อ่าน 41,658 ครั้ง
คำช่วยสถานะ : 格助詞
が
ใช้ต่อท้ายคำหลัก (体言) หรือคำเทียบเท่าคำหลัก
1. เพื่อแสดงประธานผู้ทำกริยา การมีอยู่ หรือสภาพ
-
私が行く
Watashi ga iku
ฉันจะไป
-
鳥がいる
Tori ga iru
นกอยู่
-
タイが暑い
Tai ga atsui
ประเทศไทยร้อน
2. แสดงกรรมที่เกี่ยวกับความต้องการ ความรักเกลียด ความสามารถ หรืออื่นๆ
-
おいしいラーメンが食べたい
Oishii raamen ga tabetai
อยากทานราเมงอร่อยๆ
-
日本語が大好きだ
Nihongo ga daisuki da
ชอบภาษาญี่ปุ่นมาก
-
漢字が読めない
Kanji ga yomenai
อ่านคันจิไม่ออก
3. ใช้ต่อท้ายคำสรรพนาม ในลักษณะของคำเชื่อม
-
それがね、とてもおいしかったの
Sore ga ne, totemo oishikatta no
อันนั้นนะ อร่อยมากเลยละ
4. ส่วนใหญ่ใช้เป็นภาษาเขียน เพื่อขยายคำนามที่ตามหลังมา ในความหมายเดียวกันกับคำว่า の โดยมักใช้เกี่ยวกับการแสดงความสัมพันธ์ในการครอบครอง สังกัด หรือมีสถานะเดียวกัน เป็นต้น
-
我が社の自慢商品はこれだ
Wa ga sha no jiman shouhin wa kore da
สินค้าที่ภูมิใจของบริษัทของเราคืออันนี้
-
我が国は長い歴史を持つ
Wa ga kuni wa nagai rekishi o motsu
ประเทศของเรามีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน
คำช่วยเชื่อม : 接続助詞
1. ใช้เชื่อมวลีข้างหน้าและข้างหลังเข้าด้วยกันโดยไม่มีความหมายพิเศษใดๆ
-
すみませんが、今何時ですか
Sumimasen ga, ima nanji desu ka
ขอโทษ ตอนนี้กี่โมงครับ/ค่ะ
-
これもそうですが、なかなかおいしいです
Kore mo sou desu ga, nakanaka oishii desu
นี่ก็เหมือนกัน ค่อนข้างอร่อยครับ/ค่ะ
2. ใช้เชื่อมวลีที่มีความหมายขัดแย้งกัน มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า けれども
-
若く見えるが、もう30歳です
Wakaku mieru ga, mou sanjussai desu
ดูยังเด็ก แต่ 30 ปีแล้วครับ/ค่ะ
-
今日は日曜日だが、補習授業がある
Kyou wa nichiyoubi da ga, hoshuu jugyou ga aru
วันนี้วันอาทิตย์ แต่มีเรียนพิเศษ
3. ใช้ในรูป 「…うが」 หรือ 「…まいが」 เพื่อแสดงอาการไม่สนใจไยดี
-
誰が来ようが、私には関係ない
Dare ga koyou ga, watashi ni wa kankei nai
ใครจะมา ก็ไม่เกี่ยวกับฉัน
-
行こうが行くまいが、あなたの勝手だ
Ikou ga iku mai ga, anata no katte da
จะไปหรือไม่ไป ก็ตามใจเธอ
4. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับลำดับเวลาของเหตุการณ์ 2 อย่าง
-
一階に下りたが、誰もいなかった
Ikkai ni orita ga, dare mo inakatta
ลงมาที่ชั้นล่าง แต่ไม่มีใครอยู่เลย
คำช่วยจบ : 終助詞
1. ใช้เพื่อพูดอ้อมๆ
-
แสดงความหวังที่ต้องการให้เป็นจริง
-
明日晴れると良いが
Asu hareru to ii ga
ถ้าพรุ่งนี้อากาศแจ่มใสก็คงจะดี
-
แสดงการลังเลที่จะพูดตรงๆ
-
私はこっちが良いと思うが
Watashi wa kotchi ga ii to omou ga
ฉันคิดว่าอันนี้น่าจะดีกว่านะ
-
แสดงความสงสัย
-
あれ、さっきまでそこに居たはずだが
Are, sakki made soko ni ita hazu da ga
เอ๊ะ เมื่อสักครู่นี้ยังอยู่ตรงนั้นนี่นา
2. แสดงความรู้สึกมุ่งหวังในสิ่งที่ตรงข้ามกับความเป็นจริง หรือสิ่งที่เป็นไปได้ยาก แต่เป็นเรื่องที่ประทับใจ โดยมักใช้ในรูป 「…がなあ」
-
日本語能力検定試験に合格するといいがなあ
Nihongo nouryoku kentei shiken ni goukaku suru to ii ga naa
ถ้าสอบวัดระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่นผ่าน ก็จะดีจังเลย
-
また日本に行けるといいがなあ
Mata nihon ni ikeru to ii ga naa
ถ้าได้ไปญี่ปุ่นอีก ก็จะดีจังเลย
3. แสดงอารมณ์ก่นด่า โดยใช้คู่กับคำว่า 「め」 ที่เป็นคำก่นด่า
-
愚か者めが
Orokamono me ga
ไอ้โง่นี่!
คำเชื่อม : 接続語
ใช้เพื่อแสดงว่า เรื่องที่พูดทีหลัง มีเนื้อหาขัดแย้งกับเรื่องที่พูดตอนต้น
มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า だが หรือ けれども
-
一所懸命勉強した。が、不合格だった
Isshokenmei benkyou shita. Ga, fugoukaku datta
ตั้งใจเรียนเต็มที่ แต่สอบตก
-
電車が遅れた。が、授業に間に合った
Densha ga okureta. Ga, jugyou ni ma ni atta
รถไฟมาช้า แต่ก็ทันชั่วโมงเรียน
pageviews 2,137,437