อ่าน 40,825 ครั้ง
คำช่วยเชื่อม : 接続助詞
でも
เกิดจาก 「て」 ซึ่งเป็นคำช่วยเชื่อม รวมกับ 「も」 ซึ่งเป็นคำช่วยเกี่ยวเนื่อง กลายเป็น 「ても」
แต่หากนำไปใช้ต่อท้ายคำกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง ~ぐ, ~ぬ, ~ぶ, ~む ซึ่งผันอยู่ในรูป rentaikei หรือต่อท้ายคำว่า 「ない」ก็จะผันเสียงเป็นจาก 「ても」 เป็น 「でも」
ใช้เชื่อมเรื่องที่ขัดแยังกัน บนเงื่อนไขสมมุติหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว
このことは死んでも言ってはいけない
kono koto wa shindemo itte wa ikenai
เรื่องนี้ ถึงจะตาย ก็พูดไม่ได้
いくら読んでも理解できない
ikura yondemo rikai dekinai
อ่านเท่าไร ก็ไม่เข้าใจ
この歌は歌詞を見ないでも歌える
kono uta wa kashi o minaidemo utaeru
เพลงนี้ไม่ต้องดูเนื้อเพลง ก็ร้องได้
คำช่วยเกี่ยวเนื่อง : 係助詞
เกิดจาก 「で」 ซึ่งเป็นคำช่วยสถานะ หรือ 「だ」 ซึ่งเป็นคำกริยานุเคราะห์แสดงการยืนยัน ที่ผันอยู่ในรูป renyoukei เป็น 「で」 รวมกับ 「も」 ซึ่งเป็นคำช่วยเกี่ยวเนื่อง กลายเป็น 「でも」
ใช้เชื่อมคำหลัก (体言) หรือคำเสมือนคำหลัก หรือคำหลักที่ต่อท้ายด้วยคำช่วยที่ไม่ใช่ 「が」 และ 「を」 หรือคำวิเศษณ์ หรือ 「て」 ซึ่งเป็นคำช่วยเชื่อม เป็นต้น
1. ใช้ยกตัวอย่างเรื่องที่สุดขั้ว เพื่อให้คาดคะเนว่าเรื่องอื่นๆก็ย่อมต้องเป็นไปในทำนองเดียวกัน มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「でさえ」
この問題は子供でもできる
kono mondai wa kodomo demo dekiru
คำถามนี้ แม้แต่เด็กก็ทำได้
バンコクの気候は涼しいときでも20度以上だ
bankoku no kikou wa suzushii toki demo nijuu do ijou da
อากาศที่กรุงเทพ แม้แต่ตอนที่เย็นสบาย ก็ยังมากกว่า 20 องศา
このカレーはタイ人でも辛いと感じる
kono karee wa taijin demo karai to kanjiru
แกงเผ็ดนี้ แม้แต่คนไทยก็ยังรู้สึกว่าเผ็ด
2. ใช้ยกตัวอย่างเรื่องที่ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องพิเศษ เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ได้แตกต่างไปจากเรื่องอื่นๆทั่วไป มีความหมายเดียวกันกับคำว่า 「たとえ…であっても」
今からでもまだ間に合う
ima kara demo mada ma ni au
แม้จะตั้งแต่ตอนนี้ แต่ก็ยังทันเวลา
雨でも試合は続行する
ame demo shiai wa zokkou suru
แม้ฝน แต่การแข่งขันก็ยังจะดำเนินต่อ
元気な子でも一度は風邪を引いたことがあるはずだ
genki na ko demo ichido wa kaze o hiita koto ga aru hazu da
แม้แต่เด็กที่แข็งแรง ก็คงต้องเคยเป็นหวัดซักครั้งหนึ่ง
3. ใช้ร่วมกับคำปุจฉา เพื่อแสดงความหมายครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง
タイ人は誰でも国歌が歌える
taijin wa dare demo kokka ga utaeru
คนไทย ทุกคนสามารถร้องเพลงชาติได้
私は牛肉以外なら何でも食べられる
watashi wa gyuuniku igai nara nan demo taberareru
ฉันทานได้ทุกอย่าง ถ้านอกเหนือจากเนื้อวัว
分からないことがあれば、いつでも聞いてください
