อ่าน 40,450 ครั้ง
คำช่วยสถานะ : 格助詞
と
ใช้ต่อท้ายคำนาม หรือคำที่มีสถานะเดียวกับคำนาม หรือคำวิเศษณ์ หรือคำอื่นๆ เพื่อแสดงความหมายดังนี้
1. แสดงบุคคลที่ร่วมกระทำหรือเคลื่อนไหวด้วยกัน
弟と学校に行く
otouto to gakkou ni iku
ไปโรงเรียนพร้อมกับน้องชาย
友人と映画を見る
yuujin to eiga o miru
ไปดูหนังกับเพื่อน
2. แสดงบุคคลหรือสิ่งที่เป็นคู่กรณี
お姉さんは友達と喧嘩した
oneesan wa tomodachi to kenka shita
พี่สาวทะเลาะกับเพื่อน
寒さと戦う毎日が続いている
samusa to tatakau mainichi ga tsutzuite iru
การต่อสู้กับความหนาว ยังคงมีต่อเนื่องอยู่ทุกวัน
3. แสดงสิ่งที่เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบ
以前と比べて大分きれいになった
izen to kurabete daibu kirei ni natta
สวยขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนหน้านี้
私の考えはみんなのと違う
watashi no kangae wa minna no to chigau
ความคิดของฉันแตกต่างกับของทุกคน
4. แสดงผลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวหรือการกระทำ โดยจะมีลักษณะการใช้งานคล้ายกับคำว่า 「に」แต่เป็นการเน้นย้ำในผลที่เกิดขึ้นมากกว่า 「に」
今日から大学生となった
kyou kara daigakusei to natta
เป็นนักศึกษาตั้งแต่วันนี้
次期社長は山田さんと決まった
jiki shachou wa yamada san to kimatta
ประธานบริษัทคนถัดไป กำหนดเป็นคุณยามาดะ
5. แสดงวลีขยายความ ของการเคลื่อนไหว การกระทำ หรืออาการในเหตุการณ์นั้นๆ
失敗という結果に終わった
shippai to iu kekka ni owatta
จบด้วยผลที่ล้มเหลว
今年も洪水は免れないと思う
kotoshi mo kouzui wa manugarenai to omou
คิดว่าปีนี้ก็คงไม่รอดพ้นจากน้ำท่วม
6. แสดงสภาพของการเคลื่อนไหวหรืออาการนั้นๆ
地震で家具がぐらぐらと揺れる
jishin de kagu ga guragura to yureru
เครื่องเรือนโยกโคลงเคลงจากแผ่นดินไหว
嫌だと首を左右に振る
iya da to kubi o sayuu ni furu
ส่ายศีรษะไปทางซ้ายและขวาอย่างไม่พอใจ
意外と良い結果になった
igai to yoi kekka ni natta
ได้ผลดีกว่าที่คาดคิดไว้
7. ใช้ในประโยคปฏิเสธ ร่วมกับคำที่เกี่ยวกับปริมาณ เพื่อแสดงความหมายว่า ไม่มากเกินไปกว่านั้น
あの店にはもう二度と行きたくない
ano mise ni wa mou nido to ikitakunai
ไม่อยากไปที่ร้านนั้นเป็นครั้งที่สองอีกแล้ว
この量では三日と持たない
kono ryou de wa mikka to motanai
ปริมาณเท่านี้ ไม่พอถึง 3 วัน
8. ใช้เชื่อมคำกริยาคำเดียวกัน เพื่อย้ำความหมาย แต่ในปัจจุบันมีการใช้เพียงไม่กี่คำเท่านั้น
ありとあらゆる手段で借金を返していく
ari to arayuru shudan de shakkin o kaeshite iku
จะคืนเงินกู้ โดยใช้วิธีการทั้งหมดทุกอย่าง
世界のありとあらゆる地域で異常気象が目立つ
sekai no ari to arayuru chiiki de ijou kishou ga medatsu
สภาพอากาศที่วิปริตเกิดขึ้นอย่างเด่นชัด ในพื้นที่ทั่วทุกแห่งของโลก
คำช่วยคู่ขนาน : 並立助詞
ใช้ต่อท้ายคำหลัก (体言) หรือคำที่มีสถานะเทียบเท่าคำหลัก เพื่อแสดงของตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป ซึ่งตามหลักไวยากรณ์เดิม จะต้องใช้คำช่วย 「と」 ต่อท้ายคำศัพท์ทุกคำที่ยกขึ้นมา แต่ในปัจจุบัน ปกติจะตัดคำช่วย 「と」 ตัวสุดท้ายออกเสมอ
君と僕とは友達だ
kimi to boku to wa tomodachi da
เธอและฉัน เป็นเพื่อนกัน
君と僕は友達だ
kimi to boku wa tomodachi da
เธอและฉัน เป็นเพื่อนกัน
東京と京都と大阪へ行きたい
toukyou to kyouto to oosaka e ikitai
