั้นจะกลายเป็น "ผมชื่อคุณสมชาย"
- คำช่วย เป็นคำที่มีความสำคัญมากในภาษาญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อพูดประโยคยาวๆที่มีคำศัพท์หลายๆคำ เนื่องจากคำศัพท์แต่ละคำจะต้องมีคำช่วยต่อท้าย เพื่อให้ผู้ฟังทราบว่าคำศัพท์นั้นทำหน้าที่อะไรในประโยค
- ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาไวยากรณ์ญี่ปุ่น มักจะใช้คำช่วยผิดบ่อยๆ หรือบางคนก็จะไม่ใช้คำช่วยเลย จึงทำให้ไม่สามารถสื่อสารประโยคยาวๆกับคนญี่ปุ่นได้ อีกทั้งยังจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้ง่าย หรือสื่อสารไม่เข้าใจกัน ดังนั้น จึงควรฝึกฝนและใช้คำช่วยเสมอ
- วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ ② : Watashi wa taijin desu จะพูดว่า watashiwa taijindesu
พบ 64 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 11
ขอบคุณค่ะ แล้วจะมีสอนต่ออีกไหมค่ะ
nuiinaka@gmail.com
29 มีค 54 15:28
ความเห็นที่ 12
ดีจริงๆ เลยครับ ขอบคุณจริงๆ
ampsa
3 เมย 54 8:07:
ความเห็นที่ 13
มันมีเป็นหนังสือบ้างมั้ยค่ะ ?
อยากจะซื้อมาอ่านจัง ขอบคุณสำหรับข้อมูลทุกๆบทค่ะ ^^
Penguinhup
5 เมย 54 23:41
ความเห็นที่ 14
หนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นมีวางขายจำนวนมาก
คงหาได้ไม่ยากจากร้านหนังสือใหญ่ๆ ทุกแห่ง
บทเรียนที่เขียนในเว็บฯนี้ เป็นการเรียบเรียงและจัดลำดับการสอนขึ้นเอง
จึงอาจมีทั้งที่คล้ายๆกับหนังสือเล่มหรือ และมีส่วนที่ไม่คล้ายครับ
webmaster
5 เมย 54 22:53
ความเห็นที่ 15
ありがとう ございます。
เอม
20 เมย 54 11:00
ความเห็นที่ 16
ตรงคำศัพท์ของบทเรียนนี้ มีอยู่คำนึงเหมือนจะผิดน่ะค่ะ
高校生(こうこうせい) นักเรียนม.ปลาย
大学生(だいがくせい) นักศึกษา
Ari
24 กค 54 22:48
ความเห็นที่ 17
ขอบคุนมากค่า เข้าใจมากเลย
PUI
1 สค 54 20:21
ความเห็นที่ 18
ไม่เคยเรียนมาก่อนเลย พึ่งหัดเรียน งงมาก ๆ เรื่องหลักไวยกรณ์ จำไม่ได้ มีหลักในการจำบ้างไหมอ่านในหนังสือ みんなの 日本語 1 ขนาดไปเรียนในห้องเรียนมีทั้งอาจารย์ไทยและญี่ปุ่น
ขอบคุณมาก
พึ่งหัดเรียนภาษาญี่ปุ่น
28 สค 54 21:43
ความเห็นที่ 19
ต้องการให้เว็บแบบนี้อยู่กันไปนาน ๆ จังเลย
มือใหม่หัดเรียน
28 สค 54 22:00
ความเห็นที่ 20
ขอบคุณคุณ Ari (คห.16) ที่ช่วยท้วงข้อผิดพลาดครับ
webmaster
25 กย 54 13:17
1>7
pageviews 8,319,753