อ่าน 182,745 ครั้ง
คำกริยาสามารถผันให้อยู่ในรูปฟอร์มต่างๆ ดังนี้
คำกริยากลุ่มที่ 1
ลงท้ายด้วย ~う |
dic form | 会-う | a-u |
nai form | 会-わ-ない | a-wa-nai |
seru form | 合-わ-せる | a-wa-seru |
reru form | 会-わ-れる | a-wa-reru |
masu form | 会-い-ます | a-i-masu |
ta form | 会-っ-た | a-t-ta |
eba form | 会-え-ば | a-e-ba |
form คำสั่ง | 会-え | a-e |
ou form | 会-おう | a-ou |
ลงท้ายด้วย ~く |
dic form | 書-く | ka-ku |
nai form | 書-か-ない | ka-ka-nai |
seru form | 書-か-せる | ka-ka-seru |
reru form | 書-か-れる | ka-ka-reru |
masu form | 書-き-ます | ka-ki-masu |
ta form | 書-い-た | ka-i-ta |
eba form | 書-け-ば | ka-ke-ba |
form คำสั่ง | 書-け | ka-ke |
ou form | 書-こう | ka-kou |
ลงท้ายด้วย ~ぐ |
dic form | 泳-ぐ | oyo-gu |
nai form | 泳-が-ない | oyo-ga-nai |
seru form | 泳-が-せる | oyo-ga-seru |
reru form | 泳-が-れる | oyo-ga-reru |
masu form | 泳-ぎ-ます | oyo-gi-masu |
ta form | 泳-い-だ | oyo-i-da |
eba form | 泳-げ-ば | oyo-ge-ba |
form คำสั่ง | 泳-げ | oyo-ge |
ou form | 泳-ごう | oyo-gou |
ลงท้ายด้วย ~す |
dic form | 許-す | yuru-su |
nai form | 許-さ-ない | yuru-sa-nai |
seru form | 許-さ-せる | yuru-sa-seru |
reru form | 許-さ-れる | yuru-sa-reru |
masu form | 許-し-ます | yuru-shi-masu |
ta form | 許-し-た | yuru-shi-ta |
eba form | 許-せ-ば | yuru-se-ba |
form คำสั่ง | 許-せ | yuru-se |
ou form | 許-そう | yuru-sou |
ลงท้ายด้วย ~つ |
dic form | 立-つ | ta-tsu |
nai form | 立-た-ない | ta-ta-nai |
seru form | 立-た-せる | ta-ta-seru |
reru form | 立-た-れる | ta-ta-reru |
masu form | 立-ち-ます | ta-chi-masu |
ta form | 立-っ-た | ta-t-ta |
eba form | 立-て-ば | ta-te-ba |
form คำสั่ง | 立-て | ta-te |
ou form | 立-とう | ta-tou |
ลงท้ายด้วย ~ぬ |
dic form | 死-ぬ | shi-nu |
nai form | 死-な-ない | shi-na-nai |
seru form | 死-な-せる | shi-na-seru |
reru form | 死-な-れる | shi-na-reru |
masu form | 死-に-ます | shi-ni-masu |
ta form | 死-ん-だ | shi-n-da |
eba form | 死-ね-ば | shi-ne-ba |
form คำสั่ง | 死-ね | shi-ne |
ou form | 死-のう | shi-nou |
ลงท้ายด้วย ~ぶ |
dic form | 飛-ぶ | to-bu |
nai form | 飛-ば-ない | to-ba-nai |
seru form | 飛-ば-せる | to-ba-seru |
reru form | 飛-ば-れる | to-ba-reru |
masu form | 飛-び-ます | to-bi-masu |
ta form | 飛-ん-だ | to-n-da |
eba form | 飛-べ-ば | to-be-ba |
form คำสั่ง | 飛-べ | to-be |
ou form | 飛-ぼう | to-bou |
ลงท้ายด้วย ~む |
dic form | 読-む | yo-mu |
nai form | 呼-ま-ない | yo-ma-nai |
seru form | 読-ま-せる | yo-ma-seru |
reru form | 読-ま-れる | yo-ma-reru |
masu form | 読-み-ます | yo-mi-masu |
ta form | 読-ん-だ | yo-n-da |
eba form | 読-め-ば | yo-me-ba |
form คำสั่ง | 読-め | yo-me |
ou form | 読-もう | yo-mou |
ลงท้ายด้วย ~る |
dic form | 入-る | hai-ru |
nai form | 入-ら-ない | hai-ra-nai |
seru form | 入-ら-せる | hai-ra-seru |
