家貧しくて孝子顕る
いえまずしくてこうしあらわる
ie mazushikute koushi arawaru
อ่าน 5,705 ครั้ง
บ้านยากจนจะเห็นลูกกตัญญู
เด็กที่เกิดในครอบครัวร่ำรวยจะมองได้ยากว่าเป็นเด็กกตัญญูหรือไม่ ต่างกับเด็กที่เกิดในครอบครัวยากจน ซึ่งจะเห็นได้ง่ายว่าเป็นเด็กกตัญญูจากการที่ขยันขันแข็งและช่วยเหลือครอบครัว
เป็นคำเปรียบเทียบว่า ในสถานการณ์ที่คับขันหรือไม่เอื้ออำนวย มักจะทำให้เห็นถึงธาตุแท้ของคนๆนั้นได้ง่ายกว่าสถานการณ์ปกติทั่วไป
คำพ้อง : 国乱れて忠臣見る
พบ 8 ความเห็น
ความเห็นที่ 1
เห็นด้วยกับ Web Master ครับ
親孝行者
ของไทยคงจะประมาณว่า พ่อแม่รังแกฉัน[mmm]
親日家
9 กพ 55 09:12
ความเห็นที่ 2
เวลาเปลี่ยนไป
ความหมายก็เปลี่ยนไป
สมัยนี้ ...
ไม่ต้องขยันขันแข็ง ไม่ต้องช่วยงานบ้าน
กลับถึงบ้าน ก็หมกตัวอยู่ในห้องแต่เพียงลำพัง
ไม่ต้องทักทายโอบกอดพ่อแม่
... ก็ไม่เป็นไร
ขอเพียงไม่ไปติดยา ไม่ไปก่อปัญหานอกบ้าน
จนพ่อแม่ต้องตามไปเคลียร์ที่โรงพัก
... ก็อาจเรียกว่าเป็น "ลูกกตัญญู" ได้แล้ว กระมังครับ [sad]
webmaster
9 กพ 55 13:43
ความเห็นที่ 3
ปัญหาสังคมต่างๆในปัจจุบัน
พื้นฐานมาจากครอบครัวนี่แหละครับ
ผมว่าการศึกษาเเละความรักเอาใจใส่
คือ สมบัติอันล้ำค่า สร้างคนดี คนเก่ง ในสังคม
ยิ่งกว่าเงินทองอีกครับ [sad]
親日家
10 กพ 55 09:04
ความเห็นที่ 4
สังคมญี่ปุ่นสมัยก่อน พ่อไปทำงาน แม่อยู่บ้านเลี้ยงลูก
พ่อได้เงินเดือนมากพอที่จะเป็นหลักประกันให้ครอบครัว
แต่ก็ต้องทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับบริษัท เพื่อแลกกับหลักประกันนั้น
ส่วนแม่ก็จะให้เวลาทั้งหมดกับการอบรมเลี้ยงดูลูกให้เป็นเด็กดีมีสัมมาคารวะ
สอนให้รักและเคารพพ่อ ซึ่งต้องเสียสละเวลาทั้งหมดให้กับงาน
จนแทบจะไม่มีเวลาเห็นหน้าเห็นตาลูกเลย
สังคมในอดีตเช่นนี้ น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้เขาสามารถผลิตพลเมืองดีได้
แต่ปัจจุบัน พ่อตกงาน แม่ต้องออกไปทำ part time
สังคมครอบครัวของเขาก็ค่อนข้างล้มเหลวเหมือนกันครับ
webmaster
10 กพ 55 10:36
ความเห็นที่ 5
ผมชอบใจ และมีความเข้าใจในสุภาษิตนี้จริงๆ
เลยมีคลิปมาฝากให้เลือกชมประกอบ ครับ
http://mizusawa.forumth.com/t124-topic
http://mizusawa.forumth.com/t125-topic
http://mizusawa.forumth.com/t126-topic
Mizusawa
12 กพ 55 01:21
ความเห็นที่ 6
ขอบคุณมากครับ
หากพบเห็นสุภาษิต หรือบทเรียนบทไหน ที่ผมเขียนผิดไป
กรุณาช่วยให้คำแนะนำด้วยนะครับ [smile]
webmaster
13 กพ 55 14:51
ความเห็นที่ 7
ไม่เข้าใจคำว่า あらわるคะ ช่วยอธิบายเพิ่มเติมหน่อยได้ไม๊คะ เปิดพจนานุกรมดูรู้สึกว่าคันจิตัวนี้เป็นแบบเก่า
ขอบคุณคะ
Deki
10 สค 55 10:42
ความเห็นที่ 8
あらわる เขียนได้ 3 แบบคือ 現る, 表る และ 顕る
แต่ปัจจุบันตัวที่ 3 ไม่ใช่วิธีอ่านแบบคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (jouyou kanji)
あらわる เป็นฟอร์มภาษาเขียนของคำว่า あらわれる (現れる, 表れる, 顕れる)
ซึ่งบางครั้ง ฟอร์มภาษาเขียน อาจจะเป็นรูปแบบภาษาเก่า ซึ่งไม่เหมือนภาษาพูด อย่างเช่นในกรณีนี้
สำหรับกรณีนี้ สามารถแปลเหมือนกับคำว่า 現れる ได้เลยครับ
webmaster
10 สค 55 12:06
1
pageviews 3,779,554