อ่าน 40,298 ครั้ง
คำช่วยคู่ขนาน : 並立助詞
や
ใช้ต่อท้ายคำหลัก (体言) หรือ「の」ซึ่งเป็นคำช่วยสร้างคำหลัก (準体助詞) เพื่อแสดงการยกตัวอย่าง มักใช้ในรูป 「~や~」 หรือ 「~や~や~など」 เป็นต้น
鯨や象や馬などは哺乳類です
kujira ya zou ya uma nado wa honyuurui desu
ปลาวาฬ ช้าง ม้า และอื่นๆ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมครับ/ค่ะ
辛いのや甘いのがあります
karai no ya amai no ga arimasu
อันที่เผ็ด อันที่หวาน (และอื่นๆ) มีครับ/ค่ะ
赤や青や黄色が混じり合っている
aka ya ao ya kiiro ga majiri atte iru
แดง น้ำเงิน สีเหลือง (และอื่นๆ) ผสมรวมกันอยู่ครับ/ค่ะ
คำช่วยเขื่อม : 接続助詞
ใช้ต่อท้ายคำกริยาที่อยู่ในรูป shuushikei เพื่อแสดงความหมายว่า มีการกระทำอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นพร้อมกัน หรือต่อเนื่องจากการกระทำอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「~とすぐに」 หรือ 「~とすると」 เป็นต้น
犯人は警察を見るや、いきなり逃げ出した
hannin wa keisatsu o miru ya, ikinari nigedashita
ทันทีที่คนร้ายเห็นตำรวจ ก็หนีไป
お父さんの声が聞こえるや、弟との喧嘩を止めた
otousan no koe ga kikoeru ya, otouto to no kenka o yameta
ทันทีที่ได้ยินเสียงคุณพ่อ ก็หยุดทะเลาะกับน้องชาย
兄は家に着くや、自分の部屋に入った
ani wa ie ni tsuku ya, jibun no heya ni haitta
ทันทีที่พี่ชายกลับถึงบ้าน ก็เข้าไปในห้องของตนเองเลย
คำช่วยจบ : 終助詞
ใช้จบท้ายประโยค โดยการต่อท้ายคำผัน (活用語) ที่อยู่ในรูปจบ (shuushikei) หรืออยู่ในรูปคำสั่ง (meireikei)
1. ใช้พูดกับบุคคลที่อยู่ในสถานะเดียวกันหรือต่ำกว่า เพื่อแสดงการกระตุ้นให้ทราบว่า ผู้พูดต้องการเห็นสิ่งนั้นเกิดขึ้น
今日は日本料理を食べたいや
kyou wa nihon ryouri o tabetai ya
วันนี้อยากทานอาหารญี่ปุ่นล่ะ
早く歩こうや
hayaku arukou ya
เดินเร็วๆกันหน่อยซิ
もう帰れや
mou kaere ya
กลับไปได้แล้วล่ะ
2. ใช้แสดงการพูดตรงๆในลักษณะไม่ให้ความเกรงใจ หรือพูดแบบไม่สนใจไยดี
もう、どうなってもいいや
mou, dou natte mo ii ya
จะเป็นยังไงก็ช่างมันแล้วล่ะ
今さらどうしようもないや
ima sara dou shiyou mo nai ya
ถึงตอนนี้ ไม่มีทางใดอีกแล้วล่ะ
3. ใช้แสดงความสงสัย หรือเห็นขัดแย้ง มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「か」 หรือ 「だろうか」
この仕事をどうやって締め切りまで間に合わせようや
kono shigoto o dou yatte shimekiri made ma ni awaseyou ya
จะทำงานนี้ให้เสร็จภายในกำหนดเวลาได้ด้วยวิธีไหนล่ะ
どうして私に言えましょうや
doushite watashi ni iemashou ya
ฉันจะพูดออกไปได้อย่างไรล่ะ
คำช่วยอุทาน : 間投助詞
ใช้ต่อท้ายคำหลัก คำเสมือนคำหลัก หรือคำวิเศษณ์
1. ใช้ในตำแหน่งกลางประโยค
เพื่อเรียกผู้อื่น
