ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นไม่ยากอย่างที่คิด

อ่าน 188,302 ครั้ง

การออกเสียงภาษาญี่ปุ่น

ในเว็บไซต์นี้ จะเป็นการสอนโดยใช้อักษรฮิรางานะและโรมาจิเท่านั้น แต่เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาภาษาญี่ปุ่น ซึ่งยังไม่คุ้นเคยกับวิธีการออกเสียงในภาษาญี่ปุ่น จึงจะอธิบายวิธีการออกเสียงอักษรต่างๆ รวมถึงหลักเกณฑ์ในการออกเสียงไว้ในบทนี้

และเนื่องจากภาษาญี่ปุ่นบางคำ ไม่สามารถอ่านออกเสียงในภาษาไทยได้ชัดเจน ดังนั้น ผู้ที่จะศึกษาจึงไม่ควรยึดติดกับตัวสะกดภาษาไทย แต่ควรหาโอกาสฟังภาษาญี่ปุ่นที่ถูกต้อง และฝึกฝนให้มีความคุ้นเคยต่อไป

วิธีการอ่านฮิรางานะ/โรมาจิ

เป็นการนำเสียงตามแถว (แนวนอน) มารวมกับเสียงสระ (แนวตั้ง)

 เสียง
อะ
เสียง
อิ
เสียง
อุ
เสียง
เอะ
เสียง
โอะ
แถว
a
a
อะ
i
อิ
u
อุ
e
เอะ
o
โอะ
แถว
ka
ka
คะ
ki
คิ
ku
คุ
ke
เคะ
ko
โคะ
แถว
sa
sa
สะ
shi
ชิ
su
สุ
se
เสะ
so
โสะ
แถว
ta
ta
ทะ
chi
จิ
tsu
ซึ
te
เทะ
to
โทะ
แถว
na
na
นะ
ni
นิ
nu
นุ
ne
เนะ
no
โนะ
แถว
ha
ha
ฮะ
hi
ฮิ
fu
ฟุ
he
เฮะ
ho
โฮะ
แถว
ma
ma
มะ
mi
มิ
mu
มุ
me
เมะ
mo
โมะ
แถว
ya
ya
ยะ
yu
ยุ
yo
โยะ
แถว
ra
ra
ละ
ri
ลิ
ru
ลุ
re
เละ
ro
โละ
แถว
wa
wa
วะ
o
โอะ
n : ตัวสะกด (ง, น, และ ม)

คำพิเศษที่ต้องระวังในการออกเสียง คือ

  1. し (shi) ออกเสียงคล้าย 'ชิ'
  2. ち (chi) ออกเสียงคล้าย 'จิ'
  3. つ (tsu) ออกเสียงคล้าย 'ซึ'
  4. ふ (fu) ออกเสียงคล้าย 'ฟุ'
  5. を (o) อยู่ในแถว wa แต่ออกเสียงเป็น 'โอะ'

นอกจากนี้ แถว ら (ra) ทั้งแถว แม้จะใช้โรมาจิเป็นตัว R แต่จะออกเสียงเป็นตัว L (ล.ลิง)

การออกเสียงสั้นและเสียงยาว

ฮิรางานะและโรมาจิ จะออกเสียงเป็นสระเสียงสั้นทั้งหมด โดยมีเสียงสระ 5 เสียง คือ a (อะ) i (อิ) u (อุ) e (เอะ) และ o (โอะ) แต่มีคำยกเว้นที่ออกเสียงสระอึ คือ tsu (ซึ)

การนำฮิรางานะที่เป็นสระเสียงเดียวกันมาเรียงต่อกัน จะเกิดเป็นสระเสียงยาว เช่น

แต่หากนำสระคนละเสียงมาเรียงต่อกัน จะไม่อ่านให้ควบกัน แต่จะอ่านทีละตัว ดังนี้

 aiueo
aaa
อา
ai
อะอิ
au
อะอุ
ae
อะเอะ
ao
อะโอะ
iia
อิอะ
ii
อี
iu
อิอุ
ie
อิเอะ
io
อิโอะ
uua
อุอะ
ui
อุอิ
uu
อู
ue
อุเอะ
uo
อุโอะ
eea
เอะอะ
ei*
เอ
เอะอิ
eu
เอะอุ
ee
เอ
eo
เอะโอะ
ooa
โอะอะ
oi
โอะอิ
ou*
โอ
โอะอุ
oe
โอะเอะ
oo
โอ