reru form | 入-ら-れる | hai-ra-reru |
masu form | 入-り-ます | hai-ri-masu |
ta form | 入-っ-た | hai-t-ta |
eba form | 入-れ-ば | hai-re-ba |
form คำสั่ง | 入-れ | hai-re |
ou form | 入-ろう | hai-rou |
คำกริยากลุ่มที่ 2
ลงท้ายด้วย ~(い)る |
dic form | 見-る | mi-ru |
nai form | 見-ない | mi-nai |
seru form | 見-させる | mi-saseru |
reru form | 見-られる | mi-rareru |
masu form | 見-ます | mi-masu |
ta form | 見-た | mi-ta |
eba form | 見-れば | mi-reba |
form คำสั่ง | 見-ろ | mi-ro |
ou form | 見-よう | mi-you |
ลงท้ายด้วย ~(え)る |
dic form | 食べ-る | tabe-ru |
nai form | 食べ-ない | tabe-nai |
seru form | 食べ-させる | tabe-saseru |
reru form | 食べ-られる | tabe-rareru |
masu form | 食べ-ます | tabe-masu |
ta form | 食べ-た | tabe-ta |
eba form | 食べ-れば | tabe-reba |
form คำสั่ง | 食べ-ろ | tabe-ro |
ou form | 食べ-よう | tabe-you |
คำกริยากลุ่มที่ 3
する |
dic form | する | suru |
nai form | しない | shinai |
seru form | させる | saseru |
reru form | される | sareru |
masu form | します | shimasu |
ta form | した | shita |
eba form | すれば | sureba |
form คำสั่ง | しろ | shiro |
ou form | しよう | shiyou |
くる |
dic form | 来る | kuru |
nai form | 来ない | konai |
seru form | 来させる | kosaseru |
reru form | 来られる | korareru |
masu form | 来ます | kimasu |
ta form | 来た | kita |
eba form | 来れば | koreba |
form คำสั่ง | 来い | koi |
ou form | 来よう | koyou |
คำอธิบาย
- คำกริยาในภาษาญี่ปุ่น สามารถผันเป็นรูปแบบต่างๆ เพื่อเปลี่ยนความหมายได้มากกว่า 10 วิธี เช่น คำว่า "ทาน" สามารถผันเป็น "ไม่ทาน" "ทานแล้ว" "ถ้าทาน" "จงทาน" "ทานได้" "ทานไม่ได้" "ทานกันเถอะ" "ถูกทำให้ทาน" "จะไม่ทาน" "อยากทาน" เป็นต้น
- หลักไวยากรณ์ญี่ปุ่นได้แบ่งคำกริยาเป็น 5 กลุ่ม และแบ่งวิธีการผันออกเป็น 6 แบบ แต่เนื่องจากวิธีดังกล่าวมีความยุ่งยากสำหรับชาวต่างชาติที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นในตำราเรียนของชาวต่างชาติ จึงมักจะแบ่งคำกริยาออกเป็น 3 กลุ่ม และแบ่งวิธีการผันออกเป็น 6 แบบ ซึ่งจะมีความสะดวกสำหรับผู้ที่ศึกษาโดยใช้อักษรโรมาจิ
- การจัดกลุ่มคำกริยา : แบ่งตามวิธีการผันเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ 1
คือคำที่ลงท้ายด้วยเสียง u (แต่ไม่รวมถึงคำที่ลงท้ายด้วยเสียง iru และ eru จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2) เป็นกลุ่มที่สามารถผันรูปแบบได้หลากหลาย แต่มีกฏเกณฑ์ที่ชัดเจน
- กลุ่มที่ 2
คือคำกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง iru หรือ eru (เว้นแต่คำบางคำที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1) เป็นกลุ่มที่สามารถผันได้เพียงรูปแบบเดียว จึงง่ายต่อการจดจำมากที่สุด
- กลุ่มที่ 3
คือคำที่มีวิธีการผันเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งมีเพียง 2 คำ คือ 来る (kuru) และ する (suru) เป็นกลุ่มที่ไม่มีกฏเกณฑ์ในการผัน จึงต้องใช้วิธีท่องจำเท่านั้น
