ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นไม่ยากอย่างที่คิด

อ่าน 164,346 ครั้ง

ので เป็นคำช่วยเพื่อเชื่อมเหตุการณ์ที่เป็นเหตุเป็นผลกัน

คำกริยา /ru form /ta form /te iru form
คำคุณศัพท์-i /i form /katta form
คำคุณศัพท์-na /na form /datta form
+ので+ผลที่เกิดขึ้นตามมา

  1. 一日中 重い 物 を 持つ ので、疲れました
    Ichinichichuu omoi mono o motsu node, tsukaremashita
    ยกของหนักตลอดทั้งวัน จึงเมื่อยครับ/ค่ะ
  2. 一生懸命 勉強 した ので、成績 が 上がりました
    Isshokenmei benkyou shita node, seiseki ga agarimashita
    ตั้งใจเรียน ผลการเรียนจึงดีขึ้นครับ/ค่ะ
  3. 毎日 練習 した ので、勝ちました
    Mainichi renshuu shita node, kachimashita
    ฝึกซ้อมทุกวัน จึงชนะครับ/ค่ะ
  4. 辛い 物 を 食べて いる ので、のど が 渇きます
    Karai mono o tabete iru node, nodo ga kawakimasu
    กำลังทานของเผ็ด จึงคอแห้งครับ/ค่ะ

  1. 寝る 時間 が 足りない ので、とても 眠い です
    Neru jikan ga tarinai node, totemo nemui desu
    เวลานอนไม่พอ จึงง่วงมากครับ/ค่ะ
  2. のど が 渇いた ので、水 を たくさん 飲みました
    Nodo ga kawaita node, mizu o takusan nomimashita
    คอแห้ง จึงดื่มน้ำมากครับ/ค่ะ
  3. コップ が きれい な ので、2つ 買いました
    Koppu ga kirei na node, futatsu kaimashita
    ถ้วยสวย จึงซื้อ 2 ใบครับ/ค่ะ
  4. 彼 が 親切 だった ので、結婚 しました
    Kare ga shinsetsu datta node, kekkon shimashita
    เขาใจดี จึงแต่งงานด้วยครับ/ค่ะ

คำอธิบาย

พบ 26 ความเห็นในบทเรียนนี้

ความเห็นที่ 1
ว่าแล้วว่าดูเว็บนี้เข้าใจง่ายกว่าเยอะ ตอนนี้เรียนถึงเรื่องนี้พอดี อยู่ก็ขึ้นรูปนี้มา อะไรๆไม่ได้บอก
เลยยังงงๆกับการใช้รูปนี้อยู่ ขอบคุณมากเลยครับ เข้าใจง่าย + เข้าใจขึ้นเยอะเลย

เอ่อ ถามคำถามง่ายๆสักนิดนะฮะ ในรูปนี้ ไม่จำเป็นใช่มั้ยฮะที่ข้างหน้า (เหตุ) และข้างหลัง (ผล)
ต้องเป็นอดีตกับอดีต ปัจจุบันกับปัจจุบัน บางครั้งก็เป็นอดีตกับปัจจุบัน หรือปัจจุบันกับอดีต
ก็ได้ใช่มั้ยครับ

คำถามข้อ 2 ถ้าหากส่วนของเหตุ ลงท้ายด้วยคำนามล่ะครับ จะใช้อะไรเพิ่มหรือเปล่าครับ เช่นว่า เมื่อก่อนเป็นนักเรียน แต่เดี๋ยวนี้เป็นอาจารย์ อะไรอย่างนี้น่ะครับ

คำถามข้อ 3 กรณีของคำกริยา ส่วนเหตุ ถ้าเป็นปฎิเสธนี่จะใช้ยังไงเหรอครับ

อ้อ ขอสรุปความเข้าใจนิดนะครับ สรุปแล้วในรูปนี้ ในส่วนของเหตุ ให้ใช้รูปธรรมดา
- ru (ธรรมดา) / ta (อดีต ธรรมดา) / te iru (ปัจจุบันกำลังทำ ธรรมดา)
[สงสัยว่า แล้วรูปปฎิเสธ แต่ละตัวใช้ยังไงเหรอครับ]

- คุณศัพท์กลุ่ม i ใช้ i (ธรรมดา) / ตัด i ออกเติม kunai (ปฎิเสธ ปัจจุบัน) /
kunakatta (อดีต ปฎิเสธ)

