เลือกตัวอักษร |
|
|
|
|
การใช้คำว่า か
อ่าน 87962 ครั้ง
|
|
|
คำช่วยวิเศษณ์ : 副助詞
ใช้ต่อท้ายคำประเภทต่างๆ
- ใช้กับคำปุจฉาสรรพนาม หรือใช้ร่วมกับคำในรูป 「…とか」 เพื่อแสดงความไม่มั่นใจ
- どこかで会った
Doko ka de atta
เคยพบที่ไหนซักแห่ง
- なんだか変だな
Nan da ka hen da na
มีอะไรบางอย่าง ผิดปกติแฮะ
- 彼も来るとか言っていた
Kare mo kuru to ka itte ita
เขาบอกเหมือนกับว่าจะมาด้วย
- แสดงการสันนิษฐานด้วยความรู้สึกสงสัย
- 心なしか元気がなさそうだ
Kokoro nashi ka genki ga nasasou da
มีความรู้สึกเหมือนกับว่า ท่าทางไม่ค่อยมีแรง
- 気のせいか人の声が聞こえてきた
Ki no sei ka hito no koe ga kikoete kita
รู้สึกเหมือนกับว่า ได้ยินเสียงคนแว่วมา
- ใช้ยืนยันว่าไม่มีความมั่นใจ โดยมักใช้ในรูป 「かもしれない」「かもわからない」หรือ「かも」ในลักษณะเดียวกับเดียวกับคำช่วยจบ (終助詞)
- 今電話すれば間に合うかもしれない
Ima denwa sureba ma ni au kamoshirenai
ถ้าโทรศัพท์ตอนนี้ อาจจะทันเวลา
- この話は本当かもね
Kono hanashi wa kamo ne
เรื่องนี้อาจจะจริงก็ได้นะ
คำช่วยจบ : 終助詞
ใช้ต่อท้ายคำต่างๆในการจบประโยค
- แสดงความสงสัยหรือคำถาม
- 君もその本を見たか
Kimi mo sono hon o mita ka
เธอก็ได้ดูหนังสือเล่มนั้นด้วยหรือเปล่า
- 人間はなぜ死ぬでしょうか
Ningen wa naze shinu deshou ka
มนุษย์ ทำไมถึงต้องตายด้วยนะ
- แสดงความเห็นขัดแย้ง โดยมักใช้ร่วมกับคำที่ผันในรูป「う」หรือ「よう」
- こんな無責任な意見に賛成できようか
Konna musekinin na iken ni sansei dekiyou ka
ความเห็นที่ไม่มีความรับผิดชอบแบบนี้ จะเห็นด้วยได้อย่างไร
- 果たしてこれが真実と言えようか
Hatashite kore ga shinjitsu to ieyou ka
ว่าแต่ เรื่องนี้ จะพูดว่าเป็นความจริงได้หรือ
- แสดงการต่อว่าหรือตอบโต้
- そんなこと知るものか
Sonna koto shiru mono ka
เรื่องแบบนั้น จะไปทราบได้ยังไง
- 本当にそうだろうか
Hontou ni sou darou ka
จะจริงตามนั้นน่ะเรอะ
- แสดงความหมายหว่านล้อมหรือไหว้วาน โดยมักใช้ร่วมกับคำที่ผันในรูป 「う」「よう」หรือ「ない」
- ラーメンでも食べようか
Raamen demo tabeyou ka
ทานราเมงกันดีไหม
- ちょっと手を貸してくれないか
Chotto te o kashite kurenai ka
ขอความช่วยเหลือสักหน่อยได้ไหม
- แสดงความรู้สึกที่ต้องการออกคำสั่ง โดยมักใช้ในรูป 「ないか」 หรือ 「たらどうか」
- 速く歩かないか
Hayaku arukanai ka
เดินให้เร็วหน่อยได้ไหม
- よさないか
Yosanai ka
ไม่หยุดเหรอ (หยุดเถอะ)
- もっと食べたらどうか
Motto tabetara dou ka
ทานอีกหน่อยซิ
- ใช้ในการถามย้ำความรู้สึก
- 本当にほしいのか
Hontou ni hoshii no ka
อยากได้จริงๆนะหรือ
- いいか、出発するぞ
ii ka, shuppatsu suru zo
เอารึยัง จะออกเดินทางละนะ
- แสดงความรู้สึกที่ได้ย้ำไว้แล้ว โดยมักใช้ในรูป 「ではないか」
- 遅刻するなと言ったではないか
Chikoku suru na to itta dewanai ka
บอกแล้วยังไงว่าอย่ามาสาย
- แสดงความต้องการ โดยมักใช้ในรูป 「ないかな」
- だれか来てくれないかな
Dare ka kite kurenai ka na
จะมีใครมาบ้างไหมนะ (อยากให้มีใครมาจังเลย)
- 早く土曜日にならないかな
Hayaku doyoubi ni naranai ka na
จะถึงวันเสาร์เร็วๆไหมนะ (อยากให้ถึงวันเสาร์เร็วๆจังเลย)
- แสดงความรู้สึกตกใจหรือประทับใจ
- だれかと思ったら、君だったのか
Dare ka to omottara, kimi datta no ka
นึกว่าใคร เธอนี่เอง
- なかなかやるじゃないか
Nakanaka yaru janai ka
ทำได้ดีทีเดียวนี่
- แสดงความหมายในการพูดกับตนเองเพื่อเตือนสติ โดยยกคำพูดหรือเหตุการณ์จริงขึ้นมาแสดง
