อ่าน 158,967 ครั้ง
と เป็นคำช่วยเพื่อ ① เชื่อมคำนามที่มีสถานะเท่ากัน ② ชี้บุุคคลที่ร่วมกระทำกัน โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
ประธาน 1 と ประธาน 2 | +は +คำนาม +です +は +คุณศัพท์ +です +が +กริยา +ます |
ประธาน +は +คำนาม 1 と คำนาม 2 +です |
ประธาน +が +บุคคล +と +กริยา +ます |
- きゅうり と トマト は 野菜 です。
Kyuuri to tomato wa yasai desu
แตงกวาและมะเขือเทศเป็นผักครับ/ค่ะ
- みかん と りんご も 野菜 です か。
Mikan to ringo mo yasai desu ka
ส้มและแอปเปิ้ลก็เป็นผักหรือครับ/ค่ะ
- いいえ、みかん と りんご は 果物 です。
Iie, Mikan to ringo wa kudamono desu
ไม่ ส้มและแอปเปิ้ลเป็นผลไม้ครับ/ค่ะ
- これ は ニンジン と ネギ です。
Kore wa ninjin to negi desu
นี่คือแครอทและต้นหอมครับ/ค่ะ
- 中国 と インド は 広い です
Chuugoku to Indo wa hiroi desu
ประเทศ่จีนกับประเทศอินเดียกว้างครับ/ค่ะ
- シンガポール と 台湾 も 広い です か
Singapooru to Taiwan mo hiroi desu ka
ประเทศสิงคโปร์กับประเทศไต้หวันก็กว้างหรือครับ/ค่ะ
- いいえ、シンガポール と 台湾 は 広く ありません
Iie, Singapooru to Taiwan wa hiroku arimasen
ไม่ ประเทศสิงคโปร์กับประเทศไต้หวันไม่กว้างครับ/ค่ะ
- シンガポール と 台湾 は 狭い です
Singapooru to Taiwan wa semai desu
ประเทศสิงคโปร์กับประเทศไต้หวันแคบครับ/ค่ะ
- 私 と お兄さん と お姉さん が 勉強 します
Watashi to oniisan to oneesan ga benkyou shimasu
ฉันกับพี่ชายและพี่สาวเรียนหนังสือครับ/ค่ะ
- 弟 と 妹 も 勉強 します か
Otouto to imouto mo benkyou shimasu ka
น้องชายกับน้องสาวก็เรียนหรือครับ/ค่ะ
- いいえ、弟 と 妹 は 勉強 しません
Iie, Otouto to imouto wa benkyou shimasen
น้องชายกับน้องสาวไม่เรียนครับ/ค่ะ
- 弟 と 妹 は 遊びます
Otouto to imouto wa asobimasu
น้องชายกับน้องสาวเล่นครับ/ค่ะ
- 私 は 彼 と 結婚 します
Watashi wa kare to kekkon shimasu
ฉันจะแต่งงานกับเขาค่ะ
- お父さん が お母さん と 話します
Otousan ga okaasan to hanashi masu
คุณพ่อคุยกับคุณแม่ครับ/ค่ะ
- お兄さん は 友達 と 一緒に 帰ります
Oniisan wa tomodachi to issho ni kaerimasu
พี่ชายกลับบ้านพร้อมกับเพื่อนครับ/ค่ะ
- 妹 は 毎日 お母さん と 一緒に 寝ます
Imouto wa mainichi okaasan to issho ni nemasu
น้องสาวนอนด้วยกันกับคุณแม่ทุกวันครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
- と เป็นคำช่วยเพื่อ
- ใช้เชื่อมคำนามตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป โดยคำนามนั้นจะเป็นประธานของประโยค หรืออยู่ในสถานะอื่นก็ได้ ตามตัวอย่างที่ ①-⑫
- เพื่อชี้บุคคลที่มีการกระทำร่วมกัน ตามตัวอย่างที่ ⑬-⑯
- 一緒に : isshoni เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำกริยา มีความหมายว่า "ด้วยกัน พร้อมกัน" ซึ่งเมื่อใช้ร่วมกับคำว่า と จะมีความหมายว่า "~ทำด้วยกันกับ~"
อ่านตรงนี้หน่อย
- กรณีที่ใช้ と เพื่อเชื่อมคำหลายๆคำ ควรใช้ そして เป็นคำเชื่อมตัวสุดท้าย เช่น
- みかん と りんご と いちご そして ぶどう は 果物 です
