อ่าน 182,751 ครั้ง
คำกริยาสามารถผันให้อยู่ในรูปฟอร์มต่างๆ ดังนี้
คำกริยากลุ่มที่ 1
ลงท้ายด้วย ~う
dic form 会-う a-u
nai form 会-わ-ない a-wa-nai
seru form 合-わ-せる a-wa-seru
reru form 会-わ-れる a-wa-reru
masu form 会-い-ます a-i-masu
ta form 会-っ-た a-t-ta
eba form 会-え-ば a-e-ba
form คำสั่ง 会-え a-e
ou form 会-おう a-ou
ลงท้ายด้วย ~く
dic form 書-く ka-ku
nai form 書-か-ない ka-ka-nai
seru form 書-か-せる ka-ka-seru
reru form 書-か-れる ka-ka-reru
masu form 書-き-ます ka-ki-masu
ta form 書-い-た ka-i-ta
eba form 書-け-ば ka-ke-ba
form คำสั่ง 書-け ka-ke
ou form 書-こう ka-kou
ลงท้ายด้วย ~ぐ
dic form 泳-ぐ oyo-gu
nai form 泳-が-ない oyo-ga-nai
seru form 泳-が-せる oyo-ga-seru
reru form 泳-が-れる oyo-ga-reru
masu form 泳-ぎ-ます oyo-gi-masu
ta form 泳-い-だ oyo-i-da
eba form 泳-げ-ば oyo-ge-ba
form คำสั่ง 泳-げ oyo-ge
ou form 泳-ごう oyo-gou
ลงท้ายด้วย ~す
dic form 許-す yuru-su
nai form 許-さ-ない yuru-sa-nai
seru form 許-さ-せる yuru-sa-seru
reru form 許-さ-れる yuru-sa-reru
masu form 許-し-ます yuru-shi-masu
ta form 許-し-た yuru-shi-ta
eba form 許-せ-ば yuru-se-ba
form คำสั่ง 許-せ yuru-se
ou form 許-そう yuru-sou
ลงท้ายด้วย ~つ
dic form 立-つ ta-tsu
nai form 立-た-ない ta-ta-nai
seru form 立-た-せる ta-ta-seru
reru form 立-た-れる ta-ta-reru
masu form 立-ち-ます ta-chi-masu
ta form 立-っ-た ta-t-ta
eba form 立-て-ば ta-te-ba
form คำสั่ง 立-て ta-te
ou form 立-とう ta-tou
ลงท้ายด้วย ~ぬ
dic form 死-ぬ shi-nu
nai form 死-な-ない shi-na-nai
seru form 死-な-せる shi-na-seru
reru form 死-な-れる shi-na-reru
masu form 死-に-ます shi-ni-masu
ta form 死-ん-だ shi-n-da
eba form 死-ね-ば shi-ne-ba
form คำสั่ง 死-ね shi-ne
ou form 死-のう shi-nou
ลงท้ายด้วย ~ぶ
dic form 飛-ぶ to-bu
nai form 飛-ば-ない to-ba-nai
seru form 飛-ば-せる to-ba-seru
reru form 飛-ば-れる to-ba-reru
masu form 飛-び-ます to-bi-masu
ta form 飛-ん-だ to-n-da
eba form 飛-べ-ば to-be-ba
form คำสั่ง 飛-べ to-be
ou form 飛-ぼう to-bou
ลงท้ายด้วย ~む
dic form 読-む yo-mu
nai form 呼-ま-ない yo-ma-nai
seru form 読-ま-せる yo-ma-seru
reru form 読-ま-れる yo-ma-reru
masu form 読-み-ます yo-mi-masu
ta form 読-ん-だ yo-n-da
eba form 読-め-ば yo-me-ba
form คำสั่ง 読-め yo-me
ou form 読-もう yo-mou
ลงท้ายด้วย ~る
dic form 入-る hai-ru
nai form 入-ら-ない hai-ra-nai
seru form 入-ら-せる hai-ra-seru
reru form 入-ら-れる hai-ra-reru
masu form 入-り-ます hai-ri-masu
ta form 入-っ-た hai-t-ta
eba form 入-れ-ば hai-re-ba
form คำสั่ง 入-れ hai-re
ou form 入-ろう hai-rou
คำกริยากลุ่มที่ 2
ลงท้ายด้วย ~(い)る
dic form 見-る mi-ru
nai form 見-ない mi-nai
seru form 見-させる mi-saseru
reru form 見-られる mi-rareru
masu form 見-ます mi-masu
ta form 見-た mi-ta
eba form 見-れば mi-reba
form คำสั่ง 見-ろ mi-ro
