อ่าน 40,761 ครั้ง
คำช่วยสถานะ : 格助詞
を
ใช้ต่อท้ายคำหลัก (体言) หรือคำเสมือนคำหลัก
1. แสดงกรรมหรือสิ่งที่ถูกกระทำ ในการเคลื่อนไหวหรือการกระทำ
-
毎日新聞を読む
mainichi shinbun o yomu
อ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน
-
もうご飯を食べたか
mou gohan o tabeta ka
ทานข้าวแล้วหรือยัง
-
好きなものを一つだけ選んでください
suki na mono o hitotsu dake erande kudasai
เชิญเลือกของที่ชอบเพียง 1 ชิ้นเท่านั้น
2. แสดงจุดเริ่มต้นหรือจุดที่แยกออกมา โดยใช้ร่วมกับคำกริยาที่เกี่ยวกับการเดินทางหรือเคลื่อนที่ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「…から」
-
六時に家を出る
roku ji ni ie o deru
ออกจากบ้านเวลา 6 นาฬิกา
-
いつもこの駅で電車を降りる
itsumo kono eki de densha o oriru
ลงจากรถไฟที่สถานีนี้ทุกครั้ง
-
来年大学を卒業する
rainen daigaku o sotsugyou suru
ปีหน้าจะจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย
-
会議の途中で席を立たたないでください
kaigi no tochuu de seki o tatanaide kudasai
ระหว่างการประชุม กรุณาอย่าลุกออกจากที่นั่ง
3. แสดงสถานที่ซึ่งเดินทางผ่าน โดยใช้ร่วมกับคำกริยาที่เกี่ยวกับการเดินทางหรือเคลื่อนที่
-
電車がトンネルをくぐる
densha ga tonneru o kuguru
รถไฟลอดผ่านอุโมงค์
-
飛行機が空を飛ぶ
hikouki ga sora o tobu
เครื่องบินบินผ่านท้องฟ้า
-
次の交差点を右に曲がってください
tsugi no kousaten o migi ni magatte kudasai
กรุณาเลี้ยวขวาที่แยกถัดไป
-
夜道を歩くのは危険だ
yomichi o aruku no wa kiken da
การเดินถนนในยามวิกาล เป็นอันตราย
4. แสดงเวลาหรือระยะเวลาที่เกิดการเคลื่อนไหวหรือการกระทำ
-
海外でお正月を過ごした
kaigai de o shougatsu o sugoshita
ใช้เวลาช่วงปีใหม่ในต่างประเทศ
-
長い年月を経て、日本の歴史を研究した
nagai nengetsu o hete, nihon no rekishi o kenkyuu shita
ใช้เวลาผ่านไปยาวนาน ในการค้นคว้าประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่น
-
最近は楽しい毎日を送っている
saikin wa tanoshii mainichi o okutte iru
ระยะนี้ ใช้เวลาอย่างมีความสุขทุกวัน
-
老後を生きるために、お金を蓄える必要がある
rougo o ikiru tame ni, o kane o takuwaeru hitsuyou ga aru
มีความจำเป็นในการเก็บสะสมเงินทอง เพื่อใช้ชีวิตในยามแก่ชรา
5. แสดงสิ่งที่ถูกกระทำ โดยใช้กับคำกริยาสั่งให้กระทำ
-
子供を泣かせてはいけません
kodomo o nakasate wa ikenai
อย่าทำให้เด็กร้องไห้
-
彼をここに来させなさい
kare o koko ni kosasenasai
ให้เขามาที่นี่
-
友達は冗談を言って、みんなを笑わせた
tomodachi wa joudan o itte, minna o warawaseta
เพื่อนพูดเรื่องตลก ทำให้ทุกคนหัวเราะ
6. แสดงกรรมหรือสิ่งที่ถูกกระทำ ในประโยคที่เกี่ยวกับอารมณ์ เช่น ความต้องการ ความรัก ความเกลียด เป็นต้น
ในอดีตจะใช้คำช่วยคือ 「を」 แต่ปัจจุบันจะใช้คำช่วย 「が」 แทนก็ได้ โดยมีความหมายในลักษณะเน้นย้ำ
-
水を(が)飲みたい
mizu o (หรือ ga) nomitai
อยากดื่มน้ำ
-
大きい家を(が)買いたい
ookii ie o (หรือ ga) kaitai
อยากซื้อบ้านหลังใหญ่
-
本を(が)好きになるように努力する
hon o (หรือ ga) suki ni naru you ni doryoku suru
จะพยายามเพื่อทำให้ชอบหนังสือ
-
自分の意見を(が)言えない学生が増えた
jibun no iken o (หรือ ga) ienai gakusei ga fueta
นักเรียนที่ไม่สามารถพูดความเห็นของตนเอง มีเพิ่มขึ้น
-
私は日本語を(が)上手に話せる人になりたい
watashi wa nihongo o (หรือ ga) jouzu ni hanaseru hito ni naritai
ฉันอยากเป็นคนที่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้เก่ง
7. ใช้ในภาษาเก่า ในการเชื่อมคำนามกับคำกริยาที่มีความหมายเดียวกัน เพื่อให้เกิดเป็นสำนวนโวหาร
8. ใช้ในภาษาเก่า เพื่อแสดงบุคคลหรือเหตุการณ์ที่ประสบหรือลาจาก
คำช่วยเชื่อม : 接続助詞
ใช้ในภาษาเก่า โดยต่อท้ายคำผัน (活用語) ที่อยู่ในรูป rentaikei เพื่อ
- แสดงเหตุการณ์ที่ขัดแย้งกัน โดยมีความหมายเดียวกับคำว่า 「…けれども」 หรือ 「…のに」
- แสดงสาเหตุหรือเหตุผล โดยมีความหมายเดียวกับคำว่า 「…ので」 หรือ 「…だから」
- ใช้เชื่อมโดยไม่มีความหมายใดๆเป็นพิเศษ
คำช่วยอุทาน :間投助詞
ใช้ในภาษาเก่า โดยต่อท้ายคำต่างๆ เพื่อ
- ใช้จบท้ายประโยค เพื่อแสดงความประทับใจ หรือการเน้นย้ำ
- ใช้อยู่กลางประโยคเพื่อแสดงสาเหตุ เหตุผล หรือปรับโทนเสียงโดยแฝงไว้ด้วยประทับใจ
pageviews 2,137,446