田中や、ちょっとここに来い
tanaka ya, chotto koko ni koi
นี่ ทานากะ มาที่นี่หน่อย
母ちゃんや、京子からの電話だ
kaachan ya, kyouko kara no denwa da
นี่ แม่ โทรศัพท์จากเคียวโกะ
ใช้เพื่อเน้นย้ำความหมาย
またもやガソリンの値段が上がった
mata mo ya gasorin no nedan ga agatta
ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกแล้ว
彼はカタカナも書けないし、ましてや漢字が書けるはずがない
kare wa katakana mo kakenai shi, mashite ya kanji ga kakeru hazu ga nai
เขาเขียนคาตาคานะก็ไม่ได้ แล้วยิ่งคันจิ ยิ่งไม่มีทางที่จะเขียนได้
2. เป็นสำนวนเก่า ใช้จบท้ายประโยค เพื่อแสดงความรู้สึกประทับใจหรือฝังใจ
桜はとてもきれいや
sakura wa totemo kirei ya
ซากุระสวยมากเลย
คำช่วยเกี่ยวเนื่อง : 係助詞
1. ใช้ในภาษาพูด เป็นการเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า 「は」 ที่เป็นคำช่วยเกี่ยวเนื่อง
心配するな。どこにも行きやしないから
shinpai suru na. doko ni mo iki ya shinai kara
ไม่ต้องห่วง เพราะจะไม่ไปที่ไหนทั้งนั้น
吹雪で何も見えやしない
fubuki de nani mo mie ya shinai
พายุหิมะทำให้มองอะไรไม่เห็นเลย
2. ใช้ในภาษาเก่า เพื่อแสดงคำถาม หรือความเห็นโต้แย้ง โดยการต่อท้ายคำหลัก หรือคำผันที่อยู่ในรูป renyoukei และ rentaikei หรือคำวิเศษณ์ หรือคำช่วยต่างๆ
คำช่วยวิเศษณ์ : 副助詞
เป็นภาษาเก่า ใช้ต่อท้ายคำหลัก (体言) หรือคำเสมือนคำหลัก เพื่อแสดงความสงสัยเล็กน้อย มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「か」 โดยมักใช้ในรูปว่า 「やもしれない」
คำอุทาน : 感動詞
1. เป็นคำพูดของผู้ชายเพื่อใช้ทักทายหรือร้องเรียก ในกรณีที่พบปะอย่างกะทันหันหรือโดยบังเอิญ
や、しばらく
ya, shibaraku
ไง ไม่ได้เจอกันนาน
や、元気?
ya, genki ?
ไง สบายดีไม๊
2. เป็นคำอุทานที่เปล่งในยามที่ตกใจ หรือไม่ได้คาดคิดมาก่อน
や、大変なことになった
ya, taihen na koto ni natta
อ๊ะ กลายเป็นเรื่องใหญ่ซะแล้ว
や、参ったなあ
ya, maitta naa
อ๊ะ แย่จังเลย
3. เป็นคำที่เปล่งออกมาเพื่อเพิ่มพลัง หรือเพื่อให้จังหวะ
คำกริยานุเคราะห์ : 助動詞
1. เป็นคำที่ผันมาจากคำกริยานุเคราะห์ คือ 「じゃ」 มักใช้ในเขตคันไซเป็นหลัก
今日は暑い日やなあ
kyou wa atsui hi ya naa
วันนี้เป็นวันที่ร้อนจังเลย
どうなってんや
dou natte n ya
เกิดอะไรขึ้นนี่
2. เป็นภาษาเก่า ซึ่งผันมาจากคำว่า 「やれ」 ซึ่งเป็นคำในรูปคำสั่งของคำกริยานุเคราะห์ที่เป็นคำสุภาพคือ 「やる」
คำท้าย : 接尾語
ใช้ต่อท้ายคำสรรพนามแทนคน หรือต่อท้ายชื่อคน เพื่อแสดงความสนิทสนม
こっちおいで、坊や
kotchi oide bouya
มานี่ซิ หนูน้อย
純や、体に気をつけてな
jun ya, karada ni ki o tsukete na
หนูจุน ระวังสุขภาพนะ
Top
pageviews 2,137,445