ou form 見-よう mi-you
ลงท้ายด้วย ~(え)る
dic form 食べ-る tabe-ru
nai form 食べ-ない tabe-nai
seru form 食べ-させる tabe-saseru
reru form 食べ-られる tabe-rareru
masu form 食べ-ます tabe-masu
ta form 食べ-た tabe-ta
eba form 食べ-れば tabe-reba
form คำสั่ง 食べ-ろ tabe-ro
ou form 食べ-よう tabe-you
คำกริยากลุ่มที่ 3
する
dic form する suru
nai form しない shinai
seru form させる saseru
reru form される sareru
masu form します shimasu
ta form した shita
eba form すれば sureba
form คำสั่ง しろ shiro
ou form しよう shiyou
くる
dic form 来る kuru
nai form 来ない konai
seru form 来させる kosaseru
reru form 来られる korareru
masu form 来ます kimasu
ta form 来た kita
eba form 来れば koreba
form คำสั่ง 来い koi
ou form 来よう koyou
คำอธิบาย
คำกริยาในภาษาญี่ปุ่น สามารถผันเป็นรูปแบบต่างๆ เพื่อเปลี่ยนความหมายได้มากกว่า 10 วิธี เช่น คำว่า "ทาน" สามารถผันเป็น "ไม่ทาน" "ทานแล้ว" "ถ้าทาน" "จงทาน" "ทานได้" "ทานไม่ได้" "ทานกันเถอะ" "ถูกทำให้ทาน" "จะไม่ทาน" "อยากทาน" เป็นต้น
หลักไวยากรณ์ญี่ปุ่นได้แบ่งคำกริยาเป็น 5 กลุ่ม และแบ่งวิธีการผันออกเป็น 6 แบบ แต่เนื่องจากวิธีดังกล่าวมีความยุ่งยากสำหรับชาวต่างชาติที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นในตำราเรียนของชาวต่างชาติ จึงมักจะแบ่งคำกริยาออกเป็น 3 กลุ่ม และแบ่งวิธีการผันออกเป็น 6 แบบ ซึ่งจะมีความสะดวกสำหรับผู้ที่ศึกษาโดยใช้อักษรโรมาจิ
การจัดกลุ่มคำกริยา : แบ่งตามวิธีการผันเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1
คือคำที่ลงท้ายด้วยเสียง u (แต่ไม่รวมถึงคำที่ลงท้ายด้วยเสียง iru และ eru จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2) เป็นกลุ่มที่สามารถผันรูปแบบได้หลากหลาย แต่มีกฏเกณฑ์ที่ชัดเจน
กลุ่มที่ 2
คือคำกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง iru หรือ eru (เว้นแต่คำบางคำที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1) เป็นกลุ่มที่สามารถผันได้เพียงรูปแบบเดียว จึงง่ายต่อการจดจำมากที่สุด
กลุ่มที่ 3
คือคำที่มีวิธีการผันเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งมีเพียง 2 คำ คือ 来る (kuru) และ する (suru) เป็นกลุ่มที่ไม่มีกฏเกณฑ์ในการผัน จึงต้องใช้วิธีท่องจำเท่านั้น
วิธีการผัน : แบ่งตามเสียงและหรือความหมาย เป็น 7 รูปแบบ ดังนี้
dic form หรือฟอร์มในรูปพจนานุกรม เช่น
書-く : ka-ku : เขียน
nai form เช่น
書-か-ない : ka-ka-nai : ไม่เขียน
masu form เช่น
書-き-ます : ka-ki-masu : เขียน (สุภาพ)
書-き-ません : ka-ki-masen : ไม่เขียน (สุภาพ)
書-き-ましょう : ka-ki-mashou : เขียนกันเถอะ (สุภาพ)
書-き-たい : ka-ki-tai : อยากเขียน
書-き-たくない : ka-ki-takunai : ไม่อยากเขียน
ta form เช่น
書-い-た : ka-i-ta : เขียนแล้ว (อดีต)
書-い-て : ka-i-te : (เป็นการผันเพื่อเชื่อมกับคำกริยาอื่น)
書-い-たら : ka-i-tara : ถ้าเขียน
