อ่าน 162,711 ครั้ง
ここ、そこ、あそこ、どこ เป็นคำสรรพนามแทนสถานที่ มีรูปแบบการใช้งาน คือ
คำนาม +は +どこ +ですか どこ +が +คำนาม +ですか |
- ここ は どこ です か。
Koko wa doko desu ka
ที่นี่ที่ไหนครับ/ค่ะ
- ここ は 学校 です。
Koko wa gakkou desu
ที่นี่โรงเรียนครับ/ค่ะ
- すみません、そこ は 図書館 です か。
Sumimasen, soko wa toshokan desu ka
ขอโทษ ที่นั่นคือห้องสมุดหรือครับ/ค่ะ
- いいえ、そこ は 図書館 では ありません。病院 です。
Iie, soko wa toshokan dewa arimasen. Byouin desu
ไม่ใช่ ที่นั่นไม่ใช่ห้องสมุด โรงพยาบาลครับ/ค่ะ
- どこ が 駅 です か。
Doko ga eki desu ka
ที่ไหนคือสถานีรถไฟหรือครับ/ค่ะ
- そこ が 駅 です。
Soko ga eki desu
ที่นั่นคือสถานีรถไฟครับ/ค่ะ
- すみません、銀行 は どこ です か。
Sumimasen, ginkou wa doko desu ka
ขอโทษ ธนาคารอยู่ที่ไหนครับ/ค่ะ
- 銀行 は あそこ です。
Ginkou wa asoko desu
ธนาคารอยู่ที่โน่นครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
- ここ (koko)、そこ (soko)、あそこ (asoko) เป็นคำสรรพนามแทนสถานที่ ตามระยะที่อยู่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง
- กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ใกล้กัน
- ここ ใช้แทนสถานที่ใกล้กับผู้พูดและผู้ฟัง
- そこ ใช้แทนสถานที่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง
- あそこ ใช้แทนสถานที่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
- กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ห่างกัน
- ここ ใช้แทนสถานที่ใกล้กับผู้พูด แต่ไกลจากผู้ฟัง
- そこ ใช้แทนสถานที่ไกลจากผู้พูด แต่ใกล้กับผู้ฟัง
- あそこ ใช้แทนสถานที่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
- どこ (doko) เป็นคำใช้ในประโยคคำถาม ในกรณีที่ผู้พูดไม่รู้จักสถานที่ดังกล่าว หรือไม่ทราบว่าสถานที่นั้นอยู่ที่ไหน
- หาก どこ มีสถานะเป็นประธานของประโยค ปกติจะใช้คำช่วยคือ が ทั้งในการถามและการตอบ ตามตัวอย่างที่ ⑤ และ ⑥
- คำสรรพนาม ここ、そこ、あそこ、どこ สามารถเป็นประธานในประโยคคุณศัพท์ได้ เช่น
- ここ は 静か です
Koko wa shizuka desu
ที่นี่เงียบ
อ่านตรงนี้หน่อย
- すみません เป็นคำที่ใช้กล่าวเมื่อจำเป็นต้องรบกวนผู้อื่น เช่น สอบถาม ไหว้วาน ขอทาง ขอความช่วยเหลือ เรียกความสนใจ ฯลฯ ซึ่งในภาษาพูดมักจะออกเสียงเป็น すいません (suimasen)
- การกล่าวคำขอบคุณ จะใช้ว่า
ありがとう ございます (arigatou gozaimasu) = ขอบคุณครับ/ค่ะ
どうも ありがとう ございます (doumo arigatou gozaimasu) = ขอบคุณมากครับ/ค่ะ
- ส่วนการกล่าวตอบคำขอบคุณ จะใช้ว่า
いいえ、どういたしまして (iie, dou itashimashite) = ไม่เป็นไรครับ/ค่ะ
หรือจะกล่าวสั้นๆ ว่า いいえ ก็ได้
