อ่าน 161,609 ครั้ง
~ます เป็นคำกริยาในรูปคำสุภาพ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
ประธาน +が +กริยา | +ます (ประโยคบอกเล่า) +ません (ประโยคปฏิเสธ) +ますか (ประโยคคำถาม) +ませんか (ประโยคปฏิเสธที่เป็นคำถาม) |
- お父さん が 働きます。
Otousan ga hatarakimasu
คุณพ่อทำงานครับ/ค่ะ
- お兄さん が 働きません。
Oniisan ga hatarakimasen
พี่ชายไม่ทำงานครับ/ค่ะ
- お母さん が 働きます か。
Okaasan ga hatarakimasu ka
คุณแม่ทำงานไหมครับ/ค่ะ
- お姉さん が 働きません か。
Oneesan ga hatarakimasen ka
พี่สาวไม่ทำงานหรือครับ/ค่ะ
- お父さん が 散歩 します。
Otousan ga sanpo shimasu
คุณพ่อเดินเล่นครับ/ค่ะ
- お母さん が 散歩 しません。
Okaasan ga sanpo shimasen
คุณแม่ไม่เดินเล่นครับ/ค่ะ
- 弟 が 散歩 します か。
Otouto ga sanpo shimasu ka
น้องชายเดินเล่นไหมครับ/ค่ะ
- 妹 が 散歩 しません か。
Imouto ga sanpo shimasen ka
น้องสาวไม่เดินเล่นหรือครับ/ค่ะ
ชนิดของคำกริยา
คำกริยาสามารถแบ่งออกได้หลายวิธี เช่น
1. แบ่งตามประเภทและหน้าที่
-
อกรรมกริยา
คือ คำกริยาที่ผลการกระทำเกิดอยู่ประธานเท่านั้น ไม่ส่งผลที่เกิดกับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น เช่น ฝนตก (雨が降る : ame ga furu) พระอาทิตย์ตก (太陽が沈む : taiyou ga shizumu) ดอกไม้บาน (花が咲く : hana ga saku)
-
สกรรมกริยา
คือ คำกริยาที่ผลการกระทำเกิดขึ้นโดยตรงกับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น รวมถึงการทำหรือสร้างให้เกิดของใหม่ขึ้นด้วย เช่น อ่านหนังสือ (本を読む : hon o yomu) ร้องเพลง (歌を歌う : uta o utau) ปลูกบ้าน (家を建てる : ie o tateru) เลี้ยงลูก (子供を育てる : kodomo o sodateru) ชกฝ่ายตรงข้าม (相手を殴る : aite o naguru) ชมนักเรียน (生徒を褒める : seito o homeru) จับขโมย (泥棒を捕まえる : dorobou o tsukamaeru)
คำกริยากลุ่มนี้ปกติจะใช้คำช่วยคือ を เพื่อชี้ว่าผลการกระทำเกิดขึ้นกับบุคคลหรือสิ่งใด
2. แบ่งตามการผันรูป
คำกริยาสามารถผันให้อยู่ในฟอร์มต่างๆ เช่น ฟอร์มปกติ ฟอร์มสุภาพ ฟอร์มปฏิเสธ ฟอร์มอดีต ฯลฯ
การแบ่งกลุ่มตามการผันรูปนี้จะอธิบายในบทอื่นภายหลังต่อไป
3. แบ่งตามคำตามท้าย
-
คำกริยาปกติ
เป็นคำกริยาพื้นฐานทั่วไป ซึ่งปกติจะใช้ตัวคันจิเพียง 1 ตัว เช่น 食べます (tabemasu : ทาน) 行きます (ikimasu : ไป) 働きます (hatarakimasu : ทำงาน)
-
คำกริยาที่ตามท้ายด้วย する(します)
เป็นคำกริยาที่ส่วนใหญ่มักสร้างขึ้นจากคันจิ 2 ตัว และตามท้ายด้วย する(します) ซึ่งหากตัดคำว่า する(します) ออก คำที่เหลืออยู่จะมีสถานะเป็นคำนามและส่วนใหญ่ยังคงความหมายเดิม
