อ่าน 158,630 ครั้ง
คำอุทาน ได้แก่ คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูด คำเรียกหา คำตอบขาน หรือคำทักทาย เป็นต้น
- あ、危ない
A, abunai
โอ๊ะ อันตราย
- もしもし、山田ですが
Moshimoshi, yamada desu ga
ฮัลโหล ยามาดะครับค่ะ
- おい、そこに入るな
Oi, soko ni hairu na
เฮ้ย อย่าเข้าไปที่นั่น
- ええ、私もそうだと思う
ee, watashi mo sou da to omou
เอ้อ ฉันก็คิดเช่นนั้นเหมือนกัน
คำอธิบาย
- คำอุทาน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
- คำแสดงอารมณ์ (感動 : kandou)
เป็นคำสำหรับแสดงอารมณ์ของผู้พูด เช่น
あ、ああ、あら、えっ、おっ、まあ
- คำเรียกหา (呼び掛け : yobikake)
เป็นคำสำหรับเรียกหาฝ่ายตรงข้าม เช่น
おい、こら、ちょっと、もしもし、ね、ねえ
- คำขานรับ (応答 : outou)
เป็นคำสำหรับการตอบขานรับให้แก่ฝ่ายตรงข้าม
はい、いいえ、ええ、うん、いや
- คำทักทาย (挨拶 : aisatsu)
เป็นคำสำหรับทักทายฝ่ายตรงข้าม
おはよう、こんにちは、さようなら
- คำให้เสียง (掛け声 : kakegoe)
เป็นคำสำหรับเรียกแก่คู่สนทนาหรือฝ่ายตรงข้าม เพื่อสร้างจังหวะ แรงกระตุ้น หรืออื่นๆ
えい、そら、どっこい、よいしょ
อ่านตรงนี้หน่อย
พบ 5 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 1
えっ กับ おっ เนี่ย ออกเสียงยังไงหรอคะ?
1834
20 เมย 56 15:00
ความเห็นที่ 2
っ (ตัวเล็ก) จะออกเสียงความยาว 1 จังหวะ คือเท่ากับเสียงคานะ 1 ตัว เช่น
あった = [a][t][ta] = 3 จังหวะ
แต่หากไม่มีคานะตามหลัง っ (ตัวเล็ก) จะเท่ากับการเปิดปากไว้ในรูปเดิมโดยหยุดหายใจ 1 จังหวะ หรือเท่ากับการปิดปากเพื่อกักลมไว้โดยไม่ออกเสียง 1 จังหวะ เช่น
あっ = [a][ ] = 2 จังหวะ ครับ
webmaster
30 เมย 56 17:29
ความเห็นที่ 3
[wink][clap][grin]
ฐิติพร
24 ธค 56 19:16
ความเห็นที่ 4
呼び掛け ใช่ Yobikake หรือเปล่าครับ
yy
21 กย 58 23:46
ความเห็นที่ 5
ใช่ครับ ได้แก้ไขแล้ว
ขอบคุณนะครับ
webmaster
21 กย 58 23:49
pageviews 8,319,665