อ่าน 40,225 ครั้ง
คำกริยานุเคราะห์ : 助動詞
たら
เกิดจากคำกริยานุเคราะห์แสดงการจบสมบูรณ์ คือ た ที่ผันอยู่ในฟอร์มสมมุติ (仮定形 : kateikei) เป็น たら
ใช้ต่อท้ายคำผัน (活用語) และคำกริยานุเคราะห์บางคำ ที่อยู่ในรูป renyoukei แต่หากต่อท้ายคำผันที่ลงท้ายด้วยเสียง ぐ、ぬ、ぶ、む จะเปลี่ยนเสียงจาก たら เป็น だら เช่น 泳ぐ (oyogu) ⇒ 泳いだら (oyoidara)、死ぬ (shinu) ⇒ 死んだら (shindara)、飛ぶ (tondara) ⇒ 飛んだら (tondara)、飲む (nomu) ⇒ 飲んだら (nondara)
1. ใช้ในการแสดงเงื่อนไขสมมุติว่าหากเกิดเหตุการณ์ขึ้น
-
テレビを見終わったら、寝なさい
terebi o miowattara, nenasai
ถ้าดูโทรทัศน์จบแล้ว ก็เข้านอนซะ
-
雨が降らなかったら、買い物に行く
ame ga furanakattara, kaimono ni iku
ถ้าฝนไม่ตก ก็จะไปซื้อของ
-
食べたかったら、食べていいよ
tabetakattara, tabete ii yo
ถ้าอยากทาน ก็ทานได้นะ
2. ใช้ในการแสดงเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน
-
春になったら、暖かくなる
haru ni nattara, atatakaku naru
เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ก็จะอบอุ่น
-
暖かくなったら、桜が咲く
atatakaku nattara, sakura ga saku
เมื่ออากาศอบอุ่น ซากุระก็จะบาน
-
太陽が沈んだら、気温が下がる
taiyou ga shizundara, kion ga sagaru
เมื่อดวงอาทิตย์ตก อุณหภูมิก็จะลดลง
3. ใช้ในการแนะนำ เสนอแนะ หรือชักจูง โดยในการพูดจะจบประโยคด้วยเสียงสูง
-
今電話したら
ima denwa shitara
ลองโทรศัพท์ตอนนี้ซิ
-
親と相談したらどう
oya to soudan shitara dou
ปรึกษากับพ่อแม่ก่อนไม่ดีหรือ
-
皆の意見を聞いたらどうですか
minna no iken o kiitara dou desu ka
ลองฟังความเห็นของทุกคนก่อนดีไหมครับ/ค่ะ
4. ใช้ในการออกคำสั่งอย่างอ้อมๆ ... มักเป็นคำพูดของผู้หญิง
-
まだ早いから、もう少しいたら
mada hayai kara, mou sukoshi itara
ยังเร็วอยู่ อยู่ต่ออีกหน่อยซิ
-
こんな時間だから、もう帰ったら
konna jikan dakara mou kaettara
เวลาปานนี้แล้ว กลับได้แล้ว
-
あなたが使った物だから、あなたが片付けたら
anata ga tsukatta mono dakara, anata ga katatzuketara
เนื่องจากเป็นของที่เธอใช้ เธอจึงควรเก็บให้เข้าที่เข้าทางซิ
คำช่วยเกี่ยวเนื่อง : 係助詞
เป็นคำที่เปลี่ยนเสียงมาจากคำว่า といったら โดยมักจะพูดเป็น ったら ใช้ต่อท้ายคำนาม หรือคำกริยา คำคุณศัพท์ (adj -i) หรือคำกริยานุเคราะห์บางคำ ที่ผันอยู่ในฟอร์มจบ (終止形 : shuushikei) หรือฟอร์มคำสั่ง (命令形 : meireikei) หรือต่อท้ายคำกริยา คำคุณศัพท์ที่อยู่ในรูป dic form
1. ใช้ยกเรื่องราวหรือบุคคลขึ้นมากล่าวเป็นหัวข้อเรื่อง เพื่อแสดงความประหลาดใจ หรือดูหมิ่นดูแคลน หรือด้วยความสนิทสนม
