อ่าน 159,862 ครั้ง
คำคุณศัพท์เป็นคำที่อธิบายลักษณะของคำนาม จะวางไว้หน้าคำนามที่ต้องการอธิบาย
คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 จะลงท้ายด้วย い หากจะเปลี่ยนเป็นรูปปฏิเสธ จะเปลี่ยน い เป็น く แล้วตามด้วย ない
ฟอร์มปกติ
คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 ~い +คำนาม
ฟอร์มปฏิเสธ
คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 ~く +ない +คำนาม
富士山 は 大きい 山 です。 Fujisan wa ookii yama desu ภูเขาฟูจิเป็นภูเขาใหญ่ครับ/ค่ะ
天保山 は 大きくない 山 です。 Tenpozan wa ookikunai yama desu ภูเขาเทมโปเป็นภูเขาไม่ใหญ่ครับ/ค่ะ
ライオン は 怖い 動物 です。 Raion wa kowai doubutsu desu สิงห์โตเป็นสัตว์ที่น่ากลัวครับ/ค่ะ
猫 は 怖くない 動物 です。 Neko wa kowakunai doubutsu desu แมวเป็นสัตว์ที่ไม่น่ากลัวครับ/ค่ะ
これ は 白い 犬 です。 Kore wa shiroi inu desu นี่คือสุนัขขาวครับ/ค่ะ
あれ は 白くない 犬 です。 Are wa shirokunai inu desu โน่นคือสุนัขไม่ขาวครับ/ค่ะ
あなた の ペット は 黒い 犬 です か。 Anata no petto wa kuroi inu desu ka สัตว์เลี้ยงของคุณคือสุนัขดำหรือครับ/ค่ะ
いいえ、私 の ペット は 黒くない 犬 です。 Iie, watashi no petto wa kurokunai inu desu ไม่ใช่ สัตว์เลี้ยงของฉันคือสุนัขไม่ดำครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
คำคุณศัพท์ คือ คำที่อธิบายลักษณะของคำนามว่าเป็นอย่างไร เช่น สูง ต่ำ ดำ ขาว ฯลฯ
คำคุณศัพท์ในกลุ่มที่ 1 จะลงท้ายด้วย い และสามารถนำไปวางไว้ข้างหน้าคำนาม เพื่อขยายคำนามได้โดยไม่ต้องมีคำช่วย เช่น
大きい 山 (ookii yama) -> ภูเขาใหญ่
高い 山 (takai yama) -> ภูเขาสูง
คำคุณศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นจะอยู่หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น いい人 (ii hito) -> คนดี
ซึ่งตรงข้ามกับภาษาไทยที่คำคุณศัพท์จะอยู่หลังคำนามที่ต้องการขยาย
การเปลี่ยนคำคุณศัพท์ให้อยู่ในรูปปฏิเสธ ทำได้โดยเปลี่ยนคำว่า い เป็น く แล้วเติม ない เช่น
大きくない 山 (ookikunai yama) -> ภูเขาไม่ใหญ่
高くない 山 (takakunai yama) -> ภูเขาไม่สูง อ่านตรงนี้หน่อย
富士山 อ่านว่า Fujisan ไม่ใช่ฟูจิยามา เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยมีความสูง 3,776 เมตร เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับสนิท
天保山 (Tenpozan) เป็นภูเขาที่เตี้ยที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยมีความสูงเพียง 4.53 เมตร หรือเท่ากับบ้าน 2 ชั้น สร้างขึ้นเมื่อปี คศ.1831 ด้วยดินทรายที่ได้จากการขุดลอกแม่น้ำลำคลองในเมืองโอซากาเพื่อป้องกันน้ำท่วมและเพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่เข้าเทียบท่าเรือโอซากาได้
โพสต์ความเห็น
พบ 28 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 1
ARIGATO
TORI
6 สค 53 14:43
ความเห็นที่ 2
ไล่อ่าน มาจนถึงตรงนี้ชักจะเริ่มยากจริงๆแล้วฮัพ แต่สู้ๆฮาฟฟ
