อ่าน 160,560 ครั้ง
を เป็นคำช่วยเพื่อระบุกรรม สถานที่เริ่มต้นการเดินทางหรือเดินทางผ่าน หรือบุคคลที่ถูกกระทำ
ประธาน +が + | กรรม สถานที่ บุคคล | +を +กริยา +ます |
- お兄さん が テレビ を 見ます
Oniisan ga terebi o mimasu
พี่ชายดูทีวีครับ/ค่ะ
- 弟 が 本 を 読みます
Otouto ga hon o yomimasu
น้องชายอ่านหนังสือครับ/ค่ะ
- お母さん が かぜ を 引きます
Okaasan ga kaze o hikimasu
คุณแม่เป็นหวัดครับ/ค่ะ
- おばあさん が 気 を 失います
Obaasan ga ki o ushinaimasu
คุณยายหมดสติครับ/ค่ะ
- 子供 が 道路 を 渡ります
Kodomo ga douro o watarimasu
เด็กข้ามถนนครับ/ค่ะ
- 弟 が 廊下 を 走ります
Otouto ga rouka o hashirimasu
น้องชายวิ่งตามระเบียงครับ/ค่ะ
- 先生 が 教室 を 出ます
Sensei ga kyoushitsu o demasu
อาจารย์ออกจากห้องเรียนครับ/ค่ะ
- 飛行機 が 空港 を 出発します
Hikouki ga kuukou o shuppatsu shimasu
เครื่องบินออกเดินทางจากสนามบินครับ/ค่ะ
- 彼 が 友達 を 笑わせます
Kare ga tomodachi o warawasemasu
เขาทำให้เพื่อนหัวเราะ
- 店員 が お客さん を 満足させます
Ten-in ga okyakusan o manzoku sasemasu
พนักงานทำให้ลูกค้าพึงพอใจครับ/ค่ะ
- 彼女 を 喜ばせます
Kanojo o yorokobasemasu
ทำให้เธอมีความสุขครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
- を เป็นคำช่วยซึ่งมีการใช้งาน ดังนี้
- ชี้กรรมซึ่งเป็นการกระทำโดยตรง เช่น ทานข้าว ดื่มน้ำ เขียนหนังสือ ตามตัวอย่างที่ ①-②
- ชี้กรรมสิ่งเป็นการกระทำเชิงนามธรรม ตามตัวอย่างที่ ③-④)
- ชี้สถานที่ซึ่งเป็นเส้นทางในการเดินทาง โดยมีคำกริยาเป็นอกรรมกริยา เช่น เดินข้ามถนน วิ่งตามระเบียง ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥
- ชี้สถานที่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทาง โดยมีคำกริยาเป็นอกรรมกริยา เช่น ออกจากห้อง ออกจากบ้าน ตามตัวอย่างที่ ⑦-⑧
- ชี้บุคคลที่ถูกกระทำ เช่น ทำให้เขาโกรธ ทำให้เธอมีความสุข ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑪
อ่านตรงนี้หน่อย
ทำไมประโยคในภาษาญี่ปุ่นจึงไม่เรียงคำเหมือนกับภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
เช่น ฉันทานข้าว ทำไมในภาษาญี่ปุ่น จึงใช้ว่า ฉัน ข้าว ทาน
เรื่องนี้อธิบายได้ไม่ยาก
ประโยคในภาษาญี่ปุ่นมีโครงสร้างพื้นฐาน 2 ส่วน คือ 1)ส่วนที่เป็นประธาน และ 2)ส่วนที่เป็นภาคแสดง
ประโยค "ฉันทานข้าว" มีส่วนที่เป็นประธาน คือ "ฉัน" และส่วนที่เป็นภาคแสดง คือ "ทาน"
ในภาษาญี่ปุ่น วลีที่ขยายประธาน จะต้องวางไว้หน้าประธาน และวลีที่ขยายภาคแสดง จะต้องวางไว้หน้าภาคแสดงเสมอ
ดังนั้น "ข้าว" ซึ่งเป็นวลีที่ขยายภาคแสดง จึงต้องวางไว้หน้าคำว่า "ทาน"
- เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้น ขอยกตัวอย่างประโยค คือ "ฉันดื่มน้ำเย็น"
คำว่า "เย็น : tsumetai" เป็นคำคุณศัพท์ขยาย "น้ำ : mizu" จึงต้องนำคำว่า "เย็น" ไปวางไว้หน้า "น้ำ"
คำว่า "น้ำเย็น" จึงต้องพูดว่า --> つめたい みず : tsumetai mizu
แต่ "น้ำเย็น" ก็เป็นส่วนที่ขยายภาคแสดงคือ "ดื่ม : nomimasu" ดังนั้น จึงต้องนำคำว่า "น้ำเย็น" ไปไว้หน้า "ดื่ม" อีกต่อหนึ่ง
ฉันดื่มน้ำเย็น จึงต้องพูดว่า 私 は つめたい 水 を 飲みます : Watashi wa tsumetai mizu o nomimasu
พบ 24 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 1
อธิบายได้ละเอียดดีมากๆค่ะ ขอให้มีบทอื่นมาเพิ่มอีกนะค่ะ
จะจ๋า
2 พย 53 6:05:
ความเห็นที่ 2
จะพยายามหาเวลามาทำบทต่อๆไปให้เสร็จครับ
webmaster
20 พย 53 18:53
ความเห็นที่ 3
ดีมากเลยครับ ได้ทบทวนไปในตัว อธิบายเข้าใจง่ายดีครับ
guntou
23 พย 53 10:53
ความเห็นที่ 4
遊びます อ่านว่า asobimasu น่ะครับ แปลว่า เล่น ครับ
ギン
15 มีค 54 21:33
ความเห็นที่ 5
ขอบคุณคุณ ギン ครับ
webmaster
5 เมย 54 22:58
ความเห็นที่ 6
ขอสอบถามครับ
ทำไมตัวอย่างที่ 1 กับ 2 ใช้ は แต่ตัวอย่างที่ 3 กับ 4 ใช้ が ล่ะครับ??