ข้อยกเว้น

  1. ou ปกติจะออกเสียงยาว คือ 'โอ'
    เว้นแต่บางคำ จะแยกออกเสียงเป็น 'โอะอุ' เช่น
    • 通う (kayou) ออกเสียงเป็น 'คะ-โยะ-อุ' หรือ
    • 負う (ou) ออกเสียงเป็น 'โอะ-อุ' เป็นต้น
  2. ei ไม่มีข้อกำหนดว่าจะออกเสียงเป็น 'เอะอิ' หรือ 'เอ'
    • โดยทั่วไปมักจะออกเสียงยาว คือ 'เอ' เช่น
      • 時計 (tokei) จะออกเสียงเป็น 'โทะ-เก' ซึ่งง่ายกว่า 'โทะ-เกะ-อิ' หรือ
      • きれい (kirei) จะออกเสียงเป็น 'คิ-เร' ซึ่งง่ายกว่า 'คิ-เระ-อิ' เป็นต้น
    • แต่หากตั้งใจพูดช้าๆ หรือเน้นเสียง ก็จะพูดว่า 'เอะอิ' เช่น
      • えい (ปลากระเบน) มักจะออกเสียงว่า 'เอะ-อิ' ซึ่งต่างกับคำว่า ええ (ใช่) ซึ่งออกเสียงว่า 'เอ'

เสียงขุ่น (dakuon)

คือเสียงที่เกิดจากการเติมเครื่องหมาย (濁点 : dakuten) หรือที่เรียกว่าอย่างไม่เป็นทางการว่าเครื่องหมาย tenten หรือ chonchon ตามหลังอักษรในแถว 「か」 「さ」 「た」 「は」

หรือเติมเครื่องหมาย (半濁点 : handakuten) หรือที่เรียกว่าอย่างไม่เป็นทางการว่าเครื่องหมาย maru ตามหลังอักษรในแถว 「は」 เพื่อให้เกิดเสียงเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนี้

 เสียง อะเสียง อิเสียง อุเสียง เอะเสียง โอะ
แถว ga
ga กะgi กิgu กุge เกะgo โกะ
แถว za
za ซะji จิzu ซุze เซะzo โซะ
แถว da
da ดะji จิtzu ซึde เดะdo โดะ
แถว ba
ba บะbi บิbu บุbe เบะbo โบะ
แถว pa
pa ปะpi ปิpu ปุpe เปะpo โปะ

หมายเหตุ : ตัวอักษร ji และ tzu ไม่สามารถแสดงคำอ่านเป็นภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง

เสียงควบ/เสียงเพี้ยน (youon)

คือการเปลี่ยนรูปตัวอักษร や ゆ よ ให้เป็นอักษรตัวเล็ก ゃ ゅ ょ แล้วนำไปต่อท้ายอักษรเสียง อิ เพื่อให้เกืดเสียงควบ ดังนี้


  1. ออกเสียงคล้าย 'เอียะ' หรือเสียง 'อะ' เช่น
    • きゃ (kya) ออกเสียงคล้าย 'เคียะ'
    • ちゃ (cha) ออกเสียงคล้าย 'จะ'

  2. ออกเสียงคล้าย 'อิว' แต่เป็นเสียงสั้น หรือเสียง 'อุ' เช่น
    • きゅ (kyu) จะอ่านคล้าย 'คิว' (แต่ออกเสียงสั้น)
    • ちゅ (chu) ออกเสียงคล้าย 'จุ'

  3. ออกเสียงคล้าย 'เอียว' แต่เป็นเสียงสั้น หรือออกเสียง 'โอะ' เช่น
    • きょ (kyo) จะอ่านคล้าย 'เคียว' (แต่ออกเสียงสั้น)
    • ちょ (cho) ออกเสียงคล้าย 'โจะ'
 เสียง อะเสียง อุเสียง โอะ
แถว kiきゃきゅきょ
kya เคียะkyu คิวkyo เคียว
แถว giぎゃぎゅぎょ
gya เกียะgyu กิวgyo เกียว
แถว shiしゃしゅしょ
sha ชะshu ชุsho โชะ
แถว jiじゃじゅじょ
ja จะju จุjo โจะ
แถว chiちゃちゅちょ
cha จะchu จุcho โจะ
แถว jiぢゃぢゅぢょ
ja จะju จุjo โจะ
แถว hiひゃひゅひょ
hya เฮียะhyu ฮิวhyo เฮียว
แถว biびゃびゅびょ
bya เบียะbyu บิวbyo เบียว
แถว piぴゃぴゅぴょ
pya เปียะpyu ปิวpyo เปียว