ขอบคุณนะฮัพ
a8j
17 กย 54 22:18
ความเห็นที่ 3
หายไปนานเลย เรียนหนักจนมึนเลยทีเดียว ฮ่ะๆๆ เอ่อ มีคำถามอะครับ
คิดว่าหมวดนี้น่าจะถูกล่ะนะ เพราะเป็นคำคุณศัพท์
คือผมสงสัยว่าคำคุณศัพท์นี่ เอาไว้หน้าคำนามอย่างเดียวเหรอครับ แบบว่าสงสัยจุดนึงคือ
ระหว่าง
大きい山 กับ やまがおおきい นี่มันต่างกันยังไงเหรอครับ หรือจำพวก
おいしいたべもの กับ たべものがおいしい ประมาณนี้ ต่างกันยังไงเหรอครับ
แล้วความหมายมันเหมือนกันมั้ย ใช้ยังไงเหรอครับ
พอดีว่าตอนเรียนอยู่เค้าให้แต่งประโยคโดยใช้ し เชื่อมเพื่อบอกเล่าเรื่องราว
แล้วผมก็แต่งว่า
タイはおいしいたべものだし、べんりだし、とてもいいです。
แล้วมันผิด จารย์ญี่ปุ่นเค้าก็แก้ให้เป็น
タイはたべものがおいしいし、べんりだし、とてもいいです。
เลยสงสัยน่ะครับว่ามันต่างกันอย่างไรระหว่างประโยคสองแบบนี้ คือที่จริงผมก็รู้สึกตะหงิดๆ
กับแบบแรกเหมือนกัน (หลังจากจารย์เค้าแก้ให้น่ะนะ) เลยสงสัยน่ะครับ
เรียนหนักจนลืมเรื่องเ่ก่าๆไปล่ะ สงสัยต้องไล่ทวนตั้งแต่บทแรกๆ ฮ่ะๆๆ
รบกวนด้วยครับผม [roll]
Benz Domo
5 กย 55 11:45
ความเห็นที่ 4
大きい山 เป็นคำ(วลี) แปลว่า ภูเขาที่ใหญ่ = a big mountain
山が大きい เป็นประโยค แปลว่า ภูเขาใหญ่ = The mountain is big
タイはおいしい食べ物だし、べんりだし、とてもいいです
แตกเป็น 3 ประโยคคือ
1.タイはおいしい食べ物だ = ประเทศไทยคืออาหารอร่อย ⇒ ผิด
2.タイはべんりだ = ประเทศไทยสะดวก ⇒ ok
3.タイはとてもいいです = ประเทศไทยดีมาก ⇒ ok
อาจารย์ก็เลยแก้ประโยคที่ 1 เป็น
タイは食べ物がおいしい = ประเทศไทย อาหารอร่อย
⇒ ลองทบทวนประโยค [หัวข้อเรื่อง]+は+[ประธาน]+が+[คุณศัพท์]+です ในบทที่ 40
และประโยค [ประธาน]+は+[คุณศัพท์]+です ในบทที่ 7 ดูนะครับ
webmaster
5 กย 55 12:33
ความเห็นที่ 5
อ๋อ อย่างนี้นี่เอง ขอบคุณมากครับ เท่าที่จำได้ ผมก็เรียนแค่รูป ประธาน + は + คุณศัพท์
เองอะครับ รูป 「หัวข้อเรื่อง」+ は +「ประธาน」+ が +「คุณศัพท์」+ です
อันนี้ไม่ได้เรียน ฮ่ะๆๆ
(แบบว่าเค้าก็สอนให้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้น่ะครับ อยู่ๆเลย
ยกรูปนี้มาแล้วสอน ผมก็เรียนตามนั้นไป แต่เวลาตัวเองแต่งประโยคก็ชอบเสริมนู่นนี่บ่อยๆ
กลายเป็นว่าประโยคบางอันยังไม่รู้ก็ใส่ไปงั้นเลย เลยผิดบ้างประจำ ฮ่ะๆๆ)
เรียนบริหารแต่ญี่ปุ่นเน้นหนักก็เป็นอย่างนี้ล่ะนะ ฮ่ะๆๆ สงสัยต้องมาเรียนที่นี่ภาคค่ำและ
อิอิอิ ขอบคุณมากเลยครับผม จากนี้รู้สึกจะเริ่มยากขึ้นทุกที คงต้องขอรบกวนบ่อยล่ะครับ
ตอนนี้ก็เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างสองประโยคนี้และ สุดยอดจริงๆ ถ้าไม่สังเกตุก็
ผิดเลยนะเนี่ย ขอบคุณเว็บมาสเตอร์มากเลยครับ [smile]
Benz Domo
5 กย 55 13:24
ความเห็นที่ 6
ยินดีครับ
การสอนให้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี ก็คือ สื่อสารได้เร็ว เพราะใช้วิธีท่องจำ ไม่ต้องสนใจไวยากรณ์เท่าไร
แค่เปลี่ยนคำศัพท์ไปเรื่อยๆ ก็พูดไปได้เรื่อยๆ
ข้อเสีย ก็คือ ไวยากรณ์ไม่แน่น