นอกจากนี้คำกริยากลุ่มนี้ยังสามารถสร้างใหม่เพิ่มเติมขึ้นใหม่ให้เข้ากับยุคสมัย และสามารถนำคำทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศมาใช้ได้อีก ทำให้คำศัพท์ในกลุ่มนี้มีปริมาณมากมายมหาศาล
ตัวอย่างคำกริยาที่ตามท้ายด้วย する (します)
คำกริยา | ความหมาย | คำนาม | ความหมาย |
勉強する (benkyou suru) | เรียน | 勉強 (benkyou) | การเรียน |
電話する (denwa suru) | พูดโทรศัพท์ | 電話 denwa) | เครื่องโทรศัพท์ |
運転する (unten suru) | ขับรถ | 運転 (unten) | การขับขี่ |
質問する (shitsumon suru) | ถาม | 質問 (shitsumon) | คำถาม |
回答する (kaitou suru) | ตอบ | 回答 (kaitou) | คำตอบ |
食事する (shokuji suru) | ทานอาหาร | 食事 (shokuji) | อาหาร |
結婚する (kekkon suru) | แต่งงาน | 結婚 (kekkon) | การแต่งงาน |
帰宅する (kitaku suru) | กลับบ้าน | 帰宅 (kitaku) | การกลับบ้าน |
修理する (shuuri suru) | ซ่อม | 修理 (shuuri) | การซ่อม |
心配する (shinpai suru) | เป็นห่วง | 心配 (shinpai) | ความห่วงไย |
出発する (shuppatsu suru) | ออกเดินทาง | 出発 (shuppatsu) | การออกเดินทาง |
作成する (sakusei suru) | สร้าง | 作成 (sakusei) | การสร้าง |
生産する (seisan suru) | ผลิต | 生産 (seisan) | การผลิต |
確認する (kakunin suru) | ตรวจสอบ | 確認 (kakunin) | การตรวจสอบ |
横断する (oudan suru) | ข้าม | 横断 (oudan) | การข้าม |
開放する (kaihou suru) | เปืดกว้าง | 開放 (kaihou) | การเปิด |
開閉する (kaihei suru) | เปิดปิด | 開閉 (kaihei) | การเปิดปิด |
テストする (tesuto suru) | ทดสอบ | テスト (tesuto) | การสอบ |
アクセスする (akusesu suru) | ติดต่อ | アクセス (akusesu) | การติดต่อ |
メールする (meeru suru) | ส่งเมล์ | メール (meeru) | อีเมล์ |
プリントする (purinto suru) | พิมพ์ | プリント (purinto) | การพิมพ์ |
コピーする (kopii suru) | ถ่ายสำเนา | コピー (kopii) | สำเนาคู่ฉบับ |
タッチする (tatchi suru) | สัมผัส | タッチ (tatchi) | การสัมผัส |
キックする (kikku suru) | เตะ | キック (kikku) | การเตะ |
パンチする (panchi suru) | ต่อย | パンチ (panchi) | หมัด |
อ่านตรงนี้หน่อย
- ประโยคปฏิเสธที่เป็นคำถาม ~ませんか สามารถใช้ในความหมายเชิญชวนได้ด้วย โดยการเปลี่ยนคำช่วยจาก は หรือ が เป็น も เช่น
- กรณีปกติ
田中さん が 散歩 しません か
Tanakasan ga sanpo shimasen ka
คุณทานากะไม่เดินเล่นหรือครับ/ค่ะ
- กรณีชักชวน
田中さん も 散歩 しません か
Tanakasan mo sanpo shimasen ka
คุณทานากะไม่เดินเล่นด้วยกันหรือครับ/ค่ะ
=> กรณีนี้ ผู้พูดกำลังเดินเล่นอยู่ หรือกำลังจะไปเดินเล่น จึงชักชวนให้คุณทานากะไปเดินเล่นด้วย
