ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นไม่ยากอย่างที่คิด

อ่าน 162,925 ครั้ง

ตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นมี 3 ชนิด ประกอบด้วย

1. ฮิรางานะ (Hiragana)

ประกอบด้วยตัวอักษรทั้งสิ้น 46 ตัว แต่ละตัวจะมีเสียงอ่านในตัวอักษรนั้น เช่น に(ni) ほ(ho) ん(n) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น にほん (ni-ho-n) ซึ่งมีความหมาย คือ ญี่ปุ่น

ในการเรียนภาษาญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการแทนตัวอักษรญี่ปุ่นด้วยภาษาอังกฤษ (โรมาจิ) และเมื่อเริ่มคุ้นเคยแล้ว ก็จะเริ่มจำฮิรางานะ คาตาคานะ และคันจิ ตามลำดับต่อไป

2. คาตาคานะ (Katakana)

ประกอบด้วยตัวอักษร 46 ตัว เช่นเดียวกับฮิรางานะ และอ่านออกเสียงเหมือนกัน เพียงแต่มีวิธีการเขียนแตกต่างกับฮิรางานะเท่านั้น

คาตาคานะมักจะใช้แทนคำที่ทับศัพท์มาจากภาษาต่างชาติ เช่น テ(te) レ(re) ビ(bi) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น テレビ (te-re-bi) ซึ่งเป็นการทับศัพท์และย่อให้กระชับจากคำว่าโทรทัศน์ (televison) เป็นต้น

3. คันจิ (Kanji)

เป็นตัวอักษรจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้ดัดแปลงบางส่วนให้กระชับขึ้น มีทั้งสิ้นประมาณ 5,000 ตัว แต่ที่ใช้โดยทั่วไปมีประมาณ 1,800 ตัว แต่ละตัวจะมีความหมายและวิธีอ่านออกเสียงเป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ ผู้ที่เริ่มศึกษาใหม่อาจจะตั้งเป้าหมายว่าจะจำตัวคันจิเบื้องต้นประมาณ 50-100 ตัว

นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดมาตรฐานการเขียนคำอ่านภาษาญี่ปุ่น ด้วยภาษาอังกฤษอีก 1 ชนิด คือ โรมาจิ ดังนี้

4. โรมาจิ (Romaji)

เป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้แทนการเขียนอ่านด้วยภาษาญี่ปุ่น มีหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจน จึงมีความสะดวกต่อชาวต่างชาติในการฝึกเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยการเขียนและอ่านด้วยอักษรโรมาจินี้

ในเว็บไซต์นี้ จะใช้อักษรฮิรางานะ และโรมาจิ ในการอธิบายเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาญี่ปุ่น จะไม่ทราบวิธีอ่านออกเสียงทั้งฮิรางานะและโรมาจิ ซึ่งสามารถศึกษาวิธีอ่านออกเสียงเป็นภาษาไทยได้ในบทที่ 6

พบ 84 ความเห็นในบทเรียนนี้

ความเห็นที่ 41
ทำไม่ไม่พัฒนาต่อหล่ะ เพราะอะไร อยากให้พัฒนาต่อจะได้มีสิ่งดี ๆ แนะนำกัน กับคนที่ไม่รู้อย่างเรา
ขอบคุณมากนะ
ワン 28 สค 54 22:49

ความเห็นที่ 42
แหะๆๆ

พอดีป่วยต้องเข้านอน รพ.

เว็บมาสเตอร์ทำเว็บฟรี อยู่ 3-4 อัน ทุกอย่างหยุดชะงักหมด

อาจจะไม่สามารถพัฒนาเว็บนี้ได้ต่อไปครับ (ขอรอดูอาการอีกซักพักนึงก่อน)

----------------------------------

edit : อาการดีขึ้นแล้ว ก็เลยกลับมาเขียนบทเรียนต่อ ซึ่งคงจะมีประมาณ 140 บท
คงจะเสร็จประมาณต้นปี 55 ครับ
webmaster 25 กย 54 13:14

ความเห็นที่ 43
angkyu desuka แปลว่าอะไรหรอค่ะ ^^
mm 16 ตค 54 15:09

ความเห็นที่ 44
ภาษาญี่ปุ่นเรียนสนุกมาก
อิชิตะ 28 ตค 54 14:54

ความเห็นที่ 45
คันจิยากไหมอ่ะค่ะ(ฮาจิมิมาชิเตะ)
อิชิตะ 28 ตค 54 14:58

ความเห็นที่ 46
はじめまして เป็นคำย่อของ はじめて おめに かかります
มีความแตกต่างในการใช้หรือไม่คะ
แล้วคำเต็มเขานิยมพูดมั้ยคะ

*** คำถามทั่วๆไปแบบนี้ เราไม่รู้จะไปถามตรงไหนดี..ช่วยแนะนำด้วย ***
เด็กเลี้ยงแกะ 12 กพ 55 17:19

ความเห็นที่ 47
คำถามแบบนี้ คงจะไม่ค่อยมีที่ให้ถาม
เพราะมันเชิงเทคนิคมากเกินไป

คงต้องใช้วิธีค้นจาก dic ญี่ปุ่นโดยตรงครับ

http://dictionary.goo.ne.jp//word/初めまして/

【初めまして】
[連語]初対面の人にいうあいさつの語。はじめてお目にかかります、の意。「―、田村と申します」

hajimemashite
(คำสมาส) เป็นคำทักทายต่อผู้ที่พบปะเป็นครั้งแรก มีความหมายเช่นเดียวกันกับสำนวนว่า hajimete o me ni kakarimasu (เป็นครั้งแรกที่ได้พบครับ/ค่ะ)
ตัวอย่างประโยค เช่น
Hajimemashite, Tamura to moushimasu : สวัสดีครับ/ค่ะ (ผม/ดิฉัน)ชื่อทามุระครับ/ค่ะ