อยากไปโตเกียวและเกียวโตและโอซากา
คำช่วยเชื่อม : 接続助詞
ใช้ต่อท้ายคำผัน (活用語) ที่อยู่ในรูปจบประโยค (終止形) เพื่อแสดงความหมายดังนี้
1. แสดงการเคลื่อนไหวหรือการกระทำที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
店を閉めようとすると、お客さんが入ってきた
mise o shimeyou to suru to, o kyakusan ga haitte kita
พอกำลังจะปิดร้าน ลูกค้าก็เข้ามาพอดี
電話を切ると、別の電話がかかってきた
denwa o kiru to, betsu no denwa ga kakatte kita
พอวางหูโทรศัพท์ โทรศัพท์อีกสายหนึ่งก็เรียกเข้ามาพอดี
2. แสดงสิ่งที่ประธานทำการเคลื่อนไหวหรือทำเหตุการณ์ 2 อย่างต่อเนื่องกัน
家に帰ると、テレビをつけた
ie ni kaeru to, terebi o tsuketa
พอกลับถึงบ้าน ก็เปิดทีวีทันที
椅子に座ると、眠たくなった
isu ni suwaru to, nemutaku natta
พอนั่งลงบนเก้าอี้ ก็ง่วงนอนขึ้นมาทันที
3. แสดงเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือการกระทำเกิดตามมา
社長が話し始めると、みんなが静かになった
shachou ga hanashi hajimeru to, minna ga shizuka ni natta
พอประธานบริษัทเริ่มพูด ทุกคนก็เงียบลง
子供の写真を見ると、昔の記憶がよみがえる
kodomo no shashin o miru to, mukashi no kioku ga yomigaeru
พอดูรูปของลูก ความทรงจำในอดีตก็หวนรำลึกกลับมา
4. แสดงเหตุการณ์สมมุติ ที่เป็นเหตุเป็นผลกัน
今両替すると一番得をする
ima ryougae suru to ichiban toku o suru
ถ้าแลกเงินในตอนนี้ จะได้ประโยชน์ที่สุด
先生に見られると大変なことになる
sensei ni mirareru to taihen na koto ni naru
ถ้าถูกอาจารย์เห็น จะกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก
5. แสดงการกล่าวนำ ก่อนเข้าสู่เรื่องที่ต้องการจะพูด
予想によると、桜は今日開花する
yosou ni yoru to, sakura wa kyou kaika suru
จากการพยากรณ์ ซากุระจะบานวันนี้
この場合だと、どうすれば良いですか
kono baai da to, dou sureba ii desu ka
ในกรณีแบบนี้ ควรจะทำอย่างไรดีครับ/ค่ะ
6. แสดงการสมมุติในเชิงหักล้างหรือตรงกันข้าม โดยมักจะใช้ต่อท้ายคำกริยานุเคราะห์ที่แสดงความมุ่งมั่นหรือการคาดคะเน เช่น 「う」 「よう」 「まい」 เป็นต้น
誰が来ようと私には関係ない
dare ga koyou to watashi ni wa kankei nai
ใครจะมา ก็ไม่เกี่ยวกับฉัน
何をしようとあなたの勝手だ
nani o shiyou to anata no katte da
จะทำอะไร ก็เป็นเรื่องของเธอ
雨が降ろうと雪が降ろうと、会社を休むわけにはいかない
ame ga furou to yuki ga furou to, kaisha o yasumu wake ni wa ikanai
ไม่ว่าฝนจะตก หรือหิมะจะตก ก็หยุดงานไม่ได้
คำช่วยเกี่ยวเนื่อง : 係助詞
เป็นคำในภาษาเก่า มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「ぞ」
คำวิเศษณ์ : 副詞
มีความหมายว่า แบบนั้น แต่ส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกับคำวิเศษณ์ 「かく」 ในรูป 「とかく」 「とにかく」 「ともかく」 「とにもかくにも」 เป็นต้น ซึ่งจะทำให้มีความหมายเปลี่ยนไป
คำเชื่อม : 接続詞
แสดงการเคลื่อนไหวหรือการกระทำที่เกิดขึ้นพร้อมกัน มีความหมายเดียวกับคำว่า 「すると」
雷が鳴った。と、突然雨が降り出した
kaminari ga natta. to, totsuzen ame ga furi dashita
ฟ้าร้อง และทันใดนั้นฝนก็เริ่มตกอย่างกระทันหัน
みんなで道路を歩いていた。と、いきなり車が突っ込んできた
minna de douro o aruite ita. to, ikinari kuruma ga tsukkonde kita
กำลังเดินตามถนนพร้อมกับทุกคน ทันใดนั้นรถยนต์ก็พุ่งเข้ามา
Top
pageviews 2,122,108