書-い-たり : ka-i-tari : (เป็นการผันเพื่อเชื่อมกับคำกริยาอื่น)
eba form เช่น
書-け-ば : ka-ke-ba : ถ้าเขียน
書-け-たら : ka-ke-tara : ถ้าได้เขียน
form คำสั่ง เช่น
書-け : ka-ke : จงเขียน
ou form เช่น
書-こう : ka-kou : เขียนกันเถอะ
การเปิดพจนานุกรม จะต้องค้นหาจากรูป dic form ไม่สามารถค้นหาจากรูปอื่นๆได้ จึงจำเป็นต้องศึกษาการผันคำกริยาให้เข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถผันคำศัพท์ที่พบเห็น ให้กลับไปในรูป dic form เพื่อค้นหาความหมายจากพจนานุกรมได้ อ่านตรงนี้หน่อย
คำกริยา 行く (iku : ไป) เป็นคำกริยากลุ่มที่ 1 แต่มีข้อยกเว้นคือ ในการผันเป็นรูป ta form จะผันเป็น 行った (i-t-ta) ซึ่งเป็นการผันที่แตกต่างกับคำกริยาที่ลงท้ายด้วย ~く จึงต้องแยกจำเป็นกรณีพิเศษ
คำกริยาบางคำ แม้จะออกเสียงเหมือนกัน แต่จัดอยู่คนละกลุ่ม จึงผันคนละวิธีกัน ต้องแยกจำให้ถูกต้องว่าคำใดเป็นกลุ่มที่ 1 และคำใดเป็นกลุ่มที่ 2 เช่นกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 切る ki-ru ตัด 着る ki-ru สวมเสื้อ 帰る kae-ru กลับ 変える ka-eru เปลี่ยน 要る i-ru ต้องการ 居る i-ru อยู่ 練る ne-ru นวด 寝る ne-ru นอน
โพสต์ความเห็น
พบ 49 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 11
書-い-たら : ka-i-tara : ถ้าเขียน
書-け-ば : ka-ke-ba : ถ้าเขียน
สองประโยคความหมายเหมือนกัน แล้วมันใช้ต่างกันตรงไหนค่ะ
ขอเดาว่า 書-い-たら เป็นภาษาพูด(เคยได้ยินจากการสนทนากับคนญี่ปุ่น)
書-け-ば เป็นภาษาเขียน(เคยเห็นในเมลล์คนญี่ปุ่นส่งมาให้ค่ะ)
ใช่ไหมค่ะ? รบกวนช่วยชี้แนะด้วยค่ะ[roll][roll]
waraporn
2 มิย 57 07:41
ความเห็นที่ 12
ทั้ง 2 ตัว ค่อนข้างคล้ายกันครับ
ดึงคำอธิบายบางส่วนมาจากในเน็ตประมาณนี้ครับ
~たら
1.แสดงเงื่อนไขเป็นครั้งๆ โดยให้น้ำหนักไปที่ผล เช่น
暑かったら、エアコンをつけてもいいです
atsukattara, eakon o tsukete mo ii desu
ถ้าร้อน จะเปิดแอร์ก็ได้ -> ให้น้ำหนักที่ผล คือ "เปิดแอร์ได้นะ" ถ้าร้อน
2.แสดงเงื่อนไขที่เกิดตามเวลา
六時になったら、帰ろう
rokuji ni nattara, kaerou
ถ้าถึง 6 โมง ก็กลับกันนะ
~ば
1.แสดงเงื่อนไขของเหตุและผลที่เป็นสิ่งตายตัว โดยให้น้ำหนักไปที่ต้นเหตุมากกว่า เช่น
晴れば、富士山が見える
hareba, fujisan ga mieru
ถ้าท้องฟ้าแจ่มใส จะเห็นภูเขาฟูจิ -> ให้น้ำหนักที่สาเหตุ ถือ "ถ้าท้องฟ้าแจ่มใส" ก็จะมองเห็นภูเขาฟูจิเสมอ
2.แสดงเงื่อนไขเป็นครั้งๆ เพื่อแสดงความประสงค์ของผู้พูด เช่น
安ければ、買います
yasukereba, kaimasu
ถ้าถูก ก็จะซื้อ -> เป็นเงื่อนไขเฉพาะครั้งนั้นๆ ครั้งต่อไป ถึงแม้จะถูก อาจจะไม่ซื้อก็ได้
webmaster
2 มิย 57 22:31
ความเห็นที่ 13
ขอบคุณมากค่ะ
แต่ตัวอย่างของ -ば มันใช้รูป ーたら อยู่ค่ะ
(>人<;)
มันคล้ายกันมากจริงๆ ด้วยค่ะ แต่จะพยายามทำความเข้าใจค่ะ\(^o^)/
Waraporn
14 มิย 57 10:19
ความเห็นที่ 14
555 มันคล้ายกันจนพิมพ์ผิด
ได้แก้ไขคำตอบที่ 12 แล้วครับ [haha]
webmaster
17 มิย 57 14:49