พบ 31 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 11
ไมค่อยแน่ใจนะครับ
ตำรานั้นอาจหมายความว่า "คำนาม" ที่จะใช้ในรูป 「คำนาม + shimasu」 จะเป็น "อาการนาม"
คือ เป็นคำนามเกี่ยวกับสภาพ หรืออาการ ไม่ใชคำนามที่เป็นคน สัตว์ สิ่งของ ฯ ทำนองนั้นหรือเปล่าครับ
「คำนาม + shimasu」 ไม่ใช่คำนาม แต่มีสถานะเป็นคำกริยาผสม (複合動詞 : fukugou doushi) 1 คำ ครับ
webmaster
19 สค 56 11:53
ความเห็นที่ 12
ขอขอบคุณมากคะ
yui frb
20 สค 56 17:26
ความเห็นที่ 13
ยินดีครับ
webmaster
24 สค 56 11:37
ความเห็นที่ 14
เข้ามาอ่านอีกรีบหลังจากที่ไม่ได้อ่านนาน เลยถือโอกาสมาคอมเมนต์ให้ด้วยอ่าค่ะ พอดีใกล้สอบ จากที่ไปติวมาก็ใช้เว็บนี้ทบทวน ปอจะเอาเกรด A ขอบคุณค่ะ [clap][clap][clap]
โอปอล์
14 พย 56 19:37
ความเห็นที่ 15
ถ้าได้ A อย่าลืมเอามาอวดนะครับ [haha]
webmaster
14 พย 56 19:53
ความเห็นที่ 16
ค่ะ ^^
โอปอล์
17 พย 56 09:51
ความเห็นที่ 17
อยากทราบวิธีแปลคำกริยา2คำต่อกันว่ามีหลักการแปลอย่างไร เช่น 考え込む、 やり取る 、切り替える、見合わせる ฯลฯ เหล่านี้ ซึ่งเท่าที่สังเกตุดูจะลงด้วยกริยาตัวหลังเหมือนๆกัน เป็นกลุ่มๆไป ซึ่งมักจะมีความหมายต่างจากกริยาตัวโดดตอนที่มันแยกกันอยู่ แบบว่าเดาความหมายเมื่อมาผสมกันแล้วไม่ถูก อีกอย่างคือแปลจากกริยาตัวแรกก่อนหรือเปล่า (เดาเองว่า เช่น 切り替える=ตัดเปลี่ยน??)
...สงสัยมานานแล้ว
ขอบคุณมากๆ
พงศกร
19 มค 57 22:35
ความเห็นที่ 18
คำกริยาบางคำ สามารถใช้ต่อท้ายคำกริยาอื่น เพื่อสร้างคำผสม ในรูป V1V2
กรณีเช่นนี้ให้จำความหมายของกริยาตัวหลัง (V2) เป็นหลัก เพราะตัวแรกจะมีความหมายเดิม แต่ตัวที่จะมีความหมายเปลี่ยนไปคือตัวหลัง เช่น
込む แปลว่า แน่น
~こむ แปลว่า เข้าข้างใน ใส่ข้างใน คงสภาพเดิม ทำให้สุดๆ เช่น
飛び込む กระโดดเข้าไปข้างใน
詰め込む อัด(บรรจุ)เข้าไป
考え込む ครุ่นคิด(อยู่อย่างนั้น)
教え込む สอนให้สุดๆ ครับ
webmaster
20 มค 57 22:38
ความเห็นที่ 19
ขอบคุณมากๆ ที่ให้หลักการแปลมา ขอบกวนอีกนิดช่วยแนะนำว่ามีหนังสือรวบรวมความหมายของ複合動詞เป็นภาษาไทยหรือไม่ อยากซื้อมาศึกษา ไม่เช่นนั้นคงต้องถามเป็นครั้งๆไปเช่นนี้ หรือเดาๆเอาอย่างที่ทำมา (อึดอัดและไม่มั่นใจมาตลอด)ขอบคุณล่วงหน้า ขอบคุณจริงๆ
พงศกร
26 มค 57 15:32
ความเห็นที่ 20
เรื่องหนังสือนี่ไม่ทราบเลยครับ
แต่ถ้าสงสัยคำไหน ถามในบทนี้ก็ได้ครับ เผื่อวันหลังผมจะได้รวมเป็นหัวข้อ หรือเอาไปโพสต์ต่อในเฟสบุคครับ ^^
webmaster
27 มค 57 18:26
1>4
pageviews 8,319,881