หมายเหตุ :

  1. อักษรทั้งหมดออกเสียงสั้น
  2. ตัวอักษร ja, ju, jo ไม่สามารถแสดงคำอ่านเป็นภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง

การออกเสียง っ (つ ตัวเล็ก)

จะอ่านออกเสียง っ (つ ตัวเล็ก) เป็นตัวสะกด โดยมีเสียงเดียวกันกับตัวอักษรที่ตามหลังมา ตัวอย่างเช่น

การออกเสียงอักษรในแถว か

แถว か (か、き、く、け、こ)
  1. กรณีที่นำหน้าคำ จะออกเสียงเป็น "ค" เช่น
    • 階段 (kaidan : คะอิดัง) บันได
    • 着物 (kimono : คิโมะโนะ) ชุดกิโมโน
    • 果物 (kudamono : คุดะโมะโนะ) ผลไม้
    • 結婚 (kekkon : เค็คคง) แต่งงาน
    • 子ども (kodomo : โคะโดะโมะ) เด็ก
  2. กรณีที่ไม่อยู่หน้าคำ จะมีทั้งที่ออกเสียงคล้าย "ค" และ "ก" เช่น
    • 教会 (kyoukai : เคียวกะอิ) โบสถ์
    • 雪 (yuki : ยุคิ) หิมะ
    • 贈り物 (okurimono : โอะคุริโมะโนะ) ของขวัญ
    • お酒 (osake : สะเกะ) เหล้าสาเก
    • タコ (tako : ทะโกะ) ปลาหมึกยักษ์

การออกเสียงอักษรในแถว が

แถว が (が、ぎ、ぐ、げ、ご)
  1. กรณีที่นำหน้าคำ จะออกเสียงเป็น "ก" เช่น
    • 学生 (gakusei : กะกุเซ) นักเรียน
    • 銀行 (ginkou : กิงโค) ธนาคาร
    • 軍隊 (guntai : กุนตะอิ) กองทัพ
    • 下駄 (geta : เกะตะ) เกี๊ยะ
    • 五 : (go : โกะ) ห้า
  2. กรณีที่ไม่อยู่หน้าคำ จะออกเสียงเป็น "ง" เช่น
    • 大学 (daigaku : ดะอิงะคุ) มหาวิทยาลัย
    • カギ (kagi : คะงิ) กุญแจ
    • 泳ぐ (oyogu : โอะโยะงุ) ว่ายน้ำ
    • 人間 (ningen : นิงเง็ง) มนุษย์
    • 日本語 (nihongo : นิฮงโงะ) ภาษาญี่ปุ่น

การออกเสียงอักษรในแถว た

(เฉพาะ た、て、と)

  1. กรณีที่นำหน้าคำ จะออกเสียงเป็น "ท" เช่น
    • 宝物 (takaramono : ทะกะละโมะโนะ) สมบัติมีค่า
    • 手紙 (tegami : เทะงะมิ) จดหมาย
    • トランプ (toranpu : โทะลัมปุ) ไพ่
  2. กรณีที่ไม่อยู่หน้าคำ จะออกเสียงเป็น "ต" เช่น
    • 刀 (katana : คะตะนะ) ดาบ
    • 交差点 (kousaten : โคสะเต็ง) สี่แยก
    • 音 (oto : (โอะโตะ) เสียง

