คำช่วยภาษาญี่ปุ่น ความหมายและตัวอย่างประโยค


อ่าน 39,908 ครั้ง

คำช่วยสถานะ : 格助詞

1. ใช้สร้างคำขยายคำหลัก (連体修飾語) ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

  1. แสดงการครอบครอง
    • ここは私の部屋です
      koko wa watashi no heya desu
      ที่นี่เป็นห้องของฉันครับ/ค่ะ
    • あなたの靴はどれですか
      anata no kutsu wa dore desu ka
      รองเท้าของคุณคืออันไหนหรือครับ/ค่ะ
  2. แสดงสังกัด
    • 田中さんは日本語学校の先生です
      tanaka san wa nihongo gakkou no sensei desu
      คุณทานากะเป็นอาจารย์ของเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นครับ/ค่ะ
    • 私はこの店の社員です
      watashi wa kono mise no shain desu
      ฉันเป็นพนักงานของร้านนี้ครับ/ค่ะ
  3. แสดงที่อยู่ มีความหมายเดียวกับคำว่า 「…にある」 หรือ 「…にいる」
    • 日本の友達から電話がかかってきた
      nihon no tomodachi kara denwa ga kakatte kita
      มีโทรศัพท์มาจากเพื่อนที่อยู่ที่ญี่ปุ่น
    • 銀座のデパートで買い物した
      ginza no depaato de kaimono shita
      ซื้อของที่ห้างสรรพสินค้าที่กินซ่า
  4. แสดงสถานที่ที่เกิดการกระทำ มีความหมายเดียวกับคำว่า 「…における」 หรือ 「…での」
    • 日本の生活に慣れてきた
      nihon no seikatsu ni narete kita
      คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นแล้ว
    • 銀行の仕事はかなりきついです
      ginkou no shigoto wa kanari kitsui desu
      งานที่ธนาคารเป็นงานที่หนักมาก
  5. แสดงเวลา
    • 今日の11時にお客さんが来る
      kyou no juuichi ji ni okyakusan ga kuru
      ลูกค้าะมาวันนี้ตอน 11 นาฬิกา
    • 去年の夏はとても暑かった
      kyonen no natsu wa totemo atsukatta
      หน้าร้อนปีที่แล้วร้อนมาก
  6. แสดงผู้ทำกริยา
    • 彼の演技は素晴らしかった
      kare no engi wa subarashikatta
      การแสดงของเขายอดเยี่ยม
    • 先生の説明が長かった
      sensei no setsumei ga nagakatta
      การกล่าวทักทายของอาจารย์นาน
  7. แสดงความสัมพันธ์หรือคุณสมบัติ มีความหมายเดียวกับคำว่า 「…にあたる」
    • こちらは知人の田中さんです
      kochira wa chijin no tanaka san desu
      ทางนี้คือคุณทานากะผู้ที่เป็นคนรู้จักครับ/ค่ะ
    • 社長の山田をご紹介します
      shachou no yamada o go shoukai shimasu
      ขอแนะนำยามาดะซึ่งเป็นประธานบริษัทครับ/ค่ะ
  8. แสดงคุณลักษณะหรือสภาพ
    • 私は黒のボールペンを買った
      watashi wa kuro no boorupen o katta
      ฉันซื้อปากกาลูกลื่นสีดำ
    • あなたは縦じまのパジャマを持っていますか
      anata wa tatejima no pajama o motte imasu ka
      คุณมีชุดนอนที่เป็นลายเส้นแนวตั้งไหมครับ/ค่ะ
  9. แสดงวัตถุดิบ
    • これはプラスチックのおもちゃだ
      kore wa purasuchikku no omocha da
      นี่เป็นของเล่นทำจากพลาสติก
    • 私は木造の家に住んでいる
      watashi wa mokuzou no ie ni sunde iru
      ฉันอาศัยในบ้านที่ทำจากไม้
  10. แสดงชื่อเรียกขาน
    • タイの国は豊かな自然に恵まれている
      tai no kuni wa yutaka na shizen ni megumarete iru
      ประเทศที่ชื่อว่าไทย โชคดีไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
    • 富士の山は日本一高い山だ
      fuji no yama wa nihon ichi takai yama da
      ภูเขาที่ชื่อฟูจิ เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
  11. แสดงจำนวนหรือลำดับ
    • 一位のチームが決まった
      ichii no chiimu ga kimatta
      ทีมที่ได้ที่ 1 กำหนดแล้ว
    • 多くの人が集まってきた
      ooku no hito ga atsumatte kita
      คนจำนวนมากมารวมตัวกัน
  12. แสดงเป้าหมายหรือคู่กรณี มีความหมายเดียวกับคำว่า 「…に対する」
    • 犯人の追跡を始めよう
      hannin no tsuiseki o hajimeyou
      เริ่มติดตามคนร้ายกันเถอะ
    • 敵の鎮圧に成功した
      teki no chinatsu ni seikou shita
      ทำสำเร็จในการปราบปรามข้าศึก
  13. ใช้แสดงวัตถุประสงค์ มีความหมายเดียวกับคำว่า 「…のための」
    • お礼の言葉を一言申し上げます
      o rei no kotoba o hitokoto moushi agemasu
      ขอกล่าวคำพูดสิ่งหนึ่งเพื่อแสดงความขอบคุณครับ/ค่ะ
    • いつも攻めの気持ちを忘れてはいけない
      itsumo seme no kimochi o wasurete wa ikenai
      อย่าลืมความรู้สึกที่จะต้องเป็นฝ่ายรุกอยู่เสมอ
  14. แสดงการเปรียบเทียบ มีความหมายเดียวกับคำว่า 「…のような」
    • この映画は花の都パリで撮影された
      kono eiga wa hana no miyako pari de satsuei sareta
      ภาพยนต์เรื่องนี้ถ่ายทำที่ปารีสอันเป็นเมืองที่หรูหราปานปกคลุมไปด้วยดอกไม้

