ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นไม่ยากอย่างที่คิด

อ่าน 167,590 ครั้ง

ฮิรางานะเป็นตัวอักษรสำหรับแสดงภาษาญี่ปุ่น ประกอบด้วยอักษรทั้งสิ้น 46 ตัว โดยแต่ละตัวจะมีเสียงเฉพาะตัวนั้นๆ เมื่อนำฮิรางานะมาเรียงต่อกันเป็นคำ ก็จะออกเสียงตามตัวอักษรนั้นๆ เช่น

に(ni) + ほ(ho) + ん(n) -- > にほん(nihon)

ซึ่งแตกต่างกับอักษรภาษาไทย (ก ข ค ..) หรืออังกฤษ (a b c ..) ซึ่งมีพยัญชนะและสระ และหากนำมาเรียงต่อกัน ก็จะได้เป็นคำซึ่งออกเสียงตามวิธีผสมอักษร

ฮิรางานะมีจำนวนไม่แตกต่างจากอักขระในภาษาไทยและภาษาอังกฤษมากนัก จึงใช้เวลาในการศึกษาจดจำไม่นาน แต่เนื่องจากเป็นอักษรที่ไม่คุ้นเคย ดังนั้น ในตำราเรียนภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติเกือบทั้งหมด จึงเริ่มสอนโดยการแทนฮิรางานะด้วยตัวอักษรด้วยภาษาอังกฤษ (โรมาจิ) หลังจากนั้น จึงจะเริ่มจำฮิรางานะ คาตาคานะ และคันจิ ตามลำดับ

เสียงของฮิรางานะ

ฮิรางานะมีเสียงสระ 5 เสียง คือ


A (อะ)

I (อิ)

U (อุ)

E (เอะ)

O (โอะ)

และประกอบด้วยแถวที่เป็นต้นเสียง 10 แถว คือ

あ = Aか = Kさ = Sた = Tな = N
は = Hま = Mや = Yら = Rわ = W

และตัวสะกด 1 ตัว คือ ん = n

เมื่อนำแถวที่เป็นต้นเสียง (10 แถว) มารวมกับเสียงสระ (5 เสียง) ฮิรางานะจึงควรจะมีทั้งสิ้น 50 ตัว

แต่ฮิรางานะบางตัว มีการออกเสียงเปลี่ยนไปตามกาลเวลา จนไปคล้ายกับเสียงของฮิรางานะตัวอื่น ทำให้ไม่สามารถแยกแยะได้

ในสมัยเอโดะจึงได้มีการยกเลิกฮิรางานะบางตัวที่ออกเสียงซ้ำกับตัวอื่นทิ้งไป ทำให้ปัจจุบัน ฮิรางานะในแถว や (Y) จึงมีเพียง 3 ตัว และแถว わ (W) มีเพียง 2 ตัว รวม 45 ตัว และรวมกับตัวสะกด ん (n) เป็น 46 ตัว

ดูวิธีอ่านออกเสียงฮิรางานะเป็นภาษาไทย ในบทที่ 6

เสียง อะ เสียง อิ เสียง อุ เสียง เอะ เสียง โอะ
แถว あ
a i u e o
แถว か
ka ki ku ke ko
แถว さ
sa shi su se so
แถว た
ta chi tsu te to
แถว な
na ni nu ne no
แถว は
ha hi fu he ho
แถว ま
ma mi mu me mo
แถว や
ya yu yo
แถว ら
ra ri ru re ro
แถว わ
wa o
 
n
เกร็ดความรู้

ตามความรู้สึกของคนไทย เสียงของแถว や (Y) จะออกเป็นเสียง "ย.ยักษ์" จึงไม่มีปัญหาในการออกเสียง ย ให้ครบทั้ง 5 เสียงสระ คือ ยะ ยิ ยุ เยะ โยะ

แต่ในความรู้สึกของคนญี่ปุ่น แถว や (Y) จะเริ่มการออกเสียงคล้ายกับเสียง อิ เมื่อจะออกเสียงให้ครบทั้ง 5 เสียงสระ จะเป็น (1) อิอะ = ยะ (2) อิอิ = อิ (3) อิอุ = ยุ (4) อิเอะ = เอะ (5) อิโอะ = โยะ

แถว や เสียงที่ 2 จึงเหมือนกับเสียงของฮิรางานะ い และแถว や เสียงที่ 4 จึงเหมือนกับเสียงของฮิรางานะ え ทำให้ฮิรางานะในแถว や ตัวที่ 2 และ 4 ถูกยกเลิกไป

ส่วนแถว わ เดิมทีน่าจะเริ่มออกเสียงคล้ายกับเสียง อุ ซึ่งเมื่อจะออกเสียงให้ครบทั้ง 5 เสียงสระ จะเป็น (1)อุอะ = วะ (2) อุอิ = อิ (3) อุอุ = อุ (4) อุเอะ = เอะ (5) อุโอะ = โอะ

