อ่าน 165,066 ครั้ง
คาตาคานะ
เป็นตัวอักษรที่ดัดแปลงจากตัวอักษรคันจิ โดยนำเส้นบางส่วนมาแสดงเท่านั้น เช่น
- ア (a) ดัดแปลงมาจากตัวอักษรคันจิ คือ 阿 ซึ่งออกเสียงว่า อะ หรือ
- イ (i) ดัดแปลงมาจากตัวอักษรคันจิ คือ 伊 ซึ่งออกเสียงว่า อิ เป็นต้น
คาตาคานะประกอบด้วยอักษรทั้งสิ้น 46 ตัว เช่นเดียวกับฮิรางานะ และมีวิธีการอ่านเช่นเดียวกับฮิรางานะทุกประการ โดยแต่ละตัวจะมีเสียงเฉพาะตัว และเมื่อนำคาตาคานะมาเรียงต่อกันเป็นคำ ก็ยังออกเสียงตามตัวอักษรนั้นๆ เช่น
- カ (ka) + メ (me) + ラ (ra) -- > カメラ (kamera)
ซึ่งเป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ คือ camera นั่นเอง
ปัจจุบัน คาตาคานะมักจะใช้เป็นอักษรที่แสดงคำทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศ ซึ่งคำศัพท์ดังกล่าวจะปรากฎในชีวิตประจำวันบ่อยครั้ง เช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ กล้อง ฯลฯ ตลอดจนชื่อประเทศ ชื่อเมือง และชื่อคนต่างชาติ เป็นต้น
ดังนั้น แม้ว่าในการเรียนภาษาญี่ปุ่นจะใช้ตัวอักษรอังกฤษ (โรมาจิ) และฮิรางานะ เป็นหลักก็ตาม แต่ก็มีความจำเป็นสำหรับชาวต่างชาติ ที่ต้องศึกษาวิธีการอ่านและเขียนคาตาคานะควบคู่กันไปด้วย
|
เสียง อะ |
เสียง อิ |
เสียง อุ |
เสียง เอะ |
เสียง โอะ |
แถว ア |
ア |
イ |
ウ |
エ |
オ |
a |
i |
u |
e |
o |
แถว カ |
カ |
キ |
ク |
ケ |
コ |
ka |
ki |
ku |
ke |
ko |
แถว サ |
サ |
シ |
ス |
セ |
ソ |
sa |
shi |
su |
se |
so |
แถว タ |
タ |
チ |
ツ |
テ |
ト |
ta |
chi |
tsu |
te |
to |
แถว ナ |
ナ |
ニ |
ヌ |
ネ |
ノ |
na |
ni |
nu |
ne |
no |
แถว ハ |
ハ |
ヒ |
フ |
ヘ |
ホ |
ha |
hi |
fu |
he |
ho |
แถว マ |
マ |
ミ |
ム |
メ |
モ |
ma |
mi |
mu |
me |
mo |
แถว ヤ |
ヤ |
|
ユ |
|
ヨ |
ya |
|
yu |
|
yo |
แถว ラ |
ラ |
リ |
ル |
レ |
ロ |
ra |
ri |
ru |
re |
ro |
แถว ワ |
ワ |
|
|
|
ヲ |
wa |
|
|
|
o |
|
ン |
n |
คำศัพท์คำเสียงควบ
พบ 48 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 11
ウ ที่มี tenten คือ ヴ ใช้สำหรับออกเสียงแทนตัว V
จะใช้ผสมกับ ァ,ィ,ゥ,ェ,ォ ตัวเล็ก เพื่อออกเสียงทับศัพท์คำว่า va, vi, vu, ve, vo
แต่ถ้าเห็น ヴ โดดๆ จะหมายถึงเสียง vu
คนไทยที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยตัว v ไม่แนะนำให้ใช้ ヴ ในการตั้งชื่อ
เพราะลิ้นของชาวญี่ปุ่นไม่ได้ออกแบบมาให้พูดเสียงนั้น
เอาง่ายๆแค่ใกล้เคียงก็พอ
วิธีคีย์ตัว ヴァ ก็กด va ได้เลย หรืออาจต้องกด space bar แปลงเป็นคาตาคานะด้วย
tenten ชื่อเป็นทางการ คือ dakuten .. แต่เรียก tenten ก็สื่อได้ตามปกติครับ
webmaster
30 พค 55 10:30
ความเห็นที่ 12
อ้อ เป็นอย่างนี้นี่เอง เฮ ในที่สุดปริศนาที่ยาวนานก็คลี่คลายแล้ว ขอบคุณมากเลยฮะ
Benz Domo
30 พค 55 11:12
ความเห็นที่ 13
\^^/
webmaster
30 พค 55 11:43
ความเห็นที่ 14
เมื่อวานลองเขียน ฮิรา ไป เพิ่งจะจำได้ขึ้นใจ พอมาหัดเขียน คาตา ตีกันมั่วเลยครับ
เสียงอ่านเหมือนกันอีก ประมาณ เขียนคาตา ปนกะ ฮิรา สลับไปมาวุ่นเลย
เว็ปมาสเตอร์มีวิธีจำำแบบง่ายๆรึเปล่าครับ หรือว่าผมต้องเขียนบ่อยๆไปเรื่อยๆครับ[seal][groggy]
Whiteknight
28 สค 55 13:51
ความเห็นที่ 15