พบ 35 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 1
ขอบคุณที่ทำงานเหนื่อยนะคับ
ผมได้เรียนจากที่นี้เรื่อยๆเลย
เพราะว่าผมไม่มีเวลาจะไปเรียน พิเศษ ตรงนี้ช่วยได้มากเลย
สู้ๆนะ คับ
Andie
15 พย 52 20:00
ความเห็นที่ 2
ยินดีครับ
จะพยายามเข้ามาอัพเดตข้อมูลให้เท่าที่จะพอทำได้ครับ
webmaster
30 พย 52 18:22
ความเห็นที่ 3
ขอบคุณมากครับผมชอบภาษาญี่ปุ่นมากมาย เรียนรู้ต่อไปครับ ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่เว็บนี้มีให้
เซริซะวะ โทมาโอะ
7 ธค 52 14:15
ความเห็นที่ 4
ยินดีครับ
webmaster
9 ธค 52 20:03
ความเห็นที่ 5
เก่งมากๆ ค่ะ ที่สามารถทำให้คนไม่ฉลาดอย่างเรา เข้าใจภาษาญี่ปุ่นได้ดีขึ้นเยอะเลย
เนื้อหาการสอนอ่าน และเข้าใจง่าย
สู้ต่อไปนะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ
น้ำหวาน
น้ำหวาน
24 ธค 53 2:11:
ความเห็นที่ 6
ขอบคุณมากค่ะ เข้าใจไวยากรณ์ขึ้นเยอะเลยค่ะ บางทีก็ใช้ผิดๆถูกๆ เนื่องจากเรียนเองจากหนังสือ
stitch
7 กพ 54 9:58:
ความเห็นที่ 7
ยินดีที่เป็นประโยชน์ครับ ^^
webmaster
5 เมย 54 11:02
ความเห็นที่ 8
วันนี้ว่างๆก็จัดหนักหน่อยล่ะนะ อิอิอิ (อยากให้ได้วันละ 3-4 บท)
ว่าแล้วก็ มีคำถามคร้าบ!!!
อยากรู้น่ะครับว่า ここ、そこ、あそこ、どこ เป็นประธานในประโยคคุณศัพท์ได้อย่างเดียวเหรอฮะ สงสัยน่ะฮะ
อ้อ แล้วก็ ตัวอย่างที่ 3 ตรงโรมันจิ ตัว ka หายไปนะฮะ
Benz Domo
16 พค 55 10:22
ความเห็นที่ 9
บทเรียนนี้ เป็นการใช้ ここ、そこ、あそこ、どこ ในประโยคคำนาม
ซึ่งจะใช้เป็นประธาน หรือเป็นภาคแสดงก็ได้
ส่วนที่เขียนไว้ในคำอธิบายนั้น หมายความว่า
คำสรรพนามทั้ง 4 คำนี้ สามารถใช้เป็นประธานในประโยคคำคุณศัพท์ก็ได้ด้วย
สิ่งที่ไม่ได้อธิบายไว้ คือ ประโยคกริยา
เนื่องจากคำสรรพนามแทนสถานที่ ไม่สามารถเป็นประธานในประโยคกริยาได้ (เพราะสถานที่ ไม่ใช่ผู้ทำกริยา)
หรือจะเปรียบเทียบกับภาษาไทยก็ได้
คำว่า "ที่นี่" เป็นประธานในประโยคคำนามได้ เช่น ที่นี่(คือ)ห้องสมุด
และเป็นประธานในประโยคคุณศัพท์ได้ เช่น ที่นี่กว้าง
แต่จะเป็นประธานในประโยคกริยาไม่ได้
คำว่า "ที่นี่" สามารถใช้ในประโยคกริยาได้
แต่ไม่ใช่ประธาน คือจะเป็นภาคแสดง เพื่อขยายคำกริยา เช่น ฉันนั่งที่นี่
ซึ่งในกรณีนี้ จะต้องมีการใช้ "คำช่วย" ตัวอื่นด้วย ซึ่งจะอยู่ในบทหลังครับ
webmaster
16 พค 55 11:21
ความเห็นที่ 10
โอ ผมก็ลืมคิดจุดนี้ไปเลย อืม~ มองข้ามไม่ได้เลยนะเนี่ย ผมมันประเภทต้องย้ำๆถึงจะจำได้
อิอิอิ ขอบคุณมากนะฮะ ตอนนี้เข้าใจขึ้นมากทีเดียวฮะ
Benz Domo
16 พค 55 13:12
>4
pageviews 8,408,772