การออกเสียง ん

  1. ออกเสียงเป็น "ง" กรณีที่ตามหลังด้วยอักษรในแถว 「あ」 「か」 「が」 「は」 「わ」 หรือมี ん เป็นตัวสุดท้าย
    • 原因 (gen-in : เก็อิง) สาเหตุ
    • 天気 (tenki : เท็กิ) สภาวะอากาศ
    • マンガ (manga : มังะ) การ์ตูน
    • 前半 (zenhan : เซ็ฮัง) ครึ่งแรก
    • 電話 (denwa : เด็วะ) โทรศัพท์
    • 日本 (nihon : นิฮ) ญี่ปุ่น
  2. ออกเสียงเป็น "น" กรณีที่ตามหลังด้วยอัษรในแถว 「さ」 「ざ」 「た」 「だ」 「な」 「や」 「ら」
    • 天才 (tensai : เท็สะอิ) อัจฉริยะ
    • 万歳 (banzai : บัสะอิ) ไชโย จงเจริญ
    • 本当 (hontou : ฮโต) จริง
    • 今度 (kondo : คโดะ) ครั้งหน้า
    • 天然 (tennen : เท็เน็ง) ธรรมชาติ
    • 親友 (shinyuu : ชิยู) เพื่อนสนิท
    • 森林 (shinrin : ชิลิง) ป่า
  3. ออกเสียงเป็น "ม" กรณีที่ตามหลังด้วยอักษรในแถว 「ば」「ぱ」「ま」
    • 今晩 (konban : คบัง) เย็นนี้
    • えんぴつ (enpitsu : เอ็ปิทสึ) ดินสอ
    • 新米 (shinmai : ชิมะอิ) ข้าวใหม่

ดังนั้น คำทักทายตอนกลางวัน こんにちは (konnichiwa) จึงออกเสียงเป็น "คนิจิวะ"

ส่วนคำทักทายตอนเย็น こんばんは (konbanwa) จึงออกเสียงเป็น "คบัวะ"

พบ 54 ความเห็นในบทเรียนนี้

ความเห็นที่ 41
คงจบได้ไหม? นี่ไม่แน่ใจว่าหมายถึงจบในระดับไหน
แต่เชื่อว่า จะทำให้เข้าใจไวยากรณ์เบื้องต้นได้แน่ๆ แต่ต้องขยันฝึกด้วยนะครับ
webmaster 20 กพ 57 22:15

ความเห็นที่ 42
ในการสอบ GAT PAT มีการสอบ ภาษาญี่ปุ่นด้วยแต่ไม่ทราบว่า สอบเกี่ยวกับการใช้หรือแค่อ่านออก ก็พอรึเปล่าครับ
J.L.M 26 เมย 57 22:26

ความเห็นที่ 43
ไม่ทราบเลยครับ
webmaster 27 เมย 57 17:23

ความเห็นที่ 44
ปี58แล้วเวปมาสเตอร์ยังอยู่หรือเปล่าครับ

แล้วถ้าสนใจจะเรียนอันนี้รับสอนหรือเปล่าครับ

มีเวปหรือเฟสบุคมั้ยครับ
sumlee 5 มิย 58 09:52

ความเห็นที่ 45
1.ไม่รับสอนครับ
แต่ถ้าอ่านในเว็บแล้วไม่เข้าใจ ตั้งคำถามทิ้งไว้ จะช่วยตอบให้ครับ

2.เฟสกับเว็บ เขียนอยู่ในหน้าแรกครับ
webmaster 10 มิย 58 22:13

ความเห็นที่ 46
อ่านแล้วเข้าใจมากครับ ขอบคุณครับ
T-Jeck 27 ธค 58 20:14

ความเห็นที่ 47
ยินดีครับ ^^
webmaster 20 มค 59 11:12

ความเห็นที่ 48
ขอรบกวนถามค่ะ

ทำไมบางครั้งตัวอักษรเดียวกันถึงต้องเปลี่ยนเสียงด้วยคะ ทั้งที่ในบางครั้งก็มีความหมายเดียวกันด้วย
เช่น
中国 Chūgoku
韓国 Kankoku

หรือนามสกุล
เช่น
林 Hayashi
小林 Kobayashi

แล้วเมื่อไหร่ถึงต้องเปลี่ยงเสียงคะ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
Jiang Minglian 10 กย 59 23:34

ความเห็นที่ 49
รบกวนอีกนิดค่ะ

เลข 1 2 3 ทำไมบางครั้งก็พูดว่า hi fu mi คะ

ขอบคุณมากค่ะ
Jiang Minglian 11 กย 59 00:09

ความเห็นที่ 50
เป็นการนับตัวเลขของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณครับ
ひい ⇒ ひとつ
ふう ⇒ ふたつ
みい ⇒ みっつ(みつ)
よお ⇒ よっつ(よつ)
いつ ⇒ いつつ
むう ⇒ むっつ(むつ)
なな ⇒ ななつ
やあ ⇒ やっつ(やつ)
ここの ⇒ ここのつ
とお ⇒ とお
webmaster 8 พย 59 00:31

1<6

pageviews 8,320,938