อ่าน 160,982 ครั้ง
~たり เป็นสำนวนในการยกตัวอย่างการกระทำหรือเหตุการณ์หลายๆอย่างที่เกิดขึ้น โดยมีรูปแบบ คือ
คำกริยา /ta form +たり คำคุณศัพท์ /ta form +たり ... คำกริยา /ta form +たり คำคุณศัพท์ /ta form +たり .. など
赤ちゃん が 泣いたり 笑ったり する
akachan ga naitari warattari suru
เด็กอ่อนร้องไห้บ้างหัวเราะบ้าง
人 が 出たり 入ったり する
hito ga detari haittari suru
คนเดินออกบ้างเข้าบ้าง
漢字 を 読んだり 書いたり など して、日本語 を 勉強 する
kanji o yondari kaitari shite, nihongo o benkyou suru
เรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยการอ่านคันจิบ้าง เขียนบ้าง เป็นต้น
最近 は 暑かったり 寒かったり、気候 が よく 変化 する
saikin wa atsukattari samukattari, kikou ga yoku henka suru
ระยะนี้ ร้อนบ้าง หนาวบ้าง อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
โพสต์ความเห็น
พบ 27 ความเห็นในบทเรียนนี้
ความเห็นที่ 11
ท่าน webmaster ผมไม่แน่ใจว่าถามถูกบทหรือเปล่านะครับ แฮ่ๆๆ [groggy][groggy] ถ้าผิดก็ขออภัยด้วย
ทำอันนู้นบ้างอันนี้บ้างใช้ ...たり+...たり ซึ่งเป็นประโยคบอกเล่า แต่ถ้าจะตั้งคำถามจะพูดว่าอย่างไรครับ
เช่น
มีหัวข้ออะไรบ้าง
ทำอะไรบ้าง
ในมือมีอะไรบ้าง
ทำอะไรได้บ้าง
พวกนี้จะพูดว่าอย่างไรครับ รบกวนหน่อยนะครับ[sad][sad][sad]
Aitti
18 ธค 56 07:05
ความเห็นที่ 12
ขอถามเพิ่มเติมจากคห.9 ค่ะ
ประโยคที่เชื่อมกันโดยตัด ます ออกเหลือแค่ Vし、... เนี่ยมันใช้ยังไงแน่คะแล้วใช้ในความหมายอะไรบ้าง
ใช้ในภาษาทางการหรือทั่วไปคะ ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ค่ะ[groggy] เช่น
一般に熱処理を行なう場合、熱処理炉の炉温を測定し、それを材料加熱温度としています。
หรือ 仕上状態としては固溶化熱処理仕上と圧延仕上があり、圧延仕上の方が大きい強度が得られます。
หรือ ...になり、...อะไรประมาณนี้แหละค่ะ ไม่ทราบว่าหลักการของรูปประโยคแบบนี้คืออะไร จะใช้เมื่อไหร่
ความหมายคล้ายกับรูปประโยคไหนบ้าง รบกวนขอความกระจ่างด้วยค่ะ[sad]
ขอบคุณค่ะ
Aom
18 ธค 56 12:13
ความเห็นที่ 13
ตอบคุณ Aitti ความเห็น #11
ใช้ どんな = แบบไหน อย่างไหน ครับ
มีหัวข้ออะไรบ้าง どんなテーマがある?
ทำอะไรบ้าง どんなことをする?
ในมือมีอะไรบ้าง 手の中にどんな物がある?
ทำอะไรได้บ้าง どんなことができる?
