อ่าน 161,966 ครั้ง
ここ、そこ、あそこ、どこ เป็นคำสรรพนามแทนสถานที่ มีรูปแบบการใช้งาน คือ
คำนาม +は +どこ +ですか どこ +が +คำนาม +ですか |
- ここ は どこ です か。
Koko wa doko desu ka
ที่นี่ที่ไหนครับ/ค่ะ
- ここ は 学校 です。
Koko wa gakkou desu
ที่นี่โรงเรียนครับ/ค่ะ
- すみません、そこ は 図書館 です か。
Sumimasen, soko wa toshokan desu ka
ขอโทษ ที่นั่นคือห้องสมุดหรือครับ/ค่ะ
- いいえ、そこ は 図書館 では ありません。病院 です。
Iie, soko wa toshokan dewa arimasen. Byouin desu
ไม่ใช่ ที่นั่นไม่ใช่ห้องสมุด โรงพยาบาลครับ/ค่ะ
- どこ が 駅 です か。
Doko ga eki desu ka
ที่ไหนคือสถานีรถไฟหรือครับ/ค่ะ
- そこ が 駅 です。
Soko ga eki desu
ที่นั่นคือสถานีรถไฟครับ/ค่ะ
- すみません、銀行 は どこ です か。
Sumimasen, ginkou wa doko desu ka
ขอโทษ ธนาคารอยู่ที่ไหนครับ/ค่ะ
- 銀行 は あそこ です。
Ginkou wa asoko desu
ธนาคารอยู่ที่โน่นครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
- ここ (koko)、そこ (soko)、あそこ (asoko) เป็นคำสรรพนามแทนสถานที่ ตามระยะที่อยู่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง
- กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ใกล้กัน
- ここ ใช้แทนสถานที่ใกล้กับผู้พูดและผู้ฟัง
- そこ ใช้แทนสถานที่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง
- あそこ ใช้แทนสถานที่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
- กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ห่างกัน
- ここ ใช้แทนสถานที่ใกล้กับผู้พูด แต่ไกลจากผู้ฟัง
- そこ ใช้แทนสถานที่ไกลจากผู้พูด แต่ใกล้กับผู้ฟัง
- あそこ ใช้แทนสถานที่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
- どこ (doko) เป็นคำใช้ในประโยคคำถาม ในกรณีที่ผู้พูดไม่รู้จักสถานที่ดังกล่าว หรือไม่ทราบว่าสถานที่นั้นอยู่ที่ไหน
- หาก どこ มีสถานะเป็นประธานของประโยค ปกติจะใช้คำช่วยคือ が ทั้งในการถามและการตอบ ตามตัวอย่างที่ ⑤ และ ⑥
- คำสรรพนาม ここ、そこ、あそこ、どこ สามารถเป็นประธานในประโยคคุณศัพท์ได้ เช่น
- ここ は 静か です
Koko wa shizuka desu
ที่นี่เงียบ
อ่านตรงนี้หน่อย
- すみません เป็นคำที่ใช้กล่าวเมื่อจำเป็นต้องรบกวนผู้อื่น เช่น สอบถาม ไหว้วาน ขอทาง ขอความช่วยเหลือ เรียกความสนใจ ฯลฯ ซึ่งในภาษาพูดมักจะออกเสียงเป็น すいません (suimasen)
- การกล่าวคำขอบคุณ จะใช้ว่า
ありがとう ございます (arigatou gozaimasu) = ขอบคุณครับ/ค่ะ