เป็นเพราะว่า ประโยคที่ 1 กับ 2 เน้นประธาน คือ 私 กับ 弟 ว่าเป็นคนทำกิริยานั้น
แต่ประโยค 3 กับ 4 เป็นประโยคธรรมดา อย่างนี้หรือเปล่าครับ
phenobarb
18 มค 57 21:52
ความเห็นที่ 7
..
..
18 มค 57 21:53
ความเห็นที่ 8
ขอบคุณ phenobard ที่ช่วยท้วงครับ
บทเรียนนี้ไม่ได้ตั้งใจจะสอนถึงความแตกต่างของ は และ が ผมเพียงแค่ยกตัวอย่างไม่เหมาะสมเอง
ขอเปลี่ยนคำช่วยชี้ประธานทั้งหมดเป็น が เพื่อไม่ให้สับสนครับ
ปล.ถ้าเปลี่ยนจาก が เป็น は ก็จะกลายเป็นอย่างที่คุณ phenobard บอกครับ
webmaster
21 มค 57 08:51
ความเห็นที่ 9
รบกวนแนะนำหน่อยค่ะ พอดีงงในส่วนของ"คำอธิบาย" ลำดับที่3และ4
ที่บอกว่าตัวอย่างที่5,6 และ7,8 เป็นอกรรมกริยา
จากที่อ่านบทที่ 16 คำกริยา ที่อธิบายว่า
อกรรมกริยาเป็นกริยาที่ผลของการกระทำเกิดขึ้นกับประธานเท่านั้น
ดังนั้น เด็กข้ามถนน. น้องชายวิ่งตามระเบียง
เข้าใจว่าผลของการกระทำ คือ ถนน และ ระเบียง ซึ่งไม่ใช่ประธาน
เลยค่อนข้างสับสนในส่วนนี้
และอยากทราบว่าทั้ง. อกรรมกริยาและสกรรมกริยา ใช้คำช่วย をทั้งคู่ไหมคะ
เนื่องจาก を เป็นคำช่วยชี้กรรม. อย่างอกรรมกริยานี่ต้องมีกรรมไหมคะ
เป็นเด็กใหม่พึ่งเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตัวเองจากเวปนี้เป็นหลักค่ะ
เป็นเวปไซต์ที่ดีมาก ชอบมากเลยค่ะ
ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ
ようろしくおぬがいします(ไม่แน่ใจว่าใช้ถูกหรือเปล่าค่ะ)
ありがとうございます
Numberbee
15 พย 58 04:07
ความเห็นที่ 10
ในบทที่ 16 เขียนไว้ว่า อกรรมกริยาคือคำกริยาที่ผลการกระทำเกิดอยู่ประธานเท่านั้น ไม่ส่งผลที่เกิดกับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น เช่น ดอกไม้บาน ฝนตก คนเดิน
ส่วนสกรรมกริยา คือคำกริยาที่ผลการกระทำเกิดขึ้นโดยตรงกับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น เช่น อ่านหนังสือ หยิบกระดาษ จับขโมย ทำอาหาร
อย่าจำเพียงว่า を ใช้กับอกรรมกริยาหรือสกรรมกริยา
แต่ขอให้ทำความเข้าใจจากหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อ ที่เขียนในหัวข้อคำอธิบาย
แต่หากอ่านคำอธิบายทั้ง 5 ข้อ แล้วไม่เข้าใจ ให้แยกถามมานะครับว่าไม่เข้าใจข้อไหน
---------------------------
よろしくおねがいします。
สะกดตามนี้ครับ
webmaster
15 พย 58 21:34
>3
pageviews 8,406,343