ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นไม่ยากอย่างที่คิด

ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาหลักที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ได้กำหนดให้เป็นภาษาประจำชาติก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติ ภาษาญี่ปุ่นถูกใช้เป็นภาษาประจำชาติ ทั้งในสถานที่ราชการและสถานศึกษาในประเทศญี่ปุ่น

ปัจจุบัน ภาษาญี่ปุ่นนอกจากจะใช้โดยชาวญี่ปุ่นทั้งในและนอกประเทศรวมมากกว่า 130 ล้านคนแล้ว ยังได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติอย่างกว้างขวาง โดยมีชาวต่างชาติเรียนภาษาอยู่ในประเทศญี่ปุ่นประมาณ 170,000 คน และเรียนอยู่ใน 125 ประเทศทั่วโลก อีกประมาณ 3,600,000 คน โดยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 จะเป็นชาวเอเซีย เช่น เกาหลีใต้ 960,000 คน จีน 830,000 คน และฟิลิปปินส์ 720,000 คน เป็นต้น

โครงสร้างของประโยคในภาษาญี่ปุ่น มีรูปแบบหลัก 2 ชนิด คือ

1. ประธาน (Subject) + ภาคแสดง (Predicate)

เป็นรูปแบบพื้นฐานเพื่อบอกว่า ประธานเป็นอะไร ทำอะไร หรือมีลักษณะอย่างไร โดยภาคประธานจะต้องเป็นคำนาม ส่วนภาคแสดงจะเป็นคำนาม คำกริยา หรือคำคุณศัพท์ก็ได้ เช่น

2. หัวข้อ (Topic) + [ ประธาน + ภาคแสดง ]

เป็นรูปแบบประโยคที่มีหัวข้อและประธานอยู่ในประโยคเดียวกัน เพื่อสื่อสารว่ากำลังกล่าวถึงหัวข้อหรือเรื่องอะไร และหัวข้อนั้นมีรายละเอียดอย่างไร เช่น

ประโยคแบบที่ 2 มีโครงสร้างแตกต่างกับภาษาอังกฤษ แต่คล้ายกับโครงสร้างภาษาในประเทศแถบเอเซียซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ดังนั้น คนไทยที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นจึงสามารถทำความเข้าใจโครงสร้างประโยคทั้ง 2 ชนิดได้โดยไม่ยากนัก

ภาษาญี่ปุ่นจะจัดเรียงคำในประโยคในตำแหน่งที่แตกต่างกับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กล่าวคือ วลีที่เป็นคำขยายประธานหรือภาคแสดง จะวางไว้ข้างหน้าคำที่ต้องการขยาย เช่น

[คำขยาย 2] [คำขยาย 1] [ประธาน] + [คำขยาย 4] [คำขยาย 3] [ภาคแสดง]

[kaze wo hiita] [watashi no] [tomodachi ga] + [ashita] [byouin ni] [ikimasu]

[เป็นหวัด] [ของฉัน] [เพื่อน] + [วันพรุ่งนี้] [โรงพยาบาล] [จะไป]

คำว่า "เป็นหวัด" และ "ของฉัน" เป็นคำที่ขยายประธานคือ "เพื่อน"

ส่วนคำว่า "พรุ่งนี้" และ "โรงพยาบาล" เป็นคำที่ขยายภาคแสดง คือ "จะไป"

ประโยคข้างต้นจึงมีความหมายว่า "เพื่อนของฉันที่เป็นหวัด จะไปโรงพยาบาลวันพรุ่งนี้"

นอกจากภาษาญี่ปุ่นจะมีคำช่วยกว่า 20 ชนิด เพื่อระบุหน้าที่ของคำในประโยคว่าแต่ละคำมีหน้าที่อย่างไรแล้ว คำกริยาและคำคุณศัพท์ยังสามารถผันให้เป็นรูปแบบต่างๆ เพื่อสื่อสารความหมายต่างๆได้เป็นสิบๆ วิธี และสามารถสร้างคำกริยาขึ้นใหม่ได้โดยแทบจะไม่มีขอบเขตจำกัด และยังมีการใช้คำสุภาพ คำถ่อมตน คำยกย่องฝ่ายตรงข้าม คำเลียนเสียง คำเลียนอาการ และมีการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนที่แตกต่างกัน ภาษาญี่ปุ่นจึงเป็นภาษาที่มีความลึกซึ้ง ยากที่จะเรียนรู้ให้แตกฉาน

บทเรียนและไวยากรณ์ญี่ปุ่นในเว็บไซต์นี้ คงจะมีส่วนช่วยให้ผู้ที่สนใจ ได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง เพื่อเป็นรากฐานในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นและภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงยิ่งๆขึ้นต่อไป

1 มกราคม 2555

สมุดเช็คชื่อ
ขอต้อนรับสู่เว็บ 「ภาษาญี่ปุ่นไม่ยากอย่างที่คิด」
ขอเชิญผู้ที่แวะมาเรียน หรือเยี่ยมชม ลงชื่อเข้าเรียน หรือให้คำแนะนำติชมได้ที่นี่
webmaster

ดูสมุดเช็คชื่อ

พบ 279 ความเห็นในสมุดเช็คชื่อ

ความเห็นที่ 277
ขอเรียนด้วยคนค่า
siri 14 พย 67 14:29

ความเห็นที่ 278
私が日本語を勉強して頑張ります。
マイ 16 พย 67 22:55

ความเห็นที่ 279
กำลังจะสอบ N3 จะตั้งใจเรียนอย่างดีเลยค่ะ
I can do it 20 พย 67 22:23

ความเห็นล่าสุดในบทเรียน

พบความเห็นใน 134 บทเรียน

บทที่ 4 คันจิ (Kanji) webmaster 8 พย 67
บทที่ 44 การผันคำกริยา Junko 24 สค 67
บทที่ 147 ~たり วิว 23 พค 67
บทที่ 19 คำวิเศษณ์ Time 22 พค 67
บทที่ 70 การเชื่อมประโยคที่ขัดแย้งกัน webmaster 19 กย 66
บทที่ 63 คุณศัพท์วลี + คำนาม webmaster 30 มีค 66
บทที่ 42 ปุจฉาสรรพนาม + でも webmaster 28 มีค 66
บทที่ 73 การเชื่อมเรื่องที่ให้เลือก webmaster 5 มีค 66
บทที่ 15 จำนวนและตัวเลข webmaster 20 กพ 66
บทที่ 14 วัน เวลา webmaster 19 กพ 66
บทที่ 121 ~ように pp 24 ธค 65
บทที่ 47 ประโยคปัจจุบันกาล ฉันกำลังเรียนภาษาญี่ปุ่น 17 ธค 65
บทที่ 21 การใช้ は ลูกน้ำ 27 ตค 65
บทที่ 3 คาตาคานะ (Katakana) ปิ่น 24 ตค 65
บทที่ 118 ~の方 pp 16 กย 65
บทที่ 7 ประโยคบอกเล่า Roboto 3 สค 65
บทที่ 35 การใช้ だけ MIm 22 กค 65
บทที่ 133 ~ておく pp 6 กค 65
บทที่ 69 การเชื่อมประโยคที่สอดคล้องกัน pp 1 กค 65
บทที่ 84 การย้ำสิ่งที่ตัดสินใจ ~さ pp 29 มิย 65

>7

pageviews 8,319,158