ในอนาคตจะแต่งประโยคยาวๆที่ซับซ้อนไม่ได้
แต่คนละ มีเป้าหมายต่างกัน ก็ควรเลือกวิธีเรียนที่สอดคล้องกับเป้าหมาย
สมมุติว่า จะจำแค่พอให้พูดรู้เรื่อง ⇒ จะไม่ใช้คำช่วยเลยก็ได้
タイ 食べ物 おいしい、べんり、とてもいい
พูดแค่นี้ คนญี่ปุ่นก็เข้าใจครับ [green]
webmaster
5 กย 55 17:56
ความเห็นที่ 7
ก็คงจะเป็นอย่างนั้นล่ะครับ แต่ผมอยากเรียนแบบว่ารู้ลึกถึงเนื้อในทั้งหมดของภาษาญี่ปุ่นมากกว่า
แบบว่าชอบน่ะ ปกติเป็นคนไม่ค่อยสนอะไร มีแต่ญี่ปุ่นนี่ล่ะที่อยากลอง คงต้องรบกวนเว็บนี้บ่อยๆ
เพราะเนื้อหาสุดยอดจริงๆ ขอบคุณเว็บมาสเตอร์มากมายที่ทำเว็บดีดี แล้วก็คอยตอบคำถาม
ของคนที่สงสัยในภาษาญี่ปุ่น (อย่างผมงี้ อิอิอิ) จากนี้ไปรบกวนด้วยครับ [smile]
Benz Domo
5 กย 55 20:09
ความเห็นที่ 8
1.ถ้าจะเรียนให้รู้ลึกรู้จริง ก็ต้องยอมเสียเวลาหน่อย
เพื่อนๆพูดแบบท่องจำไปถึงไหนต่อไหนแล้ว แต่เราต้องมานั่งศึกษาไวยากรณ์อยู่
แต่ถ้ายังไม่หมดแรงเสียก่อน รับรองว่าเมื่อไปถึงจุดนึง เราจะแซง และแซงแบบขาดเลย
2.เรื่องตอบคำถาม ไม่เกี่ยงเลย
เพราะมันเป็นการทำให้เนื้อหาในบทเรียนแน่นมากยิ่งขึ้นครับ [haha]
webmaster
6 กย 55 10:52
ความเห็นที่ 9
ขอถามหน่อยนะครับ ก็ไม่รู้ว่ามันเป็นคำถามที่ควรจะถามหรือเปล่า แต่สงสัยน่ะครับ
คำคุณศัพท์ทั้งกลุ่ม na และกลุ่ม i นั้น มันมีรูป "ธรรมดา" ด้วยเหรอครับ แล้วรูปปกติของมัน
ไม่ใช่รูปธรรมดาเหรอครับ หรือว่ารูปปกติๆของมันนี่แหละคือรูปธรรมดา
คือพอเรียนไปเยอะเข้า เริ่มสับสนน่ะครับเพราะบางทีก็ผันรูปไปเยอะจนงง ง่ายๆก็เช่น
คำกลุ่ม na บางทีการผันมันก็ลงท้ายด้วย da หรือ na
สรุปง่ายๆก็คือว่า คำคุณศัพท์ทั้ง i ทั้ง na นั้น มีรูปธรรมดากับรูปปกติ หรือว่าสองรูปนี้คือ
รูปเดียวกันครับ รบกวนด้วยครับผม [shock]
Benz Domo
3 ตค 55 19:35
ความเห็นที่ 10
คำคุณศัพท์กลุ่ม い ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 形容詞 (keiyoushi : คำคุณศัพท์)
ถ้าใช้คำเดียวโดดๆ ในภาษาพูดจะลงท้ายด้วย い ในภาษาเขียนจะลงท้ายด้วย し
เวลาผัน จะเปลี่ยนส่วนท้าย เป็นรูปต่างๆ เช่น -かろ, -かっ, -く, -い, -けれ
คำคุณศัพท์กลุ่ม な ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 形容動詞 (keiyoudoushi : คำกริยาคุณศัพท์)
ถ้าใช้คำเดียวโดดๆ ในภาษาพูดจะลงท้ายด้วย だ ในภาษาเขียนจะลงท้ายด้วย なり หรือ たり
เวลาผัน จะเปลี่ยนส่วนท้าย เป็นรูปต่างๆ เช่น -だろう, -だっ, -で, -に, -だ, -な, -なら
หน้าที่การใช้งานของคำทั้ง 2 ชนิดนี้ "เหมือนกัน"
คือเป็นคำคุณศัพท์ ทำหน้าที่อธิบายลักษณะหรือสภาพของสิ่งของหรือเรื่องราว
จะแตกต่างกันเพียงวิธีการผัน ตามที่เขียนไว้ข้างต้นเท่านั้น
รูปธรรมดาหรือรูปปกติ ให้เข้าใจว่าเป็นรูปเดียวกัน คือ รูปที่ใช้สำหรับเปิดดิค ดีกว่าครับ
เพราะรูปที่มีการผันแล้ว เช่น 大きく หรือ きれいな หรือ きれいだ จะเปิดดิคไม่พบครับ
webmaster
3 ตค 55 20:35
1 2 3 > 3
pageviews 8,413,731
Top