อ่าน 162,923 ครั้ง
ตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นมี 3 ชนิด ประกอบด้วย
1. ฮิรางานะ (Hiragana)
ประกอบด้วยตัวอักษรทั้งสิ้น 46 ตัว แต่ละตัวจะมีเสียงอ่านในตัวอักษรนั้น เช่น に(ni) ほ(ho) ん(n) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น にほん (ni-ho-n) ซึ่งมีความหมาย คือ ญี่ปุ่น
ในการเรียนภาษาญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการแทนตัวอักษรญี่ปุ่นด้วยภาษาอังกฤษ (โรมาจิ) และเมื่อเริ่มคุ้นเคยแล้ว ก็จะเริ่มจำฮิรางานะ คาตาคานะ และคันจิ ตามลำดับต่อไป
2. คาตาคานะ (Katakana)
ประกอบด้วยตัวอักษร 46 ตัว เช่นเดียวกับฮิรางานะ และอ่านออกเสียงเหมือนกัน เพียงแต่มีวิธีการเขียนแตกต่างกับฮิรางานะเท่านั้น
คาตาคานะมักจะใช้แทนคำที่ทับศัพท์มาจากภาษาต่างชาติ เช่น テ(te) レ(re) ビ(bi) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น テレビ (te-re-bi) ซึ่งเป็นการทับศัพท์และย่อให้กระชับจากคำว่าโทรทัศน์ (televison) เป็นต้น
3. คันจิ (Kanji)
เป็นตัวอักษรจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้ดัดแปลงบางส่วนให้กระชับขึ้น มีทั้งสิ้นประมาณ 5,000 ตัว แต่ที่ใช้โดยทั่วไปมีประมาณ 1,800 ตัว แต่ละตัวจะมีความหมายและวิธีอ่านออกเสียงเป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ ผู้ที่เริ่มศึกษาใหม่อาจจะตั้งเป้าหมายว่าจะจำตัวคันจิเบื้องต้นประมาณ 50-100 ตัว
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดมาตรฐานการเขียนคำอ่านภาษาญี่ปุ่น ด้วยภาษาอังกฤษอีก 1 ชนิด คือ โรมาจิ ดังนี้
4. โรมาจิ (Romaji)
เป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้แทนการเขียนอ่านด้วยภาษาญี่ปุ่น มีหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจน จึงมีความสะดวกต่อชาวต่างชาติในการฝึกเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยการเขียนและอ่านด้วยอักษรโรมาจินี้
ในเว็บไซต์นี้ จะใช้อักษรฮิรางานะ และโรมาจิ ในการอธิบายเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาญี่ปุ่น จะไม่ทราบวิธีอ่านออกเสียงทั้งฮิรางานะและโรมาจิ ซึ่งสามารถศึกษาวิธีอ่านออกเสียงเป็นภาษาไทยได้ในบทที่ 6
พบ 84 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 51
สวัสดีคะ อาจารย์ ขออนุญาตเริ่มต้นอ่านจากบทที่ 1 เป็นต้นไปคะ ขอขอบคุณมากคะที่แบ่งปันความรู้
บี
3 เมย 55 08:09
ความเห็นที่ 52
ยินดีต้อนรับคุณบี ครับ
เริ่มเรียนแล้วเป็นอย่างไร เริ่มสับสนตั้งแต่บทไหน ช่วยเล่าสู่กันฟังด้วยนะครับ จะได้นำมาปรับปรุงให้เป็นประโยชน์มากขึ้นครับ ^^
webmaster
3 เมย 55 09:11
ความเห็นที่ 53
ขอบคุณครับ จะตั้งใจเรียนครับ
peak
19 มิย 55 17:27
ความเห็นที่ 54
ช่วงแรกๆ คงมีเรื่องต้องจำเยอะหน่อย ก็อย่าเพิ่งท้อนะครับ
webmaster
19 มิย 55 21:23
ความเห็นที่ 55
ส่วนตัวมีปัญหาเรื่องคันจิ (จำไม่ค่อยได้ 555)
แต่พอฝึกเขียนไปฝึกมาดันรู้แนวทางซะงั้น =[]= ตอนนี้เขียนคล่องปรื๋อเลย
Chiaki
1 สค 55 16:48
ความเห็นที่ 56
คุณ Chiaki มีแนวทางอะไรดีๆ บอกมั่งซิครับ [green]
webmaster
1 สค 55 20:18
ความเห็นที่ 57
หนูอยากได้เป็นหนังสือภาษาญี่ปุ่น แบบที่ลงในเว็บพอจะมีขายที่ไหนบ้างไหมค่ะ
แบบละเอียด ค่ะ [smile]
obchouy
21 สค 55 16:01
ความเห็นที่ 58
หนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่น เข้าใจว่ามีวางขายในร้านหนังสืออยู่เยอะมากครับ
แต่ข้อมูลในเว็บนี้ ผมศึกษาและเรียบเรียงขึ้นเอง ไม่ได้เขียนเป็นหนังสือขาย
ถ้าต้องการข้อมูลในเว็บ เพื่อไปศึกษาออฟไลน์ คงต้องพิมพ์ หรือเซฟหน้าจอไปครับ
และอีกอย่างนึง ต้นฉบับไฟล์ ผมไม่ได้ทำเป็น word หรือ excel แต่ทำเป็นฐานข้อมูลทั้งหมด
คือถึงจะส่งเป็นไฟลฺ์ฐานข้อมูลไปให้ ก็คงจะอ่านยากมาก ต้องขอโทษด้วยนะครับ
webmaster
21 สค 55 22:40
ความเห็นที่ 59
ไม่เป็นไรค่ะ เดี๋ยวก็อ่านในเว็บก็ได้ค่ะ ศึกษาไปเรื่อยๆๆ
อยากพูดเป็น แต่ก็ต้องใช้เวลาอีกนาน คือเคยเรียนตอนอายุ 17 ตอนนี้ก็ 25 แล้ว คงต้องเริ่มใหม่
ขอบคุณมากนะค่ะ ที่แบ่งปันความรู้[smile]
obchouy
23 สค 55 11:12
ความเห็นที่ 60
ตามที่เคยตอบไว้ที่ไหนสักแห่ง ถ้าไม่ได้เรียนตั้งแต่อายุน้อยๆแล้ว
ผมคิดว่าจะ 17 หรือ 25 หรือ 35 หรือ 45 ก็ไม่ต่างกันมาก
ถ้าจะต่าง ก็เพราะคนที่วัยสูงขึ้น จะมีภาระด้านอื่นเยอะขึ้น ทำให้มีเวลาเรียนน้อยลง
แม่บ้านญี่ปุ่น ซึ่งยังไม่มีลูก หรือลูกเริ่มโต จนหมดภาระแล้ว
ก็เริ่มเรียนภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง และเป็นล่ามกันมานักต่อนัก
ถ้ามีเวลาเรียนจริงๆจังๆ อายุเท่าไรก็ไม่สาย สู้ๆครับ [haha]
webmaster
24 สค 55 10:44
1<>9
pageviews 8,320,102