อ่าน 165,506 ครั้ง
แบ่งเป็น 1) ประโยคคำนามปฎิเสธ 2) ประโยคคุณศัพท์ปฎิเสธ 3)ประโยคกริยาปฎิเสธ
แต่เนื่องจากคำคุณศัพท์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งผันในรูปปฏิเสธไม่เหมือนกัน จึงมีประโยคปฏิเสธ 4 แบบ ดังนี้
ประธาน +は +คำนาม +では ありません
ประธาน +は +คุณศัพท์-i +く +ありません
ประธาน +は +คุณศัพท์-na +では ありません
ประธาน +が +คำกริยา +ません |
- あなた は 大人 では ありません
Anata wa otona dewa arimasen
คุณไม่ใช่ผู้ใหญ่ครับ/ค่ะ
- 私 は 中国人 では ありません
Watashi wa chuugokujin dewa arimasen
ฉันไม่ใช่คนจีนครับ/ค่ะ
- 私 は 田中さん では ありません
Watashi wa Tanakasan dewa arimasen
ฉันไม่ใช่คุณทานากะครับ/ค่ะ
- 先生 では ありません
Sensei dewa arimasen
ไม่ใช่อาจารย์ครับ/ค่ะ
- ねずみ は 大きく ありません
Nezumi wa ookiku arimasen
หนูไม่ใหญ่ครับ/ค่ะ
- 象 は 小さく ありません
Zou wa chiisaku arimasen
ช้างไม่เล็กครับ/ค่ะ
- 海 は きれい では ありません
Umi wa kirei dewa arimasen
ทะเลไม่สวยครับ/ค่ะ
- 彼 は 親切 では ありません
Kare wa shinsetsu dewa arimasen
เขาไม่ใจดีครับ/ค่ะ
- 子供 が 泣きません
Kodomo ga nakimasen
เด็กไม่ร้องไห้ครับ/ค่ะ
- 友達 が 来ません
Tomodachi ga kimasen
เพื่อนไม่มาครับ/ค่ะ
- 財布 が ありません
Saifu ga arimasen
กระเป๋าสตางค์ไม่อยู่ครับ/ค่ะ
- 田中さん が 居ません
Tanakasan ga imasen
คุณทานากะไม่อยู่ครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
- では ありません อ่านว่า dewa arimasen เป็นการเปลี่ยนคำว่า です ให้เป็นรูปปฏิเสธอย่างสุภาพ
- ส่วน ません เป็นการเปลี่ยนคำว่า ます ให้อยู่ในรูปปฏิเสธอย่างสุภาพ
- ประโยคคำนามปฏิเสธ จะเปลี่ยน です เป็น では ありません ตามตัวอย่างที่ ①-④
- ประโยคคุณศัพท์ปฏิเสธ มี 2 แบบ คือ
- คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 (adj-i) จะเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ありません ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥ คือ
大きい (ooki-i) เปลี่ยนเป็น 大きく (ooki-ku) ありません
小さい (chiisa-i) เปลี่ยนเป็น 小さく (chiisa-ku) ありません - คุณศัพท์กลุ่มที่ 2 จะคงรูปเดิม แต่เปลี่ยน です เป็น では ありません ตามตัวอย่างที่ ⑦-⑧
- ประโยคกริยาปฏิเสธ จะเปลี่ยน ます เป็น ません ตามตัวอย่างที่ ⑨-⑫
- การผันคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 ให้เป็นประโยคปฏิเสธอย่างสุภาพ นอกจากจะใช้วิธีเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ありません ตามตัวอย่างที่ ⑤-⑥ แล้ว ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือเปลี่ยน い เป็น く และต่อท้ายด้วย ない です คือ
- ねずみ は 大きくない です
Nezumi wa ookikunai desu - 象 は 小さくない です
Zou wa chiisakunai desu
- รายละเอียดการผันคำคุณศัพท์และคำกริยาให้อยู่ในรูปต่างๆ จะอธิบายในภายหลังต่อไป
- กรณีที่ทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะไม่พูดทั้งประธานและคำช่วยก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ 4 : (私は)先生 では ありません (ฉัน)ไม่ใช่อาจารย์ครับ/ค่ะ
- คำว่า ありません ในตัวอย่างที่ ⑪ เป็นคำกริยาแปลว่า "ไม่อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต
- คำว่า 居ません ในตัวอย่างที่ ⑫ เป็นคำกริยาแปลว่า "ไม่อยู่" จะใช้ในกรณีที่ประธานเป็นสิ่งมีชีวิต
อ่านตรงนี้หน่อย
- では ありません เป็นภาษาเขียน เวลาจะพูดมักใช้ว่า じゃ ありません (ja arimasen)
- วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ 3 : Watashi wa Tanakasan dewa arimasen ควรพูดว่า Watashiwa Tanakasandewaarimasen หรือ Watashiwa Tanakasanjaarimasen
พบ 49 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 47
きれい เป็นคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 (adj -na)
คุณศัพท์กลุ่มที่ 1 (adj -i) ทุกคำจะลงท้ายด้วย い
คุณศัพท์กลุ่มที่ 2 (adj -na) จะมีบางคำที่ลงท้ายด้วย い ครับ
webmaster
6 กย 58 18:29
ความเห็นที่ 48
อ่อครับ ละมันมีละเว้นเยอะไหมครับ
ウィジャック
6 กย 58 18:48
ความเห็นที่ 49
มีไม่มากเท่าไรครับ
เวลาจำ ก็จำเฉพาะคำที่ลงท้ายด้วยเสียง -i แต่เป็นคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 ก็พอ เช่น きれい、きらい、ゆうめい、ていねい、とくい เป็นต้น ครับ
webmaster
12 กย 58 10:30
ดูความเห็นทั้งหมด
pageviews 8,319,540