ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นไม่ยากอย่างที่คิด

อ่าน 160,472 ครั้ง

คำวิเศษณ์ ทำหน้าที่ขยายคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ

ประธาน +が +คำวิเศษณ์ +กริยา +ます
ประธาน +は +คำวิเศษณ์ +คำคุณศัพท์ +です

  1. バス が もう すぐ 来ます
    Basu ga mou sugu kimasu
    รถเมล์กำลังจะมาครับ/ค่ะ
  2. バス が まだ 来ません
    Basu ga mada kimasen
    รถเมล์ยังไม่มาครับ/ค่ะ
  3. バス が ゆっくり 走ります
    Basu ga yukkuri hashirimasu
    รถเมล์วิ่งช้าครับ/ค่ะ
  4. バス が とても ゆっくり 走ります
    Basu ga totemo yukkuri hashirimasu
    รถเมล์วิ่งช้ามากครับ/ค่ะ

  1. この 車 は とても きれい です
    Kono kuruma wa totemo kirei desu
    รถคันนี้สวยมากครับ/ค่ะ
  2. 値段 も 非常 に 高い です
    Nedan mo hijou ni takai desu
    ราคาก็แพงมากครับ/ค่ะ
  3. 私 の 車 は あまり きれい では ありません
    Watashi no kuruma wa amari kirei dewa arimasen
    รถของฉันไม่ค่อยสวยครับ/ค่ะ
  4. 車 は かなり 便利 な 乗り物 です
    Kuruma wa kanari benri na norimono desu
    รถยนต์เป็นยานพาหนะที่ค่อนข้างมีประโยชน์มากครับ/ค่ะ

  1. 空 は なぜ 青い です か
    Sora wa naze aoi desu ka
    ท้องฟ้าทำไมสีฟ้าครับ/ค่ะ
  2. 新幹線 は どうして 速い です か
    Shinkansen wa doushite hayai desu ka
    รถไฟชินกังเซนทำไมวิ่งเร็วครับ/ค่ะ
  3. この 箱 は どうやって 作ります か
    Kono hako wa douyatte tsukurimasu ka
    กล่องนี้สร้างอย่างไรครับ/ค่ะ

คำอธิบาย

พบ 47 ความเห็นในบทเรียนนี้

ความเห็นที่ 21
とても และ 非常に มีความหมายเหมือนกัน คือ มากกว่าปกติ
ในพจนานุกรมให้ความแตกต่างไว้ว่า ถ้าเป็นภาษาพูดจะใช้ とても มากกว่า แต่หากเป็นกรณีที่เป็นผลร้ายกับผู้พูดจะใช้ 非常に มากกว่า เช่น 非常に悲しい (hijou ni kanashii : เศร้ามาก)

非常 เป็น adj -na เวลาขยายคำผัน (คำกริยา คำคุณศัพท์) จึงเปลี่ยนรูปเป็น 非常に เช่น 非常に困る (hijou ni komaru : เดือดร้อนมาก) หรือ 非常に残念です (hijou ni zannen desu : น่าเสียใจมาก) เป็นต้น

なぜ และ どうして มีความหมายเหมือนกัน คือ ทำไม
ในพจนานุกรมให้ความแตกต่างไว้ว่า なぜ มักใช้ในเรื่องที่เกินกว่าผู้พูดจะควบคุมสาเหตุ/เหตุผลนั้นได้ อย่างเช่นอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น なぜか涙が出てくる (nazeka namida ga dete kuru : ทำไมน้ำตาไหลออกมาก็ไม่รู้) แต่ どうして มักใช้ในการคิดหาสาเหตุ/เหตุผลในฐานะบุคคลที่สาม จึงมักไม่ใช้กับอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ครับ
webmaster 4 เมย 56 20:18

ความเห็นที่ 22
เข้าใจแล้วคะ ขอบคุณสำหรับคำอธิบายนะคะ
papaphang 5 เมย 56 20:21

ความเห็นที่ 23
ยินดีครับ
webmaster 5 เมย 56 20:49

ความเห็นที่ 24
ถ้าใช้คำวิเศษณ์กับประโยคที่มีทั้งกริยาที่กระทำกับคำนามอยู่ ต้องใช้คำช่วย wa หรือ ga คะ?
อย่างเช่น Tanakasan wa/ga totemo tabako o suimasu. อะค่ะ?
imew 14 มิย 56 20:03

ความเห็นที่ 25
ตามตัวอย่างเป็นประโยคกริยาครับ

ลองตัดส่วนที่เป็นวลีขยายให้หมด ก็จะเหลือภาคประธานคือ [Tanakasan] กับภาคแสดงคือ [suimasu]
จึงใช้ ga เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธานผู้ทำกริยา คือ Tanakasan ga suimasu

กรณีนี้ถ้าใช้ wa คือ Tanakasan wa suimasu จะกลายเป็นการเจาะจงหรือการเน้น ครับ
webmaster 14 มิย 56 21:31

ความเห็นที่ 26
อ้อ! ขอบคุณนะคะ ช่วยได้มากเลยค่ะ [smile]
imew 16 มิย 56 16:19

ความเห็นที่ 27
พอดีผมไปอ่านเจอประโยคนึงในหนังสือครับ

Minna de tanoshiku utaimashoo.

แล้วก็งงมากเลยครับว่าทำไมประธาน Minna ถึงใช้กับคำช่วย de แทนที่น่าจะใช้คำช่วย ga เพราะมันมีกริยา utaimashoo ไม่ใช่หรอครับ ช่วยอธิบายให้หน่อยได้ไหมครับ [groggy]

.
baron 16 มิย 56 16:26

ความเห็นที่ 28
minna de utaimasu

minna ในที่นี้ ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เพื่อแสดงกรอบหรือขอบเขตเกี่ยวกับจำนวนในการทำกริยา จึงใช้ de
แปลว่า ร้องเพลงทุกคน

การใช้ de ในที่นี้ ตรงกับความหมายที่ 2 ตามลิ้งค์

.......................

ถ้า minna เป็นประธานผู้ทำกริยา จะเป็น minna ga utaimasu = ทุกคนร้องเพลง ... ครับ
webmaster 17 มิย 56 23:23

ความเห็นที่ 29
อ้อ ผมก็งงอยู่ตั้งนาน ขอบคุณมากครับ
baron 22 มิย 56 18:45

ความเห็นที่ 30
ยินดีครับ
webmaster 22 มิย 56 19:11

1<>5

pageviews 8,319,679