อ่าน 25,219 ครั้ง
かしら
เกิดจากการผสมคำระหว่าง か และ 知らん เป็น 「かしらん」 จากนั้นจึงเปลี่ยนเสียงมาเป็น 「かしら」 ปัจจุบันเป็นคำที่มักใช้โดยผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่
คำช่วยวิเศษณ์ : 副助詞
ใช้ต่อท้ายคำปุจฉาสรรพนาม เพื่อแสดงความรู้สึกที่ไม่ชัดเจน
-
なにかしら人影のようなものが見えた
Nani kashira hitokage no youna mono ga mieta
อะไรก็ไม่รู้มองเห็นเหมือนกับเงาคน
-
どこかしらへ消えていった
Doko kashira e kiete itta
หายไปที่ไหนแล้วก็ไม่รู้
คำช่วยจบ : 終助詞
ใช้ต่อท้ายคำหลัก (体言) หรือคำเทียบเท่าคำหลัก หรือคำผัน (活用語) ที่อยู่ในรูป Rentaikei หรือคำอื่นๆ เพื่อจบท้ายประโยค
1. แสดงความสงสัยเล็กน้อยหรือตั้งคำถามกับตนเองหรือคู่สนทนา โดยไม่ได้คาดหวังว่าต้องได้รับคำตอบ
-
สอบถามกับตนเอง
-
今日は何を食べようかしら
Kyou wa nani o tabeyou kashira
วันนี้จะทานอะไรดีนะ
-
こんな時間に誰が来たのかしら
Konna jikan ni dare ga kita no kashira
เวลาป่านนี้แล้ว ใครมากันนะ
-
สอบถามคู่สนทนา
-
あなたはお茶でいいかしら
Anata wa o cha de ii kashira
คุณ น้ำชาก็ได้ใช่ไหมนะ
2. ใช้ต่อท้ายคำกริยานุเคราห์ที่เป็นคำหักล้าง เช่น 「ない」 「ん」 หรือ 「ぬ」
-
เพื่อแสดงความต้องการ หรือไหว้วาน
-
早く夏休みにならないかしら
Hayaku natsu yasumi ni naranai kashira
อยากให้ถึงวันหยุดฤดูร้อนเร็วๆจังเลย
-
それを私にくれないかしら
Sore o watashi ni kurenai kashira
ขออันนั้นให้ฉันได้ไหมนะ
-
ちょっとここに来てくれないかしら
Chotto koko ni kite kurenai kashira
ช่วยมาที่นี่หน่อยได้ไหมนะ
-
เพื่อแสดงความรู้สึกอันตรายหรือไม่ปลอดภัย
-
これを飲んでも危なくないかしら
Kore o nonde mo abunakunai kashira
ดื่มนี่แล้วจะไม่อันตรายหรอกหรือ
-
失敗しないかしら
Shippai shinai kashira
จะไม่ล้มเหลวหรอกหรือ
3. แสดงการสอบถามฝ่ายตรงข้าม
-
あなたはタイ人かしら
Anata wa taijin kashira
คุณเป็นคนไทยหรือ
-
ご主人はあの方かしら
Go shujin wa ano kata kashira
สามี(ของคุณ)คือคนนั้นหรือ
4. แสดงการกระตุ้นเตือนตนเอง หรือขอความเห็นชอบจากคู่สนทนา
-
そろそろ寝るかしら
Sorosoro neru kashira
นอนได้แล้วละมั้งเรา
-
もう少し遊ぼうかしら
Mou sukoshi asobou kashira
เล่นต่อกันอีกหน่อยไหม
pageviews 1,959,373