- วิธีการผัน : แบ่งตามเสียงและหรือความหมาย เป็น 7 รูปแบบ ดังนี้
-
dic form หรือฟอร์มในรูปพจนานุกรม เช่น
- 書-く : ka-ku : เขียน
-
nai form เช่น
- 書-か-ない : ka-ka-nai : ไม่เขียน
-
masu form เช่น
- 書-き-ます : ka-ki-masu : เขียน (สุภาพ)
書-き-ません : ka-ki-masen : ไม่เขียน (สุภาพ)
書-き-ましょう : ka-ki-mashou : เขียนกันเถอะ (สุภาพ)
書-き-たい : ka-ki-tai : อยากเขียน
書-き-たくない : ka-ki-takunai : ไม่อยากเขียน
-
ta form เช่น
-
書-い-た : ka-i-ta : เขียนแล้ว (อดีต)
書-い-て : ka-i-te : (เป็นการผันเพื่อเชื่อมกับคำกริยาอื่น)
書-い-たら : ka-i-tara : ถ้าเขียน
書-い-たり : ka-i-tari : (เป็นการผันเพื่อเชื่อมกับคำกริยาอื่น)
-
eba form เช่น
- 書-け-ば : ka-ke-ba : ถ้าเขียน
書-け-たら : ka-ke-tara : ถ้าได้เขียน
-
form คำสั่ง เช่น
- 書-け : ka-ke : จงเขียน
-
ou form เช่น
- 書-こう : ka-kou : เขียนกันเถอะ
- การเปิดพจนานุกรม จะต้องค้นหาจากรูป dic form ไม่สามารถค้นหาจากรูปอื่นๆได้ จึงจำเป็นต้องศึกษาการผันคำกริยาให้เข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถผันคำศัพท์ที่พบเห็น ให้กลับไปในรูป dic form เพื่อค้นหาความหมายจากพจนานุกรมได้
อ่านตรงนี้หน่อย
- คำกริยา 行く (iku : ไป) เป็นคำกริยากลุ่มที่ 1 แต่มีข้อยกเว้นคือ ในการผันเป็นรูป ta form จะผันเป็น 行った (i-t-ta) ซึ่งเป็นการผันที่แตกต่างกับคำกริยาที่ลงท้ายด้วย ~く จึงต้องแยกจำเป็นกรณีพิเศษ
- คำกริยาบางคำ แม้จะออกเสียงเหมือนกัน แต่จัดอยู่คนละกลุ่ม จึงผันคนละวิธีกัน ต้องแยกจำให้ถูกต้องว่าคำใดเป็นกลุ่มที่ 1 และคำใดเป็นกลุ่มที่ 2 เช่น
กลุ่มที่ 1 | กลุ่มที่ 2 |
切る ki-ru ตัด | 着る ki-ru สวมเสื้อ |
帰る kae-ru กลับ | 変える ka-eru เปลี่ยน |
要る i-ru ต้องการ | 居る i-ru อยู่ |
練る ne-ru นวด | 寝る ne-ru นอน |
พบ 49 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 41
ไม่ชัวร์ว่าที่ผมสรุปถูกต้องหรือไม่นะครับ ถ้ามีผิดรบกวนสอนด้วยนะครับ
กริยากลุ่ม1 (ไม่รวมตัวที่ถูกยกเว้น)
ที่ลงท้ายด้วย う、る、つ เวลาผัน te หรือ ta-form ให้เปลี่ยน う、る้、つ เป็น っแล้วเติม てหรือ た
ที่ลงท้ายด้วย く เวลาผัน te หรือ ta-form ให้เปลี่ยน く เป็น いแล้วเติม てหรือ た
ที่ลงท้ายด้วย ぐ เวลาผัน te หรือ ta-form ให้เปลี่ยน ぐ เป็น いแล้วเติม でหรือ だ
ที่ลงท้ายด้วย ぬ、ぶ、む เวลาผัน te หรือ ta-form ให้เปลี่ยน ぬ、ぶ、む เป็น んแล้วเติม でหรือ だ
ที่ลงท้ายด้วย す เวลาผัน te หรือ ta-form ให้เปลี่ยน す เป็น しแล้วเติม てหรือ た
Akarin
22 พค 58 16:43
ความเห็นที่ 42
สรุปได้ถูกต้องครับ ตามนั้นเลย
webmaster
23 พค 58 19:36
ความเห็นที่ 43
ขอบคุณมาก ๆ ครับ ^_^
にこにこ
24 พค 58 21:17
ความเห็นที่ 44
ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวกับเนื้อหานี้มั้ย
แต่หาแล้วไม่รู้อยู่หัวข้อไหน
คือ อยากทราบว่า
ตอนค้นหาคำศัพท์ญี่ปุ่น (V5R, V5S, V5M, V1, ADJ-NO) ตัวย่อเหล่านี้มันหมายความว่าอย่างไรครับ?
