อ่าน 162,434 ครั้ง
この、その、あの、どの เป็นคำขยายคำนาม เพื่อระบุตำแหน่งหรือทิศทาง มีรูปแบบการใช้งาน คือ
この その あの | +ประธาน +は +คำนาม +です |
ประธาน +は + | この その あの どの | +คำนาม +ですか |
どの +ประธาน +が +คำนาม +ですか |
- この 人 は 大学生 です か。
Kono hito wa daigakusei desu ka
คนนี้เป็นนักศึกษาหรือครับ/ค่ะ
- いいえ、その 人 は 先生 です。
Iie, sono hito wa sensei desu
เปล่า คนนั้นเป็นอาจารย์ครับ/ค่ะ
- 大学 は あの 建物 です か。
Daigaku wa ano tatemono desu ka
มหาวิทยาลัยคือตึกโน้นหรือครับ/ค่ะ
- はい、大学 は あの 建物 です。
Hai, daigaku wa ano tatemono desu
ใช่ มหาวิทยาลัยคือตึกโน้นครับ/ค่ะ
- すみません、どの 店 が ケーキ屋 です か。
Sumimasen, dono mise ga keekiya desu ka
ขอโทษ ร้านไหนคือร้านขนมเค้กครับ/ค่ะ
- あの 店 が ケーキ屋 です。
Ano mise ga keeikiya desu
ร้านโน้นคือร้านขนมเค้กครับ/ค่ะ
- すみません、どの 人 が 店長 です か。
Sumimasen, dono hito ga tenchou desu ka
ขอโทษ คนไหนคือเจ้าของร้านครับ/ค่ะ
- はい、私 が 店長 です。
Hai, watashi ga tenchou desu
ครับ/ค่ะ ฉันคือเจ้าของร้านครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
- この~ (kono)、その~ (sono)、あの~ (ano) เป็นคำขยายคน/สัตว์/สิ่งของ/สถานที่ ตามทิศทางและระยะห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง
- กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ใกล้กัน
- この จะใช้ขยายคน/สัตว์/สิ่งของ ที่อยู่ใกล้กับผู้พูดและผู้ฟัง
- その จะใช้ขยายคน/สัตว์/สิ่งของ ที่อยู่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง
- あの จะใช้ขยายคน/สัตว์/สิ่งของ ที่อยู่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
- กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ห่างกัน
- この จะใช้ขยายคน/สัตว์/สิ่งของ ที่อยู่ใกล้กับผู้พูด แต่อยู่ไกลจากผู้ฟัง
- その จะใช้ขยายคน/สัตว์/สิ่งของ ที่อยู่ไกลจากผู้พูด แต่อยู่ใกล้กับผู้ฟัง
- あの จะใช้ขยายคน/สัตว์/สิ่งของ ที่อยู่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
- どの~ (dono) เป็นคำขยายคน/สัตว์/สิ่งของ/สถานที่ ในประโยคคำถาม ในกรณีที่ผู้พูดไม่รู้จัก หรือไม่ทราบว่าคน/สัตว์/สิ่งของ/สถานที่นั้น คืออะไร หรือคืออันไหน
- กรณีที่ใช้ どの ขยายคำนามที่มีสถานะเป็นประธานของประโยค ปกติจะใช้คำช่วย คือ が ทั้งในการถามและการตอบ ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑧
- この~、その~、あの~、どの~ สามารถขยายคำนามในประโยคคุณศัพท์และประโยคกริยาได้เช่นเดียวกัน เช่น
- この 本 は 難しい です
Kono hon wa muzukashii desu
หนังสือนี้ยากครับ/ค่ะ - あの 子 が 走ります
Ano ko ga hashirimasu
เด็กคนโน้นวิ่งครับ/ค่ะ
อ่านตรงนี้หน่อย
- この แตกต่างกับ これ、ここ、こちら ที่อธิบายในบทก่อนหน้านี้ คือ
- この ไม่มีสถานะเป็นคำนาม จึงไม่สามารถนำไปเป็นประธานของประโยคได้ จะต้องใช้เพื่อขยายประธานหรือคำนามอื่นเท่านั้น
- ส่วน これ、ここ、こちら เป็นคำสรรพนาม จึงสามารถนำไปเป็นประธานของประโยคได้
พบ 32 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 1
เดี๋ยวพรุ่งนี้จะมาเรียนต่อ แต่ก่อนหน้านั้นผมมีคำถามที่ไม่เกี่ยวกับบทเรียนข้อนึงน่ะครับ
อยากถามว่า Arigatougosaimasu กับ Arigatougosaimashita นี่มันต่างกันยังไงเหรอครับ
ใช้กับรูปเวลาต่างกันหรือยังไงอะครับ สงสัยมากมาย
Benz Domo
16 พค 55 18:20
ความเห็นที่ 2
โดยทั่วไป arigatou gozaimasu ใช้กับเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเดี๋ยวนั้น เช่น
A : hai, omiyage desu : นี่! ของฝากครับ/ค่ะ
B : arigatou gozaimasu : ขอบคุณครับ/ค่่ะ
ส่วน arigatou gozaimashita ใช้กับเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นไปแล้ว เช่น
B : kinou wa arigatou gozaimashita : เมื่อวาน ขอบคุณครับ/ค่ะ
webmaster
17 พค 55 09:17
ความเห็นที่ 3
ฮ้า กว่าจะได้มาเรียนน้อ เมื่อวานก็ไปเอาชีทในมหาลัยมา เรียนปรับพื้นฐานญี่ปุ่นเองลำบากพอดู ฮ่ะๆๆ (พึ่งเข้าปีหนึ่ง)
บทนี้ผ่านไปได้ด้วยดี ไม่มีอะไรสงสัย อิอิอิ แต่มีข้อสงสัยที่ไม่เกี่ยวกะบทเรียนนี้แต่เกี่ยวกับหนังสือเรียนที่ไปซื้อมาอะฮะ
มันมีประโยคที่ผมไม่ค่อยคุ้นเท่าไหร่อยู่ หาศัพท์ก็ไม่เจอ เลยไม่รู้จะทำยังไง
Nihongo o hanasu koto ga dekimasu.