-คุณศัพท์กลุ่ม na ใช้ da (ธรรมดา) / datta (อดีต ธรรมดา)
[สงสัยว่ารูปปฎิเสธทั้งปัจจุบัน และอดีตใช้ยังไงครับ]

ตัวอย่างที่ 2 โรมาจิ ข้างหลังสุด พิมพ์ผิดนะฮะ น่าจะต้องเป็น agarimashita นะครับ

รู้ตัวอีกทีก็ยาวขนาดนี้แล้ว ผมกลัวว่าแอดมินจะงงเหลือเกิน ขอโทษไว้ก่อนเลยนะครับ
แต่ก็ รบกวนด้วยนะครับ
Benz Domo 11 กย 55 18:32

ความเห็นที่ 2
แยกตอบเป็นข้อๆ แล้วกันนะครับ

Q1 : จำเป็นที่ข้างหน้า (เหตุ) และข้างหลัง (ผล) ต้องเป็นอดีตกับอดีต ปัจจุบันกับปัจจุบัน หรือไม่
A2 : ไม่จำเป็นครับ ขอให้มีความสมเหตุสมผลทางตรรกะ ก็ใช้ได้ทั้งสิ้น

อดีตกับปัจจุบัน : เมื่อวานเป็นไข้ วันนี้จึงยังพักผ่อนอยู่ (kinou kaze o hiita node, kyou wa yasunde iru)
อดีตกับอนาคต : มีไข้ตั้งแต่เมื่อวาน พรุ่งนี้จึงจะไม่ไปโรงเรียน (kinou kara netsu ga atta node, ashita gakkou ni ikanai)
ปัจจุบันกับอดีต : นึกประโยคไม่ออก แต่ก็คงได้เช่นกัน
ปัจจุบันกับอนาคต : ตอนนี้เป็นไข้ พรุ่งนี้จึงจะไม่ไปโรงเรียน (ima kaze o hiite iru node, ashita gakkou ni ikanai)
อนาคตกับอดีต : ปีหน้าจะไปญี่ปุ่น จึงเก็บเงินตั้งแต่ปีที่แล้ว (rainen nihon ni iku node, kyonen kara okane o tamete ita)
อนาคตกับอนาคต : อาทิตย์หน้าจะปิดเทอมหน้าร้อน ก็เลยจะไปทะเล (raishuu natsuyasumi ni naru node, umi ni iku)
webmaster 14 กย 55 21:23

ความเห็นที่ 3
Q2 : ถ้าหากส่วนของเหตุ ลงท้ายด้วยคำนาม จะใช้อะไรเพิ่มหรือเปล่า
A2 : ใช้ na หรือ datta เช่นเดียวกับกรณีของคำคุณศัพท์ในกลุ่มที่ 2 เช่น

nihonjin na node, taigo ga wakarimasen
เพราะเป็นคนญี่ปุ่น จึงไม่เข้าใจภาษาไทย

sono toki wa kodomo datta node, amari wakaranakatta
เพราะตอนนั้นยังเป้นเด็ก เลยไม่ค่อยเข้าใจ
webmaster 14 กย 55 22:24

ความเห็นที่ 4
Q3 : กรณีของคำกริยา ส่วนเหตุ ถ้าเป็นปฎิเสธ จะใช้ยังไง
A3 : ผันให้อยู่ในรูปปฏิเสธ (-nai, -te inai, -nakatta) + ので เช่น

benkyou shinai node, okorareta
เพราะไม่เรียน จึงถูกโกรธ
benkyou shite inai node, rikai dekinakatta
เพราะไม่ได้เรียนมา จึงไม่สามารถเข้าใจได้
benkyou shinakatta node, rakudai shita
เพราะไม่ได้เรียน จึงสอบตก

ส่วนคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 ก็เป็น (-kunai, -kunakatta) + ので เช่น
takakunai node, ....
oishikunakatta node, ...

ส่วนคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 ก็เป็น (-ja nai, -ja nakatta, -dewa nai, -dewa nakatta) + ので เช่น
kirei ja nai node, ...
shizuka ja nakatta node, ...
shinsetsu dewa nai node, ...

