ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นไม่ยากอย่างที่คิด

อ่าน 161,608 ครั้ง

~ます เป็นคำกริยาในรูปคำสุภาพ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ

ประธาน +が +กริยา+ます (ประโยคบอกเล่า)
+ません (ประโยคปฏิเสธ)
+ますか (ประโยคคำถาม)
+ませんか (ประโยคปฏิเสธที่เป็นคำถาม)

  1. お父さん が 働きます
    Otousan ga hatarakimasu
    คุณพ่อทำงานครับ/ค่ะ
  2. お兄さん が 働きません
    Oniisan ga hatarakimasen
    พี่ชายไม่ทำงานครับ/ค่ะ
  3. お母さん が 働きます か。
    Okaasan ga hatarakimasu ka
    คุณแม่ทำงานไหมครับ/ค่ะ
  4. お姉さん が 働きません か
    Oneesan ga hatarakimasen ka
    พี่สาวไม่ทำงานหรือครับ/ค่ะ

  1. お父さん が 散歩 します
    Otousan ga sanpo shimasu
    คุณพ่อเดินเล่นครับ/ค่ะ
  2. お母さん が 散歩 しません
    Okaasan ga sanpo shimasen
    คุณแม่ไม่เดินเล่นครับ/ค่ะ
  3. 弟 が 散歩 します か。
    Otouto ga sanpo shimasu ka
    น้องชายเดินเล่นไหมครับ/ค่ะ
  4. 妹 が 散歩 しません か
    Imouto ga sanpo shimasen ka
    น้องสาวไม่เดินเล่นหรือครับ/ค่ะ

ชนิดของคำกริยา

คำกริยาสามารถแบ่งออกได้หลายวิธี เช่น

1. แบ่งตามประเภทและหน้าที่

  1. อกรรมกริยา
    คือ คำกริยาที่ผลการกระทำเกิดอยู่ประธานเท่านั้น ไม่ส่งผลที่เกิดกับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น เช่น ฝนตก (雨が降る : ame ga furu) พระอาทิตย์ตก (太陽が沈む : taiyou ga shizumu) ดอกไม้บาน (花が咲く : hana ga saku)
  2. สกรรมกริยา
    คือ คำกริยาที่ผลการกระทำเกิดขึ้นโดยตรงกับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น รวมถึงการทำหรือสร้างให้เกิดของใหม่ขึ้นด้วย เช่น อ่านหนังสือ (本を読む : hon o yomu) ร้องเพลง (歌を歌う : uta o utau) ปลูกบ้าน (家を建てる : ie o tateru) เลี้ยงลูก (子供を育てる : kodomo o sodateru) ชกฝ่ายตรงข้าม (相手を殴る : aite o naguru) ชมนักเรียน (生徒を褒める : seito o homeru) จับขโมย (泥棒を捕まえる : dorobou o tsukamaeru)
    คำกริยากลุ่มนี้ปกติจะใช้คำช่วยคือ を เพื่อชี้ว่าผลการกระทำเกิดขึ้นกับบุคคลหรือสิ่งใด

2. แบ่งตามการผันรูป

คำกริยาสามารถผันให้อยู่ในฟอร์มต่างๆ เช่น ฟอร์มปกติ ฟอร์มสุภาพ ฟอร์มปฏิเสธ ฟอร์มอดีต ฯลฯ การแบ่งกลุ่มตามการผันรูปนี้จะอธิบายในบทอื่นภายหลังต่อไป

3. แบ่งตามคำตามท้าย

  1. คำกริยาปกติ
    เป็นคำกริยาพื้นฐานทั่วไป ซึ่งปกติจะใช้ตัวคันจิเพียง 1 ตัว เช่น 食べます (tabemasu : ทาน) 行きます (ikimasu : ไป) 働きます (hatarakimasu : ทำงาน)
  2. คำกริยาที่ตามท้ายด้วย する(します)
    เป็นคำกริยาที่ส่วนใหญ่มักสร้างขึ้นจากคันจิ 2 ตัว และตามท้ายด้วย する(します) ซึ่งหากตัดคำว่า する(します) ออก คำที่เหลืออยู่จะมีสถานะเป็นคำนามและส่วนใหญ่ยังคงความหมายเดิม
    นอกจากนี้คำกริยากลุ่มนี้ยังสามารถสร้างใหม่เพิ่มเติมขึ้นใหม่ให้เข้ากับยุคสมัย และสามารถนำคำทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศมาใช้ได้อีก ทำให้คำศัพท์ในกลุ่มนี้มีปริมาณมากมายมหาศาล

ตัวอย่างคำกริยาที่ตามท้ายด้วย する (します)