Mikan to ringo to ichigo soshite budou wa kudamono desu
ส้มและแอปเปิ้ลและสตรอเบอรี่และองุ่นเป็นผลไม้
พบ 37 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 31
ก็งงอีกครับ งั้นทำไมข้อ 14 ใช้ ga อยู่ข้อเดียว มันน่าจะเหมือนกันหมดนะครับ 13-16
⑭ お父さん が お母さん と 話します
Otousan ga okaasan to hanashi masu
คุณพ่อคุยกับคุณแม่ครับ/ค่ะ
คุณพ่อคุยกับคุณแม่ คุณพี่ คุณน้อง ตัวเราเองไม่ได้คุยกับแม่
adikant
11 มีค 59 16:27
ความเห็นที่ 32
ลองทวนบทที่ 7 ดูนะครับ
が เป็นคำช่วยเพื่อแสดงประธานผู้ทำกริยา
ส่วน は ไม่ใช่คำช่วยเพื่อแสดงประธานผู้ทำกริยา
ประโยคที่ ⑭ เป็นเพียงประโยคบอกเล่าธรรมดา จึงใช้ が เพื่อขยายประธานผู้ทำกริยา
บทที่ 25 นี้ เลยเรื่องการแยกความแตกต่างของ が กับ は ไปแล้วครับ
ที่จริงถ้าจะให้เข้าใจง่าย ผมควรแต่งประโยคกริยาโดยใช้ が ในทุกประโยคที่เป็นประโยคกริยา เพื่อผู้อ่านจะได้เน้นเฉพาะการทำความเข้าใจเรื่อง と
แต่เข้าใจว่าผู้อ่าน อ่านตามลำดับมาทีละบท จึงนำสิ่งที่สอนไว้ก่อนหน้านี้มาใช้รวมในประโยคด้วย
หากจะถามถึงเรื่อง は กับ が ช่วยถามไว้ในบท は กับ が จะดีกว่านะครับ
เพราะถึงจะไม่มีคำว่า と ก็สามารถสอบถามความแตกต่างได้ เช่น
お父さんが話します กับ お父さんは話します ต่างกันอย่างไร
นอกจากนี้ การศึกษาเรื่อง は กับ が นอกจากจะดูในบทเรียนแล้ว อยากให้ดูจากเรื่อง "คำช่วย" ควบคู่กันไปด้วยครับ
が http://www.j-campus.com/particle/view.php?search=ga
は http://www.j-campus.com/particle/view.php?search=ha
webmaster
12 มีค 59 23:59
ความเห็นที่ 33
ใช่ครับ ผมไม่เคยเรียนมาก่อน ผมอ่านเรียงมาทีละบท พอสงสัยก็เลยถามเลย ไม่ได้ดูว่าประโยคแบบนี้จะมีอธิบายในบทอื่นรึเปล่า กลัวว่าถ้าสงสัยข้ามไปเรื่อยๆมันจะยิ่งงงหนักขึ้นไปเรื่อยๆ
ขอบคุณครับ
adikant
14 มีค 59 15:14
ความเห็นที่ 34
ผมเจอประโยคในเอกสารที่ทำงาน ลงท้ายด้วยとするไม่ทราบว่ามีความหมายว่าอย่างไรเหรอครับ
ตัวอย่างที่พบนะครับ
標準的な生産を対象とする。
รบกวนขอความรู้ด้วยนะครับ
วรรณธรรม
6 มิย 59 11:48
ความเห็นที่ 35
~とする มี 2 ความหมายครับ
1. ~と仮定(かてい)する = สมมุติว่า...
2.~と考(かんが)える หรือ ~と判断する = คิดว่า.. ลงความเห็นว่า..
webmaster
8 มิย 59 01:04
ความเห็นที่ 36
อยากทราบว่าพวกคำบอกเวลา สามารถไว้ตรงไหนได้บ้างเหรอคะ
อย่างข้อ 16 ถ้าอยากเน้นว่าทุกวัน ไม่ได้นอนด้วยกันแค่วันเดียวไรงี้อ่ะค่ะ
(คือนึกถึงบทที่ 20 ที่บอกว่า คำนามที่จะเน้นให้ไว้ใกล้กริยาอ่ะค่ะ แต่ไม่รู้ว่าพอมีと นี่จะวางยังไง ==)
Wen
19 ธค 59 00:28
ความเห็นที่ 37
คำขยาย จะวางไว้ตรงไหนก็ได้ แต่ปกติคำที่ให้น้ำหนักมากกว่าจะอยู่ใกล้คำกริยา
เช่น ฉันอ่านหนังสือทุกวัน
私 は 毎日 本 を 読みます watashi wa mainichi hon o yomimasu
ถ้าจะเน้นคำว่าทุกวัน จะเลื่อนไปวางในตำแหน่งใกล้คำกริยา หรือดึงมาพูดก่อนก็ได้ครับ
私 は 本 を 毎日 読みます
毎日 私 は 本 を 読みます
webmaster
19 ธค 59 17:57
1<
pageviews 8,319,795