อ่าน 39,689 ครั้ง
คำช่วยเกี่ยวเนื่อง : 係助詞
は
ออกเสียงเช่นเดียวกับคำว่า「わ : wa」
ใช้ต่อท้ายคำนาม คำเสมือนคำนาม คำผันที่อยู่ในรูป Renyoukei คำช่วย หรือคำอื่นๆ
ลักษณะการใช้ดั้งเดิม คือเพื่อเป็นการดึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด จากในบรรดาหลายๆสิ่ง ขึ้นมากล่าวถึง
1. ใช้เพื่อยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมากล่าวเป็นพิเศษ
-
朝食は私が作る
Choushoku wa watashi ga tsukuru
อาหารเช้า ฉันจะเป็นคนทำ (แต่อาหารมื้ออื่น ยังไม่พูดถึง)
-
平仮名は全部覚えた
Hiragana wa zenbu oboeta
ฮิรางานะ จำได้หมดแล้ว (แต่อักษรอื่น ยังไม่พูดถึง)
2. ใช้แสดงหัวข้อ เพื่อกำหนดกรอบของสิ่งที่กำลังกล่าวถึง
-
日本はお寺が多い
Nihon wa o tera ga ooi
ญี่ปุ่น วัดมาก
-
象は鼻が長い
Zou wa hana ga nagai
ช้าง งวงยาว
-
トマトは野菜だ
Tomato wa yasai da
มะเขือเทศ เป็นผัก
3. ใช้เพื่อแสดงเรื่องที่กำลังเปรียบเทียบกัน หรือแสดงสิ่งที่ต่างกับสิ่งอื่น
-
風は強いが、日は照っている
Kaze wa tsuyoi ga, hi wa tette iru
ลมแรง แต่แสงแดดแจ่มจ้า
-
親には孝行、友人には信義
Oya ni wa koukou, yuujin ni wa shingi
กับพ่อแม่ กตัญญู กับเพื่อนสนิท ซื่อสัตย์
4. ใช้เพื่อเน้นย้ำสิ่งที่กำลังบอกกล่าว
-
ใช้ต่อท้ายคำช่วยสถานะ คำวิเศษณ์ หรือคำอื่นๆ เพื่อเน้นเสียงหรือเน้นความหมาย
-
あなたとはもう会わない
Anata to wa mou awanai
กับคุณ จะไม่พบอีกแล้ว
-
ここには誰も居ない
Koko ni wa dare mo inai
ที่นี่ ไม่มีใครเลย
-
ใช้ต่อท้ายคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ที่ผันในรูป renyoukei หรือต่อท้ายคำช่วย「て」หรือ「で」เพื่อเน้นข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังบอกกล่าว
-
彼女はまだ来てはいない
Kanojo wa mada kite wa inai
เธอยังไม่มาเลย (เน้นเรื่องการมา ว่ามาหรือยัง)
-
分かってはいるが、やめられない
Wakatte wa iru ga, yamerarenai
เข้าใจ แต่เลิกไม่ได้ (เน้นเรื่องความเข้าใจ ว่าเข้าใจหรือไม่)
5. แสดงเงื่อนไขหรือสภาพในการกระทำ โดยมักใช้ในรูป「ては」
-
私としては一所懸命やるつもりだ
Watashi toshite wa isshokenmei yaru tsumori da
สำหรับฉัน มุ่งมั่นที่จะทำอย่างเต็มที่
-
宗教には強制があってはならない
Shuukyou ni wa kyousei ga atte wa ikenai
ในเรื่องของศาสนา จะต้องไม่มีการบังคับ
6. ใช้จบท้ายประโยค ในลักษณะคำช่วยจบ (終助詞) เพื่อแสดงอารมณ์หรือความประทับใจ
เป็นวิธีการใช้ในภาษาเก่า
7. ใช้ต่อท้ายคำคุณศัพท์หรือคำว่า「ず」ซึ่งผันในรูป Renyoukei เพื่อแสดงเงื่อนไขสมมุติที่มีความหมายสอดคล้อง
เป็นวิธีการใช้ในภาษาเก่า
คำอุทาน : 感動詞
ออกเสียงตามปกติ คือ 「は : ha」
1. คำที่เปล่งออกมาเพื่อตอบรับ ด้วยอาการสำรวม มีความหมายเดียวกันกับคำว่า 「はっ」
-
は、承知いたしました
Ha, shouchi shimashita
ครับ รับทราบครับ
2. คำที่เปล่งออกมาเพื่อถามย้อนกลับ ด้วยอาการสำรวมเล็กน้อย มีความหมายเดียวกันกับคำว่า 「はあ」
-
は、何でしたか
Ha, nan deshita ka
ครับ อะไรนะครับ
3. เสียงหัวเราะดังๆ เช่น 「あはは : Ahaha」 หรือ 「ははは : Hahaha」
4. เสียงที่เปล่งออกมาด้วยความสงสัยหรือลังเล มีความหมายเดียวกับคำว่า 「はて」
คำช่วยสถานะ : 格助詞
เป็นการใช้ในภาษาเก่า มีความหมายเดียวกันกับคำว่า へ ซึ่งเป็นคำช่วยสถานะ (格助詞)
pageviews 2,108,567