เลือกตัวอักษร |
|
|
|
|
การใช้คำว่า まで
อ่าน 19899 ครั้ง
|
|
|
คำช่วยวิเศษณ์ : 副助詞
ใช้ต่อท้ายคำหลัก (体言) หรือคำที่มีสถานะเทียบเท่าคำหลัก (準体言) หรือคำผัน (活用語) ที่อยู่ในรูป rentaikei หรือคำช่วย เป็นต้น เพื่อทำหน้าที่ดังนี้
-
แสดงขอบเขตหรือปลายทางที่เกี่ยวกับสถานที่ ระยะทาง หรือเวลา อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวหรือการกระทำ
- 春休みも明日までだ
haru yasumi mo asu made da
วันหยุดฤดูใบไม้ผลิก็จะสิ้นสุดในวันพรุ่งนี้แล้ว
- チェンマイまで来たのは久しぶりだ
chenmai made kita no wa hisashiburi da
การมาถึงเชียงใหม่ เป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นนาน
- タイから日本まで約六時間かかる
tai kara nihon made yaku roku jikan kakaru
จากประเทศไทยถึงประเทศญี่ปุ่น ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง
- แสดงปริมาณ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวหรือการกระทำ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า「…ほど」หรือ「…くらいに」
- 目が痛くなるまでゲームを遊んだ
me ga itaku naru made geemu o asonda
เล่นเกมส์จนกระทั่งเจ็บตา
- そんなにまで日本に行きたいの
sonna ni made nihon ni ikitai no
อยากไปญี่ปุ่นขนาดนั้นเชียวหรือ
- ใช้ในการยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่สุดขั้วเรื่องหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจไปได้ว่า ไม่น่าจะมีเรื่องอื่นที่เกินเลยไปจากนั้นอีกแล้ว มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า「さえ」
- 子供にまで笑われた
kodomo ni made warawareta
ถูกหัวเราะแม้กระทั่งจากเด็ก
- 友人にまで見放された
yuujin ni made mihanasareta
ถูกทอดทิ้งแม้กระทั่งจากเพื่อนสนิท
- แสดงการสิ้นสุดของอาการหรือการกระทำ ว่าจะไม่เกินกว่านั้นไปอีกแล้ว มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า「…だけ」หรือ「…にすぎない」
- 言うまでもないが、今日の試験が一番大事だ
iu made mo nai ga, kyou no shiken ga ichiban daiji da
ไม่ต้องพูดกว่านี้อีกแล้ว การสอบวันนี้มีความสำคัญที่สุด
- 負けたのは運が悪かったまでだ
maketa no wa un ga warukatta made da
ที่แพ้ ไม่มีอะไรนอกไปจากโชคร้าย
- ใช้จบท้ายประโยคในลักษณะของคำช่วยจบ (終助詞) เพื่อเน้นย้ำความหมาย ในลักษณะเดียวกับการใช้งานข้อที่ 4 แต่เป็นวิธีที่มักจะไม่นิยมใช้
- これは念のために言っておくまで
kore wa nen no tame ni itte oku made
นี่เป็นสิ่งที่พูดเพื่อย้ำความมั่นใจ
คำช่วยจบ : 終助詞
เป็นภาษาเก่า ใช้ในการเน้นย้ำหรือยืนยัน โดยมีความหมายเดียวกับคำว่า「ね」「よ」และ「ぞ」
|
กรณีเป็น comment ที่สอบถาม Webmaster เมื่อตั้งคำถามเสร็จแล้ว ช่วยแจ้งไว้ที่ไทม์ไลน์ facebook j-campus ให้ด้วย เพื่อที่ Webmaster จะได้ตามเข้ามาตอบคำถามให้ครับ |
|
|
|
|
|