อ่าน 159,430 ครั้ง
ประโยคที่เป็นเหตุ | だが けれども +しかし+ ところが でも
| ประโยคที่เป็นผลซึ่งขัดแย้งกัน |
- 試合 に 負けました。だが いい 経験 でした
Shiai ni makemashita. Daga ii keiken deshita
แพ้การแข่งขัน แต่เป็นประสบการณ์ที่ดีครับ/ค่ะ
- 彼 は 頑固 です。けれども 話 が 分かる 人 です
Kare wa ganko desu. Keredomo hanashi ga wakaru hito desu
เขาหัวดื้อ แต่เป็นคนที่เข้าใจเหตุผลครับ/ค่ะ
- あなた の 行動 が 正しい。しかし 私 は 違う 意見 を 持って います
Anata no koudou ga tadashii. Shikashi watashi wa chigau iken o motte imasu
การกระทำของคุณถูกต้อง แต่ฉันมีความเห็นที่แตกต่างครับ/ค่ะ
- 前回 の 試験 が 良かった。ところが 今回 は あまり 良くなかった です
Zenkai no shiken ga yokatta. Tokoro ga konkai wa amari yokunakatta desu
ผลการสอบครั้งที่แล้วดี แต่ครั้งนี้ไม่ค่อยดีครับ/ค่ะ
- 私 は 風邪 を 引きました。でも 学校 を 休みませんでした
Watashi wa kaze o hikimashita. Demo gakkou o yasumimasendeshita
ฉันเป็นหวัด แต่ไม่หยุดโรงเรียนครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
- だが、 けれども、 しかし、 ところが และ でも เป็นคำเชื่อมที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยคที่มีความหมายขัดแย้งกัน โดยประโยคข้างหน้าจะเป็นสาเหตุ และประโยคข้างหลังจะเป็นผลที่ขัดแย้งกัน
พบ 6 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 1
ทำไมถึงไม่อธิบายว่า だが、 けれども、 しかし、 ところが และ でも มีความหมายว่าเทียบกับภาษาไทยว่า "แต่" คะ
ทำไมถึงอธิบายว่าเป็นการเชื่อมประโยคที่มีความหมายขัดแย้งกันคะ
แค่สงสัยเฉยๆค่ะ
Sati
20 พย 56 17:35
ความเห็นที่ 2
การเรียนภาษา ผมคิดว่าควรจำตามบริบทการใช้คำนั้น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบให้ตรงกับภาษาแม่
เพราะบางครั้ง (หลายครั้ง) จะมีคำที่ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ตรงๆ
หรือหากเปรียบเทียบได้ แต่ก็อาจจะขาดบ้าง เกินบ้าง ก็มี
ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีนี้ แม้คุณ Sati จะแปลว่า "แต่"
แต่บางคนก็อาจจะแปลว่า "อย่างไรก็ดี" หรือ "อย่างไรก็ตาม" ก็ได้
จำตามบริบท น่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าครับ
webmaster
21 พย 56 23:50
ความเห็นที่ 3
มีตั้ง 5 คำ จะใช้ยังไงครับ หรืออยากใช้ตัวไหนก็ได้..
มีหลักการใช้ไหมครับ
AgentMolder
29 พย 56 08:40
ความเห็นที่ 4
ตอบตามพจนานุกรมคำพ้องนะครับ อาจจะไม่ตรงกับที่สอนในตำรา
だが เป็นภาษาเขียน ซึ่งปกติผู้หญิงไม่ค่อยใช้
ところが แฝงด้วยความรู้สึกประหลาดใจว่า "ผล" แตกต่างไปจากที่คาดคิดไว้มาก
しかし ใช้ในเชิงว่า "เหตุ" นำไปสู่ "ผล" ที่แตกต่างจากที่คิด คืออาจไม่ใช่เรื่องที่ขัดแย้งกันโดยตรง
だが、しかし、けれども นอกจากใช้เชื่อมประโยคขัดแย้งแล้ว ยังใช้เชื่อมประโยคคู่ขนาน หรือใช้ยอมรับในประโยคที่เป็น "เหตุ" แต่ยก "ผล" อื่น มาแสดงเพื่อเปรียบเทียบกันก็ได้
でも เป็นภาษาพูด จะใช้ในกรณีที่ไม่ได้ขัดแย้งกันในเชิงตรรกะ หรือใช้พูดในเชิงแก้ตัว ก็ได้
webmaster
4 ธค 56 15:26
ความเห็นที่ 5
ขออนุญาติสอบถามค่ะ ถ้าจะสอบ N4 ต้องเรียนถึงบทไหนค่ะ
ขออนุญาติสอบถามค่ะ ถ้าจะสอบ N4 ต้องเรียนถึงบทไหนค่ะ
18 กย 66 16:59
ความเห็นที่ 6
webmaster ไม่เคยสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นมาก่อน
เลยตอบไม่ได้ว่า N4 ต้องเรียนถึงบทไหน
เอาไว้วันหลัง จะลองสรุปสาระของ N4 และ N5
ว่าควรมีความรู้ครอบคลุมประมาณไหนบ้าง ให้ครับ
webmaster
19 กย 66 14:29
pageviews 8,319,474