ความเห็นที่ 15
สอบหน่อยค่ะ
เวลาจำกริยาเนี่ย ควรจะจำจากรูปพจนุกรม หรือจำจากกริยารูป masu ดีคะ
คือยังผันไม่ค่อยเก่ง เวลาเจอศัพท์ใหม่ๆควรจะจำจากอะไรดี
ถ้าอ่านจากในหนังสือ ส่วนมากมันจะให้รูป masu มา
แต่เรารู้สึกว่า ถ้าอยากฟังให้คล่องๆ มันควรจะชินกับรูป dic มากกว่า
อิ๋ว
5 สค 57 23:45
ความเห็นที่ 16
เท่าที่เคยอ่านในตำรา มีความเห็นแตกต่างกันว่า ควรเริ่มเรียนจาก dic form หรือ masu form
แต่สุดท้าย ตำราเท่าที่ผมเคยเห็นก็เริ่มสอนจาก masu form
masu form มีข้อเสียคือ ต้องจำหลายรอบ
คือเมื่อจำ masu form แล้ว ก็ต้องกลับไปจำ dic form แล้วจึงค่อยจำการผันฟอร์มเป็นรูปอื่น
นอกจากนี้ ช่วงแรกๆ ก็พูดคุยกับคนอื่นลำบาก เพราะส่วนใหญ่จะพูดคุยด้วยฟอร์มกันเอง
แต่มีข้อดี คือความปลอดภัยในการพูดอย่างสุภาพ ไม่เสียมารยาทโดยรู้เท่าไม่ถึงการ
dic form มีข้อดีคือ จำการผันฟอร์มเพียงรอบเดียว และใช้พูดคุยได้เร็ว
แต่มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเสียมารยาทในการพูดกับคนอื่น
หากเรียนจาก masu form และจำการผันฟอร์มได้แล้ว
การจำคำกริยา ให้จำในรูป dic form และเวลาพูดให้ใช้ masu form จะดีที่สุดครับ
webmaster
12 สค 57 10:02
ความเห็นที่ 17
อ่อ ค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
คือเราเริ่มจำจาก masu form พอเจอรูป dic form ก็จะสตั้นไปประมาณ ห้าวิ ก่อนจะเริ่มผัน
เช่น araimasu กับ arau เนี่ย ตอนแรกจำไม่ได้ว่า arau แปลว่าล้าง
จากนี้ไปจะพยายามจำเป็นรูป dic form มากขึ้นค่ะ
แต่เท่าที่เปิดๆดู มินนะ เล่ม 3 ยังให้ศัพท์เราเป็น masu form อยู่เลย
อิ๋ว
12 สค 57 19:14
ความเห็นที่ 18
ฟุตสึเค คืออะไรคะ แปลว่าอะไร
แล้วการผันรูปแบบต่างๆทั้งหมดใช่ฟุตสึเคหรือเปล่าคะ[question][question][sad][sad]
จุฑามาศ
13 สค 57 18:12
ความเห็นที่ 19
1. 普通形 (futsuu kei) คือ ฟอร์มปกติ
● คือคำกริยาหรือคุณศัพท์ที่อยู่ในรูปขยายคำนาม เช่น
食べる人 (taberu hito) แปลว่า คนที่ทาน / 食べる ในวลีนี้คือฟอร์มปกติ
食べた人 (tabeta hito) แปลว่า คนที่ทาน (อดีต) / 食べた ในวลีนี้คือฟอร์มปกติ
● หรืออยู่ในรูปที่เป็นคู่กับฟอร์มสุภาพ เช่น
ฟอร์มสุภาพ 食べます ⇔ 食べる ฟอร์มปกติ
ฟอร์มสุภาพ 食べました ⇔ 食べた ฟอร์มปกติ
2. 辞書形 (jisho kei) คือ ฟอร์มพจนานุกรม (dic form)
● คือคำกริยาหรือคุณศัพท์ที่สามารถเปิดเจอในดิก
食べる คือ dic form
食べた ไม่ใช่ dic form
食べる เป็นทั้งฟอร์มปกติ และ dic form
食べた เป็นฟอร์มปกติ แต่ไม่ใช่ dic form
คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นสามารถผันเป็นฟอร์มต่างๆ เช่น -masu form, -nai form, -ta form, -te form, -you form, form คำสั่ง ฯ
แต่ฟอร์มปกติ ไม่ใช่เรื่องของการผันฟอร์มครับ
webmaster
14 สค 57 08:41
ความเห็นที่ 20
คำว่า 行く(ไป)อ่านในหนังสือ...ให้ผันเป็น 行って ค่ะ
รึใช้ได้2แบบค่ะ
o..o som
30 กย 57 17:03
1 1 2 3 4 5 > 5
pageviews 8,319,721
Top