watashi no shumi wa shashin o toru kotodesu.
มันก็มีคำที่ผมไม่รู้เช่นพวก koto dekimasu kotodesu พวกนี้น่ะครับ แล้วหาศัพท์ไม่เจอด้วย (โดยเฉพาะพวก masu) เลยอยากรู้ว่าพวกนี้คืออะไรน่ะฮะ
แล้วก็ในหนังสือมันมีการผันรูปสามกลุ่ม พวก kakimasu-kaku / masu-ru / shimasu-suru พวกนี้มันทำยังไงเหรอฮะ
ออ ว่าแต่ว่ามีหน้าสำหรับ ถามคำถามหรือข้อสงสัยภาษาญี่ปุ่นมั้ยฮะ มาโพสเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ในบทเรียนนี้ มันรู้สึกว่าจะเกะกะบทเรียนนี้ซะเปล่าๆ (รู้สึกผิด) T^T
Benz Domo
18 พค 55 10:07
ความเห็นที่ 4
การใช้คำว่า こと อยู่ในบทที่ 142
ส่วนการผันคำกริยา อยู่ในบทที่ 44 ครับ
ที่จริง ผมก็อยากจะขอให้ช่วยตั้งคำถามให้ตรงกับบทเรียน
เพราะจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นที่เข้ามาอ่านในบทเรียนนั้นๆด้วย
คือตอบครั้งเดียว ได้ความรู้พร้อมกันทั้งหมด ไม่ต้องเสียเวลาถามตอบซ้ำๆกันอีก
หากคุณ Benz จะให้ความร่วมมือตรงนี้ด้วย ก็จะขอบคุณมากครับ
ส่วนหน้าถามตอบทั่วไป ผมคิดว่า คงไม่ทำ
เพราะการถามตอบเป็นคนๆ ไม่คุ้มกับเวลาที่เสียไป
กรณีที่มีคำถาม และตรวจสอบแล้วว่า ไม่ตรงกับบทเรียนใดๆเลย
จะตั้งคำถามนั้น ไว้ในบทเรียนไหน ที่คิดว่าใกล้เคียงที่สุดก็ได้
ในกรณีเช่นนี้ ผมอาจนำเรื่องนั้น ขึ้นมาทำเป็นบทเรียนใหม่เพิ่มเติมให้ครับ
webmaster
18 พค 55 11:48
ความเห็นที่ 5
อ้อ ก็ต้องขออภัยด้วยฮะ แล้วจะนำไปปฏิบัติฮะ [sad]
Benz Domo
18 พค 55 12:18
ความเห็นที่ 6
ขอบคุณมากครับ ^^
webmaster
18 พค 55 13:16
ความเห็นที่ 7
ขอบคุณมากครับ สำหรับวันนี้ ผมเรียนด้วยตัวเอง อาจจะเข้าใจยากหน่อยครับ แต่จะพยายามอ่านทุกวัน น่าจะทำได้
ice
22 พค 56 22:32
ความเห็นที่ 8
ถ้าบทไหนมีคำถาม ก็สอบถามได้นะครับ
webmaster
25 พค 56 10:18
ความเห็นที่ 9
งงว่า Kore กับ Kono ใช้ต่างกันยังไง
Pepe
28 มิย 56 04:20
ความเห็นที่ 10
kore เป็นคำนาม แปลว่า "อันนี้"
kono เป็นนี้คำขยายคำนาม แปลว่า ~นี้ (ไม่ใช่ "นี่") เช่น
kono hito คน"นี้"
kono hi วัน"นี้" ... ครับ
webmaster
29 มิย 56 22:38
>4
pageviews 8,319,835