แอดมินครับ สอบถามเพิ่มเติมครับ หากผมต้องการใช้ภาษาญี่ปุ่นในการติดต่อสื่อสาร
ผมจำเป็นต้องศึกษา คาตา คันจิ พวกนี้ทั้งหมดเลยหรือเปล่าครับ อยากสนทนาได้ แต่พอไปๆมาๆ เริ่มมึนๆ กะตัวอักษร ยิ่งไปหาอ่านภาษาญี่ปุ่น ยิ่งงงเข้าไปใหญ่ ถ้าผมจำศัพท์ไว้รวมประโยคเหมือนภาษาอังกฤษ จะได้เหมือนกันรึเปล่าครับ [question]
Whiteknight
28 สค 55 14:27
ความเห็นที่ 16
リトルエンッエル รบกวนผู้รู้ อ่านแปลให้หน่อย ขอบคุณมากครับ from pholpochana@hotmail.com
pholpochana
7 พย 55 10:21
ความเห็นที่ 17
ตอบคำถามที่ 14 : คุณ Whiteknight
ต้องขอโทษด้วยครับ ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น ทำไมผมไม่ทันเห็นคำถามนี้
ผ่านมาตั้ง 2 เดือนแล้ว ไม่ทราบว่าจะยังมีประโยชน์ไหม
■ การฝึกจำฮิรางานะ คาตาคานะ อาจจะลองใช้วิธีนี้ดูครับ
วันที่ 1 เขียนแถว「あ」ตัวละ 5 ครั้ง
วันที่ 2 เขียนแถว「あ」「か」ตัวละ 5 ครั้ง
วันที่ 3 เขียนแถว「あ」「か」「さ」ตัวละ 5 ครั้ง
วันที่ 4 เขียนแถว「か」「さ」「た」ตัวละ 5 ครั้ง
วันที่ 5 เขียนแถว「さ」「た」「な」ตัวละ 5 ครั้ง
วันที่ 6 เขียนแถว「た」「な」「は」ตัวละ 5 ครั้ง
วันที่ 7 เขียนแถว「は」「ま」「や」ตัวละ 5 ครั้ง
วันที่ 8 เขียนแถว「ま」「や」「ら」ตัวละ 5 ครั้ง
วันที่ 9 เขียนแถว「や」「ら」「わ」「ん」ตัวละ 5 ครั้ง
วันที่ 10 เขียนแถว「ら」「わ」「ん」ตัวละ 5 ครั้ง
วันที่ 11 เขียนแถว「わ」「ん」ตัวละ 5 ครั้ง
สรุปคืออักษรแต่ละตัว จะเขียนวันละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน ซึ่งเพียงพอในการจำ
- อักษรที่เขียนแล้ว ให้ตัดแปะไว้ตามที่ต่างๆ ให้เห็นบ่อยๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นความจำ
- ตัวไหนจำได้แน่นอนแล้ว จะเอากระดาษแปะทิ้งไปก็ได้ เพื่อให้เหลือเฉพาะตัวที่ยังจำไม่ค่อยแม่น
- จำนวน 3 วัน วันละ 5 ครั้ง เพิ่มลดได้ตามความสามารถของตนเอง
- ผ่านไปซัก 2 อาทิตย์ 1 เดือน 2 เดือน ลองเขียนให้ครบทุกตัว
- ถ้าเขียนได้ ก็คงไม่น่าจะลืมแล้ว
- แต่ยังต้องอ่านหนังสือญี่ปุ่นบ้าง ไม่ใช่ทิ้งไปเลย
- จะนำไปประยุกต์กับการจำคันจิ ก็ได้ครับ
------------------------
ตอบคำถามที่ 15
การจะเรียนภาษา ก็ต้องเริ่มจากการจำตัวอักษร
ฮิรางานะ คาตาคานะ ไม่กี่สัปดาห์ ก็จำได้หมดแล้ว
แต่คันจิ เรียนอีกสิบปี ก็อาจจะได้ไม่ถึงครึ่งนึง
"เรียนไปเพื่อการติดต่อสื่อสาร" ของแต่ละคน มีความหมายไม่เหมือนกัน
ถ้าตั้งเป้าไว้สูง ก็ต้องเรียนหนัก
แต่ตั้งเป้าไว้แค่พูดทักทาย ทานข้าวหรือยัง ก็ไม่ต้องจำตัวอักษร แต่ใช้วิธีท่องจำสำนวนไปเลยครับ
webmaster
7 พย 55 13:56
ความเห็นที่ 18
ตอบคำถามที่ 16
คำศัพท์ที่มี ッ(ตัวเล็ก) ต่อท้าย ン ไม่มีครับ
ถ้าคัดลอกมาไม่ผิด แหล่งที่มาก็คงผิดครับ
webmaster
7 พย 55 14:01
ความเห็นที่ 19
ไม่ทราบว่า
ー คือตัวอะไรคะ ในตารางไม่เห็นมีเลยคะ
ขอบคุณล่วงหน้านะคะ
papaphang
25 มีค 56 21:22
ความเห็นที่ 20
ー คือเครื่องหมายในการออกเสียงยาว เรียกว่า 長音符号(ちょうおんふごう)、長音符(ちょうおんぷ) หรือ 音引き(おんびき)
ใช้ต่อท้ายอักษรคาตาคานะ เพื่อเพิ่มความยาวของอักษรก่อนหน้านั้นอีก 1 ข่องเสียง เช่น ラーメン(ra-a-me-n)、ケーキ(ke-e-ki)、モーター(mo-o-ta-a) เป็นต้น ครับ
webmaster
26 มีค 56 09:59
1>5
pageviews 8,319,747