อ่าน 157,940 ครั้ง
คำยกย่อง เป็นคำพูดสำหรับยกย่องฝ่ายตรงข้าม หรือยกย่องบุคคลที่กำลังกล่าวถึง
今朝 何 を 食べられました か
Kesa nani o taberaremashita ka
เมื่อเช้ารับประทานอะไรหรือครับ/ค่ะ
お疲れ に なった と 思う ので、ゆっくり お休み に なって ください
O tsukare ni natta to omou node, yukkuri o yasumi ni natte kudasai
คิดว่าคงเหนื่อยแล้ว เชิญพักผ่อนตามสบายครับ/ค่ะ
ご 主人 は 今 タイ に いらっしゃいます か
Go shujin wa ima tai ni irasshaimasu ka
สามีขณะนี้อยู่ที่ประเทศไทยหรือเปล่าครับ/ค่ะ
この 映画 を ご覧 に なりました か
Kono eiga o goran ni narimashita ka
ดูหนังเรื่องนี้แล้วหรือยังครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
คำยกย่อง (尊敬語 : sonkeigo) เป็นคำในกลุ่มคำสุภาพ ใช้เพื่อยกย่องคู่สนทนา ตลอดจนบุคคลและองค์กรในสังกัดของคู่สนทนา หรือใช้เพื่อยกย่องบุคคลที่กำลังกล่าวถึง เพื่อแสดงเจตนาให้อยู่ในสถานะที่สูงกว่าตน
คำยกย่อง สามารถแบ่งคร่าวๆได้เป็น 4 กลุ่มคือ
เปลี่ยนจากคำสามัญ เป็นคำพิเศษ เช่น
บริษัท (会社 : kaisha) เปลี่ยนเป็น 貴社 (kisha) หรือ 御社 (onsha)
สามี (夫 : otto) เปลี่ยนเป็น ご主人 (goshujin) หรือ 旦那様 (danna sama)
บุตรสาว (娘 : musume) เปลี่ยนเป็น お嬢様 (ojousama) หรือ ご息女様 (gosokujosama)
ทาน (食べる : taberu) เปลี่ยนเป็น 召し上がる (meshi agaru)
อยู่ (いる : iru) เปลี่ยนเป็น いらっしゃる (irassharu)
เปลี่ยนคำกริยาให้อยู่ในรูป ~れる หรือ ~られる เช่น
ทำ (する : suru) เปลี่ยนเป็น される (sareru) หรือ なさる (nasaru)
ไป (行く : iku) เปลี่ยนเป็น 行かれる (ikareru)
อยู่ (いる : iru) เปลี่ยนเป็น おられる (orareru)
เปลี่ยนคำกริยาให้อยู่ในรูป お…なる หรืออื่นๆ เช่น
พบ (会う : au) เปลี่ยนเป็น お会いになる (o ai ni naru)
นอน (寝る : neru) เปลี่ยนเป็น お休みになる (o yasumi ni naru)
ดู (見る : miru) เปลี่ยนเป็น ご覧になる (go ran ni naru)
เติม お หรือ ご สำหรับคำนามบางคำ เช่น
ชื่อ (名前 : namae) เปลี่ยนเป็น お名前 (o namae)
ที่พัก (住まい : sumai) เปลี่ยนเป็น お住まい (o sumai)
อายุ (年 : toshi) เปลี่ยนเป็น お年 (o toshi)
บ้านพัก (自宅 : jitaku) เปลี่ยนเป็น ご自宅 (go jitaku)
ที่อยู่ (住所 : juusho) เปลี่ยนเป็น ご住所 (go juusho)
ความต้องการ (希望 : kibou) เปลี่ยนเป็น ご希望 (go kibou)
อ่านตรงนี้หน่อย
การใช้คำยกย่องและคำถ่อมตน เป็นมารยาทที่ดีในการเข้าสังคม แต่การใช้คำยกย่องอย่างไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีแก่ผู้ฟัง ดังนั้น การใช้คำยกย่องและคำถ่อมตน จึงจำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
สิ่งที่ผิดพลาดบ่อยที่สุด คือ การใช้คำยกย่องซ้อนกัน หรือเรียกว่า 二重敬語 (nijuu keigo) ยกตัวอย่างเช่น คำว่า ご覧になる เป็นคำยกย่องอยู่แล้ว หากผันต่อในรูป ~られる อีกครั้ง ให้เป็น ご覧になられる ก็จะกลายเป็นการใช้คำยกย่องซ้อนกัน ซึ่งเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง
การใช้คำยกย่องซ้อนกัน แม้ว่าจะไม่ถึงกับเป็นการเสียมารยาทถึงขนาดสร้างความไม่พอใจแก่ฝ่ายตรงข้าม แต่ก็จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเป็นการพูดวกไปวนมา และไม่น่าฟัง
ส่วนการใช้คำยกย่อง 2 คำต่อเนื่องกัน เรียกว่า 敬語連結 (keigo renketsu) เป็นสิ่งที่สามารถใช้ได้โดยไม่ผิด ยกตัวอย่างเช่น 「ご覧になる」ซึ่งเป็นคำยกย่อง และคำว่า「いただきます」ซึ่งเป็นคำถ่อมตน สามารถใช้ต่อกันเป็น ご覧になっていただきます ได้ หรือ 「お読みになる」และ「くださる」ซึ่งเป็นคำยกย่องทั้ง 2 คำ สามารถใช้ต่อกันเป็น お読みになってくださる ได้
โพสต์ความเห็น
พบ 5 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 1
ขอบคุณค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี
Min Mu Man Mo
21 สค 56 14:33
ความเห็นที่ 2
ยินดีครับ ^^
webmaster
24 สค 56 11:39
ความเห็นที่ 3
ดีมากๆ
ne
15 กพ 59 15:57
ความเห็นที่ 4
ในบางที่เขาบอกว่าให้เติมおหน้าคำที่มาจากญี่ปุ่น แล้ว ごหน้าคำที่มาจากจีนน่ะคับ ทีนี้ผมอยากจะรู้ว่ามันมีวิธีแยกมั้ยคับว่าคำไหนมาจากอะไร หรือว่าต้องอาศัยความชินอย่างเดียวคับ?
Turbo
10 มิย 60 13:03
ความเห็นที่ 5
หลักการเบื้องต้นคือ ใช้ お+คำญี่ปุ่น และ ご+คำจีน ถูกต้องแล้วครับ
วิธีแยกให้ดูจากเสียงอ่านคำศัพท์นั้นว่า เป็นเสียง kun หรือเสียง on
แต่จะมีเงื่อนไขปลีกย่อยอื่นอีก
วิธีใช้เขียนอยู่ในบทไวยากรณ์ตามลิ้งค์นี้ครับ
http://www.j-campus.com/grammar/?chapter=11
WM -> Turbo
16 มิย 60 00:55
1
pageviews 8,319,776
Top