どうも ありがとう ございます (doumo arigatou gozaimasu) = ขอบคุณมากครับ/ค่ะ
- ส่วนการกล่าวตอบคำขอบคุณ จะใช้ว่า
いいえ、どういたしまして (iie, dou itashimashite) = ไม่เป็นไรครับ/ค่ะ
หรือจะกล่าวสั้นๆ ว่า いいえ ก็ได้
พบ 35 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 11
^^
webmaster
16 พค 55 13:33
ความเห็นที่ 12
มาล่ะคร้าบ คือว่านะฮะ ก่อนจะถามนี่ก็ต้องขอโทษก่อนแล้วกันนะครับ ผมว่าผมคงถามผิดหมวดแน่เลย
แต่ผมก็ไม่รู้ด้วยว่าเรื่องที่ผมจะถามเนี่ยมันอยู่หมวดไหนกันแน่ (แบบว่าความรู้ก็ยังไม่ครอบคลุมเท่าไหร่)
เลยยังงงๆน่ะฮะ และพอดีเรื่องที่จะถามผมว่ามันน่าจะใกล้หัวข้อนี้้ที่สุด (ล่ะมั้ง) น่ะฮะ
คือผมสงสัยว่า คำ 3 คำนี้มันต่างกันยังไงเหรอฮะ ระหว่างคำว่า そば / となり / よこ
คือว่ามันใช้สำหรับการบอกสถานที่น่ะฮะ แต่ผมยังงงๆว่าสามคำนี้มันต่างกันยังไง
คือตอนนี้ผมเข้าใจว่า
1. そば ใช้กับสิ่งของหรือสถานที่ๆอยู่ใกล้เคียงกัน จะในลักษณะใดก็ได้ ขอให้ใกล้ๆกันนั่นล่ะ
2. となり ใช้กับสิ่งของหรือสถานที่ๆมันอยู่ข้างๆกัน (เป็นเส้นขนาน) และต้อง
เป็นประเภทเดียวกันด้วย (แต่ผมก็ยังงงที่ว่าประเภทเดียวกันที่ว่านี่ ประเภทไหนยังไงอะฮะ)
3. よこ ใช้กับสิ่งของหรือสถานที่ที่ใกล้เคียงกัน (ในแนวขนาน) แต่ใช้สำหรับสิ่งของหรือสถานที่ประเภทไหนก็ได้
แต่จะว่าไป พอมาคิดๆดูแล้ว ผมก็ยังงงอยู่ดีล่ะฮะว่า 3 ตัวนี้การใช้มันเป็นยังไงกันแน่
(ยิ่งคิดยิ่งงง - -)
สรุปแล้วก็อยากถามล่ะฮะว่า 3 ตัวนี้ใช้ยังไงเหรอฮะ แล้วใช้ได้กับทั้งสิ่งมีชีวิต สิ่งของ สถานที่
หมดเลยรึเปล่าฮะ
ถ้าผิดหมวดผมก็ต้องขออภัยด้วยนะฮะ แบบว่าไม่รู้จริงๆว่าจะเอาเข้าหมวดไหนดี
พอดีตอนนี้ที่มหาัลัยก็กำลังสอนเกี่ยวกับพวกสถานที่อยู่ แล้วเห็นหมวดนี้เป็นสถานที่
เลยเข้ามาถามดูน่ะฮะ
ถ้าผิดหมวดก็รบกวนย้ายกระทู้ถามนี้ไปไว้ที่ที่ถูกด้วยนะฮะ T^T
ขอโทษและขอบคุณครับ
Benz Domo
6 กค 55 14:45
ความเห็นที่ 13
そば、よこ、となり ทั้ง 3 คำนี้เป็นคำเกี่ยวกับตำแหน่งสถานที่
そば หมายถึงบริเวณ ใกล้ๆ เช่น
きのう家のそばで家事が起きました
kinou ie no soba de kaji ga okimashita
เมื่อวานเกิดไฟไหม้ใกล้ๆบ้าน
よこ(横)หมายถึงบริเวณ ข้างๆ ซึ่งเป็นลักษณะของทางข้างซ้ายหรือขวา เช่น
先生の横に座ります
sensei no yoko ni suwarimasu
นั่งข้างๆอาจารย์
となり(隣)หมายถึงบริเวณ ติดกันมากที่สุด เมื่อเทียบกับสิ่งรอบๆ
ดังนั้น หากเป็นในแนวซ้ายขวาก็จะมีความหมายรวมถึงคำว่า よこ ไว้ด้วย เช่น