ส่วนคำนาม ก็เป็น (-ja nai, -ja nakatta, -dewa nai, -dewa nakatta) + ので เช่น
taijin ja nai node, ...
nihonjin ja nakatta node, ...
sensei dewa nai node, ...
webmaster 14 กย 55 23:03

ความเห็นที่ 5
โรมาจิแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ขอบคุณคุณ Benz ครับ และขอโทษที่ตอบช้าไปหน่อยครับ
webmaster 14 กย 55 23:13

ความเห็นที่ 6
โอ้ จัดหนักเลยทีเดียว ขอบคุณมากเลยฮะ เข้าใจขึ้นอีกเยอะเลย "ความเห็นที่ 3" นี่
สงสัยต้องจำอย่างเดียวนะเนี่ย คำนามกับคุณศัพท์กลุ่ม 2 ใช้เหมือนกันเลย ที่ต้องจำก็คง
ถ้าเป็นปัจจุบัน ให้ลงท้ายด้วย na แต่ถ้าเป็นอดีตก็ลงท้ายด้วย datta
ที่จริงผมก็สงสัยอยู่ว่าทำไมถึงไม่ลงท้าย ปััจจุบันด้วย da ล่ะนะ ฮ่ะๆๆ

ขอบคุณมากเลยครับผ้ม[smile]
Benz Domo 15 กย 55 06:38

ความเห็นที่ 7
นั่นนะซิครับ
[คำนาม] + datta + node ใช้ได้
[คำนาม] + da + node ทำไมถึงไม่ใช้

ถ้าค้นจริงๆ ก็คงจะเจอคำตอบ
แต่ผมเองก็ไม่แน่ใจว่า มันจะเป็นคำตอบที่เป็นตรรกะเข้าใจง่าย หรือเป็นคำตอบที่ต้องมาท่องจำอีกทีนึง
คำตอบนี้จึงขอติดค้างไปโดยไม่มีกำหนดละกัน [haha]

ส่วนตัวอย่างประโยคเหตุผล ที่เป็นปัจจุบัน-อดีต นึกออกแล้วครับ
กำลังทานข้าวอยู่ ก็เลยรับโทรศัพท์เมื่อกี้นี้ไม่ได้
gohan o tebete iru node, sakki no denwa ni derenakatta
webmaster 15 กย 55 09:24

ความเห็นที่ 8
ขอบคุณมากเลยครับผม หายสงสัยไปได้เยอะเลย เดี๋ยวต้องอ่านบ่อยๆแล้วล่ะ
อยากเข้าใจมากกว่า ตอนสอบจะได้ไม่ต้องอ่านเยอะ อิอิอิ

ขอบคุณเว็บมาสเตอร์มากเลยครับที่มาตอบเสมอๆ ยอมรับเลยว่าญี่ปุ่น "เริ่ม" ยากแล้ว
แต่ก็ไม่รู้ทำไมยิ่งยากเรายิ่งสนุก (ทำไมอังกฤษไม่เป็นงี้มั่งนะ อิอิอิ)
Benz Domo 15 กย 55 13:49

ความเห็นที่ 9
อาจจะเป็นเพราะรูปแบบการเรียนการสอนต่างกันด้วยหรือเปล่า
ถ้าเราเคลียร์ข้อค้างคาใจไปได้เป็นจุดๆ มันก็ท้าทายให้เดินหน้าต่อไป
แต่ถ้ามันคาใจสะสมเพิ่มไปเรื่อยๆ ทุกอย่างก็ไม่สนุก ไม่ใช่แค่ภาษาเท่านั้น

ภาษาอังกฤษมีผู้ที่รู้จริง มากกว่าภาษาญี่ปุ่นหลายสิบหลายร้อยเท่า

ถ้าวางรูปแบบดีๆ มีผู้รู้มาช่วยให้คำแนะนำมากๆ
ก็น่าจะง่ายและสนุกกว่าที่เรียนๆ กันอยู่ในทุกวันนี้ไหมครับ
webmaster 15 กย 55 14:36

ความเห็นที่ 10
สวัสดีค่ะ

เพิ่งเข้ามาเจอเว็บได้ไม่กี่วันเองค่ะ ^^
อธิบายไวยากรณ์ได้เข้าใจง่าย + ยกตัวอย่างประโยคที่เอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีมากค่ะ
อ่านแล้วเข้าใจง่ายกว่าหนังสือบางเล่มซะอีก

ขอบคุณมากที่ทำเว็บขึ้นมานะคะ
Mo 27 กพ 56 15:03

>3

pageviews 8,322,861