wakaranai koto ga areba, itsu demo kiite kudasai
หากมีสิ่งไม่เข้าใจ เชิญถามได้ตลอดเวลาครับ/ค่ะ
4. ใช้ยกตัวอย่างหนึ่งขึ้นมา เพื่อพูดอย่างคลุมเครือโดยไม่ต้องการกำหนดให้ชัด
お母さんにでも聞いてみる
okaasan ni demo kiite miru
จะลองถามคุณแม่ดู (แต่อาจจะถามคนอื่นแทนก็ได้)
お菓子でも買って来てください
okashi demo katte kite kudasai
ช่วยซื้อขนมมาให้หน่อยนะครับ/ค่ะ (หรือจะซื้ออย่างอื่นมาแทนก็ได้)
外へでも行こうか
soto e demo ikou ka
ออกไปข้างนอกกันไหม (หรือจะทำอย่างอื่นก็ได้)
5. ใช้แสดงความหวังที่เป็นไปได้ยาก มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「せめて」
お父さんでも居てくれたらなあ
otousan demo ite kuretara naa
คุณพ่อก็น่าจะอยู่ด้วยนะ
きのう買い物にでも行けば良かった
kinou kaimono ni demo ikeba yokatta
เมื่อวานนี้ ถ้าไปซื้อของ ก็คงจะดี
6. ใช้ในรูปปฏิเสธ คือ「でもない」เพื่อแสดงการตัดสินใจที่คลุมเครือ
今回のテストの結果は満更でもない
konkai no tesuto no kekka wa manzara demo nai
ผลการสอบครั้งนี้ ก็ไม่ได้แย่นัก (ไม่ดี แต่ก็ไม่ถึงกับแย่)
彼の提案は必ず正しいものでもない
kare no teian wa kanarazu tadashii mono demo nai
ข้อเสนอของเขา ก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องทุกครั้งไป (ส่วนใหญ่มักจะถูก แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องถูกอยู่เสมอ)
คำเชื่อม (คำสันธาน) : 接続詞
เป็นภาษาพูด เป็นคำย่อของคำว่า 「それでも」
1. เป็นคำเชื่อมประโยค เพื่อแสดงการยอมรับเรื่องราวที่กล่าวไว้ในตอนต้น แต่ปฏิเสธเรื่องราวที่ตามมา ว่าไม่ได้เป็นไปตามที่ควรจะเป็น มีความหมายเดียวกันกับคำว่า 「それでも」 「けれども」 「しかし」 และ 「にもかかわらず」
あまり練習しなかった。でも、簡単に勝てた
amari renshuu shinakatta. demo, kantan ni kateta
ไม่ค่อยได้ซ้อม แต่สามารถชนะได้ง่ายๆ
今朝熱が出てきた。でも、病院には行かなかった
kesa netsu ga dete kita. demo, byouin ni wa ikanakatta
เมื่อเช้ามีไข้ แต่ไม่ได้ไปโรงพยาบาล
2. เป็นคำเชื่อมประโยค เพื่อแก้ตัวหรือโต้แย้ง กับเรื่องราวที่กล่าวไว้ในตอนต้น มีความหมายเดียวกับคำว่า 「しかし」
弟と喧嘩した。でも、私のせいじゃない
otouto to kenka shita. demo, watashi no sei ja nai
ทะเลาะกับน้องชาย แต่ไม่ใช่ความผิดของฉัน
試験に落ちた。でも、一生懸命勉強した
shiken ni ochita. demo, isshoukenmei benkyou shita
สอบตก แต่ตั้งใจเรียนเต็มที่แล้ว
คำต้น : 接頭語
ใช้นำหน้าคำศัพท์เกี่ยวกับอาชีพ ตำแหน่ง หรือยศฐาบรรดาศักดิ์
1. แสดงความหมายว่าไม่ได้มีความสามารถ สมตามชื่อหรือยศศักดิ์นั้นๆ เป็นคำที่ย่อมาจากสำนวนว่า 「あれでも…か」
でも紳士
demo shinshi
สุภาพบุรุษจอมปลอม
でも医者
demo isha
หมอด้อยประสบการณ์ หมอเถื่อน
2. แสดงความหมายว่าไม่มีความสามารถอย่างอื่น จึงจำเป็นต้องยึดอาชีพนั้น เป็นคำที่ย่อมาจากสำนวนว่า 「…にでもなるか」
でも先生
demo sensei
ครูจำเป็น
Top
pageviews 2,137,432