kuno
8 กค 58 12:27
ความเห็นที่ 45
V5 คือคำกริยาที่ผันได้ 5 เสียง -a, -i, -u, -e, -o
เช่น yomu ผันได้ทั้ง 5 เสียง คือ yo(ma)nai, yo(mi)masu, yo(mu), yo(me), yo(mo)u
V5 ก็คือคำกริยากลุ่มที่ 1 นั่นเอง
V5R คือคำกริยากลุ่มที่ 1 ซึ่งลงท้ายด้วยเสียง -ru เช่น 折る(oru)、分かる(wakaru)
V5S คือคำกริยากลุ่มที่ 1 ซึ่งลงท้ายด้วยเสียง -su เช่น 押す (osu)、話す(hanasu)
V5M คือคำกริยากลุ่มที่ 1 ซึ่งลงท้ายด้วยเสียง -mu เช่น 読む (yomu)、編む(amu)
V1 คือคำกริยาที่ผันเสียงเดียว คือ -e (+ru) หรือเสียง -i (+ru)
เช่น taberu ผันเป็นเสียง -e เสียงเดียว เช่น ta(be)ru, ta(be)nai, ta(be)masu, ta(be)you, ta(be)ro
V1 ก็คือคำกริยากลุ่มที่ 2 นั่นเอง
ADJ-NO คือคำ adj ที่มีสถานะเป็นคำนามด้วย
adj-na ที่ไม่มีสถานะเป็นคำนาม เวลาใช้ขยายคำนาม จะใช้ในรูป adj na + N เช่น きれいな人
ส่วน adj-no ที่มีสถานะเป็นคำนาม จะใช้ในรูป -no เช่น 永遠の別れ (eien no wakare)
หรือบางคำใช้ในรูป -na หรือ -no ก็ได้ เช่น 最高な気分 (saikou na kibun) หรือ 最高の気分 (saikou no kibun) ก็ได้ ครับ
webmaster
8 กค 58 23:09
ความเห็นที่ 46
ขอบคุณมากครับ
(หาคำตอบหลายที่ ไม่พบ..
มาพบที่นี่..ไม่ผิดหวังจริงๆ)
[smile][smile][smile]
kuno
9 กค 58 20:40
ความเห็นที่ 47
ท่านอาจารย์ครับ ผมงง มากเรื่อง て
ผมผันรูป て ได้อย่างสบายและง่ายดายมาก!! แต่ไม่เข้าใจว่า ทำไม?ญี่ปุ่นต้องฝันรูปนี้ครับ เอาไปใช้ยังไง ?
ความหมายมันคืออะไร?
น้องตึ้ม
22 ธค 58 17:01
ความเห็นที่ 48
te form มีประมาณ 9 ความหมาย link นี้ครับ
http://www.j-campus.com/grammar/?chapter=15
webmaster
26 ธค 58 17:39
ความเห็นที่ 49
เป็นเว็บที่สอนภาษาญี่ปุ่นที่ดีมากตลอดกาลและตลอดไปค่ะ
Junko
24 สค 67 02:05
1<
pageviews 8,319,429