来週から隣の町に引越しします
raishuu kara tonari no machi ni hikkoshi shimasu
สัปดาห์หน้าจะย้ายไปอยู่ที่เมืองติดกัน (เมืองข้างๆ)
先生の隣に座ります
sensei no tonari ni suwarimasu
นั่งติดกับอาจารย์ (นั่งข้างอาจารย์)
webmaster
7 กค 55 11:26
ความเห็นที่ 14
อ๋อ เป็นอย่างนี้นี่เอง ใช้แสดงตำแหน่งหรือสถานที่อยู่สินะ ความหมายก็แบบนี้นี่เอง
ขอบคุณมากนะฮะ เข้าใจขึ้นเยอะเลย อิอิอิ[smile]
Benz Domo
7 กค 55 15:55
ความเห็นที่ 15
ยินดีครับ [smile]
webmaster
10 กค 55 18:09
ความเห็นที่ 16
คือว่า ตรงการขอบคุณอะคะ
ต้องเป็น doumo arigatougozaimasu รึป่าวคะ?[sad]
จะต่างจาก arigatou gozaimasu เพราะจะสุภาพมากขึ้นถ้าใส่ doumo เข้าไป
หนูเข้าใจถูกมั้ยคะ-0-
-- ถามเพิ่มว่่า คำว่า doumo = please รึป่าวคะ?
ありがとう[smile]
Icechco
21 กค 55 16:43
ความเห็นที่ 17
แก้ไขบทเรียนตรงที่ตกคำว่า doumo แล้ว
ขอบคุณมากครับ
======================
คำว่า doumo มีหลายความหมาย
แต่หากใช้ร่วมกับคำขอบคุณ หรือคำขอโทษ
จะมีความหมายเป็นแสดงความรู้สึกขอบคุณ หรือขอโทษ เป็นอย่างมาก เช่น
arigatou -> ขอบคุณ ขอบใจ
arigatou gozaimasu -> ขอบคุณครับ/ค่ะ
doumo arigatou gozaimasu -> ขอบคุณมากครับ/ค่ะ
doumo sumimasen deshita -> ขอโทษมากครับ/ค่ะ
..
ส่วนคำว่า please ในภาษาอังกฤษ คือ どうぞ (douzo : เชิญ) ครับ
webmaster
21 กค 55 21:50
ความเห็นที่ 18
ผมตอบคำถามคุณ Icechco ตกไป ต้องขอโทษที
doumo ในกรณีที่ใช้ในการขอโทษหรือขอบคุณ จะมีความหมายว่า "มาก" หรือ "อย่างมาก" ตามที่อธิบายในคำตอบก่อนหน้านี้
แต่คำที่ทำให้เป็นคำสุภาพ (ถ่อมตน) คือ gozaimasu
ถ้าพูดว่า arigatou ก็คือการขอบใจแบบเป็นกันเอง ไม่ควรใช้กับผู้ใหญ่
หรือจะพูดว่า doumo arigatou ก็ยังเป็นการพูดแบบเป็นกันเอง ไม่ควรใช้กับผู้ใหญ่
หากจะพูดแบบสุภาพ ในลักษณะถ่อมตน ให้ใช้ว่า arigatou gozaimasu หรือ doumo arigatou gozaimasu ครับ
webmaster
25 กย 55 13:31
ความเห็นที่ 19
อ่านบทที่ 11 แล้วค่ะ ขอบคุณมาก ๆๆ สำหรับคำอธิบายเพิ่มเติม
Noo nui
23 มค 56 14:02
ความเห็นที่ 20
ครับ อ่านเพิ่มวันละบทสองบทนะครับ
การเรียนด้วยตนเอง ไม่มีคนบังคับ ไม่เสียดายเงินเหมือนกับที่จ่ายให้โรงเรียน แถมมีสิ่งยั่วใจเยอะแยะ เพราะนั่งอยู่หน้าคอม จึงควรพยายามทำให้เป็นกิจวัตร สู้ๆนะครับ ^^
webmaster
23 มค 56 20:05
1>4
pageviews 8,319,766