webmaster
18 ธค 56 15:06
ความเห็นที่ 14
ตอบคุณ Aom ความเห็น #12
一般に熱処理を行なう場合、熱処理炉の炉温を測定し、それを材料加熱温度としています。
หรือ 仕上状態としては固溶化熱処理仕上と圧延仕上があり、圧延仕上の方が大きい強度が得られます。
หรือ ...になり
ประโยคที่ยกตัวอย่าง เป็นการผันคำกริยาในรูป 連用形 มีความหมายลำดับเหตุการณ์ หรือสื่อถึงสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล ซึ่งหากใช้ในรูป te form ก็มักจะได้หมายหมายเหมือนๆกัน เพียงแต่ว่าหากใช้ te บ่อยๆ รูปประโยคจะไม่ค่อยสวย
แต่ตอบตรงๆว่า อธิบายตามโครงสร้างไวยากรณ์ไม่ถูกครับ ว่าตอนไหนจะใช้ te form ตอนไหนจะใช้ในรูป renyoukei (form ก่อนที่จะเติม ます) เพราะตอนเรียน ไม่เคยเรียนถึงขั้นนี้ [sad]
=======================
สำหรับ Vし、Vし ในความเห็น #9 และ #10 กรณีนั้น し เป็นคำช่วยเชื่อม
1. ใช้ในการยกสิ่งที่คู่ขนานกันขึ้นมาพูด เช่น Aもできるし、Bもできるし、Cもできる。
2. หรือใช้ยกเรื่องขึ้นมาเปรียบเทียบกัน เช่น Aでもないし、Bでもないし、...
เป็นต้น ซึ่งปกติจะใช้เป็นภาษาพูดครับ
webmaster
18 ธค 56 15:36
ความเห็นที่ 15
ขอบคุณมาก ครับ [peace][peace] ท่าน webmaster
Aitti
19 ธค 56 08:30
ความเห็นที่ 16
ครับ ^^
webmaster
21 ธค 56 22:46
ความเห็นที่ 17
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำอธิบาย ได้รับความกระจ่างขึ้นมากจริงๆค่ะ
ขอเรียก 先生 แล้วกันนะคะ
อาจารย์ถ่อมตัวอยู่เรื่อยเลยค่ะ มีเนื้อหามาสอนเยอะขนาดนี้ ยังบอกว่าไม่เคยเรียนถึงขั้นนี้อีกแนะ
ทำงานมาหลายปีก็เพิ่งเคยได้ยินว่ามี renyoukei ด้วย ทีแรกตั้งใจว่าจะหาความรู้ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติมเผื่อเอาไว้สอนเป็นอาชีพเสริม แต่พอเข้ามาศึกษาเนื้อหาที่อาจารย์ทำขึ้นในเว็บไซต์นี้แล้ว รู้สึกว่าตัวเองยังห่างไกลคำว่าผู้สอนมากเลยค่ะ เพราะยิ่งอ่านก็ยิ่งมีอะไรที่ไม่รู้และเพิ่งรู้อีกเยอะเลย
ขอบคุณมากๆอีกครั้งสำหรับสิ่งดีๆที่นำมาแบ่งปันนะคะ
Aom
13 มค 57 11:56
ความเห็นที่ 18
ข้อมูลเกือบทั้งหมดในนี้ เป็นข้อมูลที่ค้นหาแล้วนำมาสรุปเรียบเรียง ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ในตัวของผม
ตอนที่อ่านตำราญี่ปุ่นมากที่สุด ก็คือตอนที่อ่านเพื่อที่จะเขียนเว็บนี่แหละครับ
ยินดีที่ข้อมูลในเว็บเป็นประโยชน์ครับ
webmaster
15 มค 57 18:34
ความเห็นที่ 19
สวัสดีครับ ตอนนี้ผมศึกษาทั้ง147 บทแล้วครับ ขอขอบคุณสำหรับเนื้อหามากครับ ผมคงจะไปต่อในส่วนของคำช่วย ยังไงถ้าไม่เข้าใจก็รบกวนขอคำชี้แนะด้วยนะครับ
Hira
6 เมย 58 12:39
ความเห็นที่ 20
หวังว่าคงเป็นประโยชน์นะครับ
ส่วนเรื่องคำช่วยที่รวบรวมมาเขียนในเว็บ ไม่ได้แยกระดับความยากง่ายเอาไว้
บางคำจึงอาจมีคำอธิบายการใช้งาน ทั้งส่วนที่ง่ายใช้บ่อย และส่วนที่ยากหรือไม่ค่อยได้ใช้ ผสมรวมกันไป
ซึ่งต้องแยกจำดีๆ ไม่จำเป็นต้องจำให้ได้ทั้งหมดในครั้งเดียวครับ
webmaster
11 เมย 58 10:18
1 1 2 3 3
pageviews 8,319,603
Top