แถว わ เสียงที่ 2, 3, 4, 5 จึงออกเสียงเหมือนกับฮิรางานะ い う え お และถูกยกเลิกไป

ยกเว้น を ที่แม้จะออกเสียงเหมือนกับ お แต่ด้วยเหตุผลทางภาษาศาสตร์ จึงยังรักษาอักษร を ซึ่งเป็นคำช่วย ไว้ตามเดิม

เสียงขุ่น (dakuon)

เป็นการเปลี่ยนเสียงโดยการเติมสัญญลักษณ์ เรียกว่า 濁点 (dakuten) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการตามรูปทรงของสัญญลักษณ์ว่า tenten หรือ chonchon ตามหลังอักษรในแถว 「か」 「さ」 「た」 「は」

หรือโดยวิธีเติมสัญญักษณ์ เรียกว่า 半濁点 (handakuten) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า maru ตามหลังอักษรในแถว 「は」 เพื่อให้เกิดเสียงที่เปลี่ยนไปจากเดิม

ดูวิธีอ่านออกเสียงขุ่น/กึ่งขุ่นเป็นภาษาไทย ในบทที่ 6

เสียง อะ เสียง อิ เสียง อุ เสียง เอะ เสียง โอะ
แถว か
ga gi gu ge go
แถว さ
za ji zu ze zo
แถว た
da ji tzu de do
แถว は
ba bi bu be bo
แถว は
pa pi pu pe po

เสียงควบ หรือเสียงเพี้ยน (youon)

คือการนำอักษรที่ออกเสียง 'i' เช่น き, し, ち, ..... มาผสมกับอักษรในแถว ya คือ や, ゆ, よ ที่แปลงรูปอักษรให้ตัวเล็กลงเป็น ゃ, ゅ, ょ เพื่อให้เกิดการออกเสียงควบกล้ำกันระหว่างสระ 2 ชนิด (เช่น i+a, i+u, i+o)

ดูวิธีอ่านออกเสียงควบเป็นภาษาไทย ในบทที่ 6

 き  きゃ きゅ きょ
kya kyu kyo
ぎゃ ぎゅ ぎょ
gya gyu gyo
しゃ しゅ しょ
sha shu sho
じゃ じゅ じょ
ja ju jo
ちゃ ちゅ ちょ
cha chu cho
ぢゃ ぢゅ ぢょ
ja ju jo
ひゃ ひゅ ひょ
hya hyu hyo
びゃ びゅ びょ
bya byu byo
ぴゃ ぴゅ ぴょ
pya pyu pyo

คำศัพท์คำเสียงควบ

พบ 57 ความเห็นในบทเรียนนี้

ความเห็นที่ 51
หลักเกณฑ์การออกเสียง がぎぐげご ในภาษากลาง คือ

1.หากอยู่ตัวแรกของคำศัพท์ จะออกเสียงขุ่น คือ g (เบื้องต้นจำว่า กะกิกุเกะโกะ ก็ได้)
2.หากไม่ใช่ตัวแรกของคำศัพท์ จะออกเป็นเสียงขุ่นนาสิก (鼻濁音 : bidakuon) ŋ (ออกเป็นเสียง ง.งู คือ งะงิงุเงะโงะ)

แต่มีข้อยกเว้นหลายอย่างเช่น
1) คำศัพท์ที่เขียนด้วยคาตาคานะที่ทับศัพท์มาจากภาษาต่างประเทศ จะออกเป็นเสียงขุ่นเสมอ แม้จะไม่ใช่ตัวแรกของคำศัพท์
2) เลข 5 คือ 五 (go) จะออกเป็นเสียงขุ่นเสมอ แม้จะไม่ใช่ตัวแรกของคำศัพท์ ยกเว้นคำประสมบางคำ เช่น คืนเดือนเพ็ญ (十五夜 : juugoya) จะออกเสียงขุ่นนาสิก
3) คำเลียนเสียง คำเลียนอาการ ที่ออกเสียงซ้ำกับตัวแรก จะไม่ออกเสียงขุ่นนาสิก เช่น gorogoro, gyaagyaa
4,5,6 .....

รายละเอียดตาม link ครับ
webmaster 12 มีค 58 07:51

ความเห็นที่ 52
[shy][smile]

ขอบคุณมากๆเลยนะคะ
เข้าใจมากขึ้นแล้วล่ะค่ะ [haha]
mikan 20 มีค 58 20:26

ความเห็นที่ 53
ยินดีครับ
webmaster 24 มีค 58 07:56

ความเห็นที่ 54
furui koto ga wasureru sorekara nihongo atarashii Benkyo desu.
จะลืมเรื่องเก่าๆแล้วจะเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นใหม่คะ
usagi 19 สค 58 11:00

ความเห็นที่ 55
korekara yoroshiku onegaishimasu
usagi 19 สค 58 11:01

ความเห็นที่ 56
ยินดีครับ
webmaster 19 สค 58 16:34

ความเห็นที่ 57
[seal][groggy][groggy]
???????? 25 ธค 63 18:49

1<

pageviews 8,320,661