- ああ、失敗だったのか
Aa, shippai datta no ka
โธ่ ไม่สำเร็จหรือนี่
- そろそろ寝るとするか
Sorosoro neru to suru ka
ได้เวลานอนแล้วซินะ
- そうか、わかったぞ
Sou ka, wakatta zo
อย่างนี้นี่เอง เข้าใจแล้วล่ะ
คำช่วยคู่ขนาน : 並立助詞
ใช้ต่อท้ายคำหลัก (体言) หรือคำแสดง (用言) หรือคำอื่นๆ เพื่อให้เลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเพื่อแสดงเรื่องที่คลุมเครือไม่ชัดเจน
- แสดงความหมายให้เลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากสิ่งที่ยกตัวอย่างขึ้นมา โดยมักใช้ในรูป 「…か…か」 หรือ 「…か…」
- 明日は雨か雪になるだろう
Ashita wa ame ka yuki ni naru darou
วันพรุ่งนี้ คงจะเป็นฝนหรือไม่ก็หิมะ
-
イエスかノーか、はっきり答えなさい
Iesu ka noo ka, hakkiri kotaenasai
จะ Yes หรือ No ตอบมาให้ชัด
- แสดงความรู้สึกสงสัย โดยมักใช้ในรูป 「…かどうか」 หรือ 「…か否か」
- 彼の言うことが信用できるかどうか
Kare no iu koto ga shinyou dekiru ka dou ka
คำพูดของเขาจะเชื่อถือได้หรือเปล่าก็ไม่รู้
- 運転免許書を持っているか否かが問題だ
Unten menkyosho o motte iru ka ina ka ga mondai da
มีใบขับขี่หรือไม่มี คือเรื่องที่เป็นปัญหา
- แสดงสภาพที่มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นพร้อมกัน หรือเกิดขึ้นตามหลังเหตุการณ์อีกอย่างหนึ่ง โดยมักใช้ในรูป 「…か…ないかのうちに」
- 横になるかならないかのうちに、もういびきをかいている
Yoko ni naru ka naranai ka no uchi ni, mou ibiki o kaite iru
ในขณะที่เพิ่งจะล้มตัวลงนอน ก็ส่งเสียงกรนแล้ว
- แสดงถึงคำ 2 ชนิด โดยคำที่อยู่ข้างหลังมักจะเป็นคำปุจฉาสรรพนาม เพื่อแทนสิ่งที่คล้ายคลึง หรือจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับคำแรกที่กล่าวถึง โดยมักใช้ในรูป 「…か何か」 「…かどこか」 หรือ 「…か誰か」
- ペンか何か書くものを持ってきて下さい
Pen ka nani ka kaku mono o motte kite kudasai
ช่วยหยิบปากกาหรืออะไรก็ได้สำหรับเขียนมาให้หน่อย
-
公園かどこかで遊ぼう
Kouen ka doko ka de asobou
ไปเล่นที่สวนสาธารณะหรือที่ไหนซักแห่งกันเถอะ
คำช่วยเกี่ยวเนื่อง : 係助詞
ใช้ในภาษาญี่ปุ่นโบราณ โดยมีรูปแบบประโยคคือ
.................か、........................。
เพื่อแสดงความรู้สึก- สงสัยหรือสอบถาม
- คัดค้าน
- มีอารมณ์สับสน
คำวิเศษณ์ : 副詞
ใช้ในภาษาญี่ปุ่นโบราณ มักใช้คู่กับคำว่า 「かく」 มีความหมายว่า แบบนั้น หรือลักษณะนั้น
คำต้น : 接頭語
ส่วนใหญ่จะใช้นำหน้าคำคุณศัพท์ เพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่น หรือเพื่อปรับโทนเสียง
-
- か弱い
Kayowai
อ่อนแอ แบบบาง
- か細い
Kabosoi
บอบบาง แผ่วเบา
- か黒い
Kaguroi
ดำมืด
คำท้าย : 接尾語
ใช้ต่อท้ายคำหรือส่วนของคำ ที่แสดงสภาพหรือคุณสมบัติ เพื่อให้สื่อความหมายตามสภาพหรือคุณสมบัตินั้นๆ โดยมักจะใช้ในลักษณะของคำวิเศษณ์ (副詞) หรือคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 (形容動詞) คือ ตามท้ายด้วย に、な หรือ なり เป็นต้น
-
- しずか
shizuka
เงียบสงัด สงบ นิ่ง เรียบร้อย ไม่พูดมาก
- おろか
Oroka
ทึ่ม ไร้สาระ ไม่ชำนาญ ด้อย
- さだか
Sadaka
ชัดเจน
|
กรณีเป็น comment ที่สอบถาม Webmaster เมื่อตั้งคำถามเสร็จแล้ว ช่วยแจ้งไว้ที่ไทม์ไลน์ facebook j-campus ให้ด้วย เพื่อที่ Webmaster จะได้ตามเข้ามาตอบคำถามให้ครับ |
|
|
|
|
|