2. แสดงประธานในวลี

3. แสดงเนื้อหา โดยมักใช้ในรูป「…のよう」เป็นต้น

4. แสดงสิ่งที่มีสถานะเดียวกัน

5. ใช้เป็นคำขยายคำแสดง (連用修飾語)

  1. ใช้ในภาษาเก่า แสดงการเปรียบเทียบ มีความหมายเดียวกับคำว่า 「…のように」
  2. ใช้ในภาษาเก่า แสดงการเคลื่อนไหวของกรรม มีความหมายเดียวกับคำว่า 「…を」
  3. ใช้ในภาษาเก่า แสดงเนื้อหา มีความหมายเดียวกับคำว่า 「…と」

6. ใช้ในภาษาเก่า ในความหมายเดียวกับคำว่า 「を」 ที่เป็นคำช่วยสถานะ

คือในกรณีที่ 「を」 อยู่ต่อท้ายอักษร 「ん」 จะเปลี่ยนจาก 「んを」 เป็น 「の」

คำช่วยจบ : 終助詞

ใช้ต่อท้ายคำผัน (活用語) ที่อยู่ในรูป rentaikei เป็นคำที่มักใช้กับคู่สนทนาที่มีความสนิทสนม

1. แสดงการยืนยันอย่างนิ่มนวล โดยลดเสียงลงต่ำ (เป็นเสียงเอก)

2. แสดงคำถามหรือความรู้สึกสงสัย โดยขึ้นเสียงสูง (เสียงจัตวา) โดยอาจใช้ในรูป 「のか」 ก็ได้

3. แสดงการออกคำสั่งในลักษณะบังคับ (โดยออกเสียงเป็นเชิงดุ หรือเข้มงวด)

4. ใช้จบท้ายประโยค เพื่อแสดงความรู้สึกประทับ หรือการเน้นย้ำ หรือขอความเห็นเดียวกัน มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「だね」 「のよ」 หรือ 「のね」

คำช่วยอุทาน : 間投助詞

เป็นสำนวนเก่า ใช้ต่อท้ายวลีเป็นช่วงๆ เพื่อปรับโทนเสียงในการพูด เช่นเดียวกับคำว่า 「ね」

คำช่วยคู่ขนาน : 並立助詞

1. ใช้ต่อท้ายคำแสดง (用言) เพื่อแสดงการยกตัวอย่างหลายๆอย่าง มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「…だの…だの」

2. ใช้กับคำคุณศัพท์ในรูป 「…の…ないの」 เพื่อแสดงสภาพที่เกินขอบเขต

คำช่วยเปลี่ยนสถานะเสมือนคำหลัก : 準体助詞

1. ใช้ต่อท้ายคำหลัก (体言) เพื่อละที่จะไม่กล่าวถึงคำนามที่ตามหลัง โดยมีความหมายเดียวกับคำว่า 「のもの」 หรือ 「のこと」

2. ใช้ต่อท้ายคำผัน (活用語) เพื่อทำให้มีสถานะเสมือนคำหลัก (体言)

3. แสดงการยืนยันหรือคาดเดาอย่างมั่นใจ โดยมักใช้ในรูป 「のだ」 「のです」 หรือ 「のだろう」 เป็นต้น

pageviews 2,106,927