-
あなたの考え方ったら、かなり古いのね
anata no kangaekata t tara, kanari furui no ne
ความคิดของเธอน่ะ ค่อนข้างโบราณนะ
-
君ったら、以外にスポーツが上手だね
kimi t tara, igai ni supootsu ga jouzu da ne
เธอน่ะ เล่นกีฬาเก่งกว่าที่คิดนะ
-
彼ったら、何をやっても長続きしない
kare t tara, nani o yatte mo nagatsutzuki shinai
เขาน่ะ ทำอะไรก็ได้ไม่นานหรอก
2. ใช้ยกสภาพหรือคุณสมบัติขึ้นมากล่าว เพื่อแสดงอารมณ์ตกใจว่าสิ่งนั้นเกินเลยกว่าปกติ โดยอาจใช้ในรูป たらない ก็ได้
-
彼の親切さったら、一生忘れない
kare no shinsetsusa t tara, isshou wasurenai
ความใจดีของเขา ไม่สามารถลืมได้ตลอดชีวิต
-
面白いったら、ありゃしない
omoshiroi t tara, arya shinai
สนุกจนไม่มีอะไรเกิน
-
この店は賑やかったらない
kono mise wa nigiyaka t tara nai
ร้านนี้พลุกพล่านจังเลย
3. เพื่อแสดงความหมายเน้นย้ำ
-
食べないったら食べない
tabenai t tara tabenai
บอกว่าไม่ทานก็ไม่ทาน
-
始めるったら始めるよ
hajimeru t tara hajimeru yo
บอกว่าจะเริ่มก็จะเริ่มละนะ
-
止めなさいったら止めなさい
yamenasai t tara yamenasai
บอกให้หยุดก็หยุด !
คำช่วยจบ : 終助詞
เป็นวิธีการใช้ たら ซึ่งเป็นคำช่วยเกี่ยวเนื่อง (係助詞) ในการจบท้ายประโยค โดยมักจะพูดเป็น ったら ใช้ต่อท้ายคำนาม หรือคำผันที่อยู่ในฟอร์มจบ (終止形 : shuushikei) หรือฟอร์มคำสั่ง (命令形 : meireikei)
1. แสดงการกระตุ้นหรือร้องเรียกฝ่ายตรงข้าม ด้วยความรู้สึกรำคาญใจหรือหงุดหงิดใจ
-
もう、君ったら
mou, kimi t tara
โธ่ เธอนี่ก็
-
ねえ、田中さんたら
nee, tanakasan tara
นี่ๆ คุณทานากะละก็
-
早く、お父さんたら
hayaku, otousan tara
เร็วซิ คุณพ่อละก็
2. แสดงความรู้สึกประหลาดใจ
-
まあ、あなたったら
maa, anata t tara
แหม คุณนี่ก็
-
あ、君ったら
a, kimi t tara
เอ๊ะ เธอนี่
3. แสดงการเน้นย้ำ โดยการพูดแบบห้วนๆ
-
行かないったら
ikanai t tara
ไม่ไป ! (บอกแล้วไงว่าไม่ไป)
-
いやだったら
iya da t tara
ไม่ ! (บอกแล้วไงว่าไม่)
-
僕が選ぶったら
boku ga erabu t tara
ผมจะเลือกเอง ! (บอกแล้วไงว่าผมจะเลือกเอง)
4. ใช้ในประโยคออกคำสั่งหรือร้องขอ เพื่อแสดงอารมณ์หงุดหงิดจากการที่ฝ่ายตรงข้ามไม่เข้าใจหรือไม่ตอบสนองความต้องการของตน
-
もう寝なさいったら
mou nenasai t tara
นอนได้แล้ว !
-
早く起きてったら
hayaku okite t tara
ตื่นเร็วซิ !
-
静かにったら
shizuka ni t tara
เงียบ ! (บอกให้เงียบ !)
คำช่วยวิเศษณ์ : 副助詞
เป็น ภาษาเก่า ที่เปลี่ยนเสียงมาจากคำว่า とやら ใช้ในการแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ชัดเจน มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า とか
pageviews 2,122,106