จากตัวอย่างในดิค จะเห็นว่า คำว่า hajimemashite เป็นคำที่สุภาพเพียงพอแล้ว (สังเกตุจากการใช้คำว่า Moushimasu ซึ่งเป็นคำสุภาพ)

ส่วนสำนวน はじめて おめに かかります (Hajimete o me ni kakarimasu) ก็ใช้ครับ
แต่ปกติจะใช้เป็นคำให้เกียรติฝ่ายตรงข้าม
จึงต้องระวังการใช้ให้ดี เพราะหากประโยคแรก พูดสำนวนให้เกียรติไปแล้ว
แต่ประโยคต่อๆไป พูดคำศัพท์สุภาพให้เกียรติไม่ได้
ก็อาจจะไม่เหมาะสม

นอกจากนี้ ยังมีอีกสำนวนหนึ่งคือ
お初 に お目 に かかります O hatsu ni o me ni kakarimasu
ซึ่งจะเป็นการให้เกียรติมากยิ่งขึ้นไปอีก

แต่ปกติทั่วไป แนะนำให้ใช้ Hajimemasite ก็เพียงพอครับ
webmaster 12 กพ 55 19:01

ความเห็นที่ 48
"คำถามแบบนี้ คงจะไม่ค่อยมีที่ให้ถาม" <<-- เป็นคำตอบที่ได้ใจ คนถามมากเลยค่ะ -->>

ต้องขอโทษด้วย..หากเห็นว่าเป็นคำถามที่ไม่มีประโยชน์

เพียงเพราะไปเห็นในหนังสือน่ะค่ะ ซึ่งในหนังสือก็บอกเหมือนกันว่าเป็นคำสุภาพ
แต่เวลาพูด はじめて ... ส่วนที่เหลือจะพูดเบามาก จนผู้ฟังได้ยินไม่ชัดหรือไม่รู้ว่าพูดว่าอะไร

ก็เลยแค่สงสัยว่าเขาจะใช้กันในลักษณะไหน กับคนระดับไหน แล้วปัจจุบันเขายังใช้กันอยู่หรือเปล่า
โดยส่วนตัวก็ยังไม่คิดจะใช้หรอกค่ะ เพราะไม่รู้สถานการณ์
แล้วเวลาเรียนเขาก็ไม่ได้สอนคำอื่น นอกจากคำว่า "はじめまして "

อย่างไรเสีย..ก็ต้องขอบคุณมากสำหรับคำอธิบาย..ได้ความรู้รอบตัวเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ
[ แหม..ไม่น่าอ่านหนังสือเลยนะเนี่ย]

ขอบคุณค่ะ
เด็กเลี้ยงแกะ 12 กพ 55 20:40

ความเห็นที่ 49
ไม่ได้หมายความว่า เป็นคำถามที่ไม่มีประโยชน์ครับ

เพียงแค่หมายความว่า เป็นคำถามที่ค่อนข้างจะลึก
คนตอบเอง ก็ต้องค้นหาคำตอบให้มั่นใจ เพื่อไม่ให้ตอบไปผิดๆ

ซึ่งแน่นอนว่า ถ้ารู้ถึงความแตกต่าง ก็ย่อมดีกว่าไม่รู้
เพียงแต่เป็นห่วงในการที่จะนำไปใช้ เท่านั้นเองครับ
webmaster 12 กพ 55 21:47

ความเห็นที่ 50
คำพูดสุภาพให้เกียรติหรือยกย่องเหล่านี้
ปกติจะใช้ในแวดวงธุรกิจ เช่น การติดต่อกับบริษัทที่ติดต่อค้าขายกัน
ซึ่งมีการแยกแยะอย่างชัดเจนว่า ใครหรือบริษัทใดมีศักดิ์ศรีที่ต้องให้เกียรติมากกว่ากัน

เช่นการพาพนักงานขายคนใหม่ ไปแนะนำตัวกับบริษัทลูกค้าเจ้าประจำ
พนักงานคนใหม่นั้น ก็ยิ่งต้องใช้คำถ่อมตนและยกย่องฝ่ายลูกค้ามากเป็นพิเศษ

ซึ่งคนไทยคงไม่มีโอกาสที่ต้องอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้นมากนัก

หรือถึงแม้ว่าจะอยู่.. แต่ฝ่ายตรงข้ามก็ย่อมทราบว่าเราคือคนต่างชาติ

จึงอาจไม่จำเป็นต้องใช้คำถ่อมตนหรือคำยกย่อง (อย่างไม่มั่นใจ)
แค่เพียงใช้คำสุภาพให้ดีที่สุด ในการสนทนาหรือการเป็นล่าม ก็ถือว่าเพียงพอครับ
webmaster 12 กพ 55 21:47

1<>9

pageviews 8,320,225