คำกริยาความหมายคำนามความหมาย
勉強する (benkyou suru)เรียน勉強 (benkyou)การเรียน
電話する (denwa suru)พูดโทรศัพท์電話 denwa)เครื่องโทรศัพท์
運転する (unten suru)ขับรถ運転 (unten)การขับขี่
質問する (shitsumon suru)ถาม質問 (shitsumon)คำถาม
回答する (kaitou suru)ตอบ回答 (kaitou)คำตอบ
食事する (shokuji suru)ทานอาหาร食事 (shokuji)อาหาร
結婚する (kekkon suru)แต่งงาน結婚 (kekkon)การแต่งงาน
帰宅する (kitaku suru)กลับบ้าน帰宅 (kitaku)การกลับบ้าน
修理する (shuuri suru)ซ่อม修理 (shuuri)การซ่อม
心配する (shinpai suru)เป็นห่วง心配 (shinpai)ความห่วงไย
出発する (shuppatsu suru)ออกเดินทาง出発 (shuppatsu)การออกเดินทาง
作成する (sakusei suru)สร้าง作成 (sakusei)การสร้าง
生産する (seisan suru)ผลิต生産 (seisan)การผลิต
確認する (kakunin suru)ตรวจสอบ確認 (kakunin)การตรวจสอบ
横断する (oudan suru)ข้าม横断 (oudan)การข้าม
開放する (kaihou suru)เปืดกว้าง開放 (kaihou)การเปิด
開閉する (kaihei suru)เปิดปิด開閉 (kaihei)การเปิดปิด
テストする (tesuto suru)ทดสอบテスト (tesuto)การสอบ
アクセスする (akusesu suru)ติดต่อアクセス (akusesu)การติดต่อ
メールする (meeru suru)ส่งเมล์メール (meeru)อีเมล์
プリントする (purinto suru)พิมพ์プリント (purinto)การพิมพ์
コピーする (kopii suru)ถ่ายสำเนาコピー (kopii)สำเนาคู่ฉบับ
タッチする (tatchi suru)สัมผัสタッチ (tatchi)การสัมผัส
キックする (kikku suru)เตะキック (kikku)การเตะ
パンチする (panchi suru)ต่อยパンチ (panchi)หมัด

อ่านตรงนี้หน่อย

พบ 31 ความเห็นในบทเรียนนี้

ความเห็นที่ 1
[clap]เนื้อหาบทนี้ช่วยให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ ขอบคุณมาก ๆๆ
Noonui 25 มค 56 11:18

ความเห็นที่ 2
ยินดีครับ ^^
webmaster 25 มค 56 12:16

ความเห็นที่ 3
ผม สงสัยที่บอกว่า ถ้าการกระทำที่มีผลต่ออย่างอื่นให้ใช้ o ช่วย มันคือยังไงหรอครับ
เคี้ยง 25 มค 56 23:40

ความเห็นที่ 4
     คือ คำกริยาที่ผลการกระทำเกิดขึ้นโดยตรงกับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น รวมถึงการทำหรือสร้างให้เกิดของใหม่ขึ้นด้วย เช่น วาดรูป ร้องเพลง เขียนหนังสือ คำกริยากลุ่มนี้ปกติจะใช้คำช่วยคือ を เพื่อชี้ว่าผลการกระทำเกิดขึ้นกับบุคคลหรือสิ่งใด

ตรงนี้ อะตรับ ขอตัวอย่างด้วยนะครับ domo arigato gosaemas
เคี้ยง 25 มค 56 23:41

ความเห็นที่ 5
ได้ปรับปรุงคำอธิบาย โดยใส่ตัวอย่างภาษาญี่ปุ่นสำหรับประโยคที่ใช้สกรรมกริยาให้แล้วนะครับ
webmaster 26 มค 56 10:02

ความเห็นที่ 6
การลงท้ายด้วย masu กับ shimasu ใช้ต่างกันยังไงครับ
AgentMolder 27 มีค 56 11:21

ความเห็นที่ 7
คร่าวๆก็คือ -masu เป็นคำกริยานุเคราะห์ ใช้ต่อท้ายคำกริยาที่ผันในรูป -masu form เพื่อทำให้คำกริยานั้นมีความหมายสุภาพ เช่น
aruku -> aruki + masu = arukimasu (เดิน : สุภาพ)
taberu -> tabe + masu = tabemasu (ทาน : สุภาพ)
suru -> shi + masu = shimasu (ทำ : สุภาพ)

ส่วน shimasu เป็นคำสุภาพของ suru เป็นคำกริยา แปลว่า ทำ
สามารถใช้ร่วมกับคำนามหรืออื่นๆ เพื่อสร้างคำศัพท์ผสม เช่น
benkyou (การเรียน : คำนาม) + shimasu = benkyou shimasu (เรียน : คำกริยาผสม / สุภาพ)
junbi (การเตรียมตัว : คำนาม) + shimasu = junbi shimasu (เตรียมตัว : คำกริยาผสม / สุภาพ)
webmaster 27 มีค 56 22:52

ความเห็นที่ 8
ทำไมถึงใช้คำช่วย ก๊ะ ไม่ใช่ วะ ละคะ
K 12 พค 56 12:08

ความเห็นที่ 9
が เป็นคำช่วยเพื่อแสดงประธานผู้ทำกริยาครับ

ลองดูเพิ่มเติมบทเรียนที่ 7

หรือดูจากวิธีใช้คำช่วย が ในหัวข้อ "คำช่วยต่างๆ" อีกทางนึงนะครับ
http://j-campus.com/particle/view.php?search=ga
webmaster 13 พค 56 13:51

ความเห็นที่ 10
ขออนุญาต ถามคะ คำกริยาผสม กับ อาการนาม แตกต่างกัน อย่างไรคะ
เพราะว่าเห็นบางตำราบอกว่า คำนาม+shimasuคือ อาการนาม คะ จืงไม่เข้าใจในตำราเล่มนั้นคะ
ขอขอบคุณล่วงหน้าคะ
yui frb 19 สค 56 09:37

>4

pageviews 8,319,847