一富士二鷹三茄子
いちふじにたかさんなすび
ichi fuji ni taka san nasubi
อ่าน 5,644 ครั้ง
หนึ่งฟูจิ สองเหยี่ยว สามมะเขือ
ในการฝันครั้งแรกเมื่อขึ้นปีใหม่ สิ่งที่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดีที่สุด คือ
ลำดับที่ 1 คือ ภูเขาฟูจิ
ลำดับที่ 2 คือ เหยี่ยว
ลำดับที่ 3 คือ มะเขือ
พบ 1 ความเห็น
ความเห็นที่ 1
สุภาษิตนี้เกิดขึ้นในช่วงต้นของยุคเอโดะ (พศ.2146-2411) โดยเชื่อว่ามีที่มาจากศาลเจ้า Komagome fuji jinja ในเขต komagome ของกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งสำหรับสักการะภูเขาฟูจิในยุคเอโดะ
ศาลเจ้านี้สร้างอยู่บนเนินสูง สามารถมองเห็นภูเขาฟูจิได้จากศาลาวิหาร และบริเวณใกล้เคียงกับศาลเจ้านี้ มีโรงฝึกเลี้ยงเหยี่ยวที่มีชื่อเสียง และมะเขือก็เป็นพืชผักที่มีชื่อเสียงในย่าน komagome นี้ด้วย จึงมีการนำไปผูกเป็นบทกลอนถึงสิ่งที่เป็นนิมิตหมายที่ดีในการฝันครั้งแรกเมื่อขึ้นปีใหม่
นอกจากนี้ ยังมีทฤษฎีอื่นเกี่ยวกับที่มาของสุภาษิตนี้อีก เช่น
- หมายถึงสิ่งที่มีชื่อเสียง 3 ลำดับแรกของเมือง Tsuruga no kuni หรือเมือง Shizuoka ในปัจจุบัน
- หมายถึงสิ่งที่ Tokugawa Ieyasu ที่อยู่ที่เมือง Tsuruga no kuni นี้ มองเห็นว่าเป็นของสูง โดยลำดับที่ 2 คือ Taka ไม่ได้หมายถึงเหยี่ยว แต่หมายถึงชื่อภูเขาคือ Ashitakayama ส่วนลำดับที่ 3 คือมะเขือ ซึ่งเป็นพืชฤดูร้อน จึงจะมีราคาแพงมากในช่วงต้นปีใหม่
- หมายถึงสิ่งที่ Tokugawa Ieyasu ชอบมากที่สุด คือ ภูเขาฟูจิ การล่าเหยี่ยว และมะเขือในช่วงต้นฤดู
- ภูเขาฟูจิ คือสิ่งที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น เหยี่ยวคือนกที่ฉลาดและแข็งแรง และมะเขือ (nasubi หรือ nasu) มีเสียงพ้องกับคำว่า 成す (nasu) ซึ่งแปลว่า ทำสำเร็จ
- ฟูจิ (fuji) เป็นคำพ้องเสียงกับ 無事 (buji) ซึ่งแปลว่า ปลอดภัย ส่วนเหยี่ยว (taka) เป็นคำพ้องเสียงกับ 高 (taka) ซึ่งแปลว่า สูง ส่วนมะเขือ (nasubi หรือ nasu) เป็นคำพ้องเสียงกับ 成す (nasu) ซึ่งแปลว่า ทำสำเร็จ
นอกจาก 3 ลำดับนี้แล้ว ยังมีสิ่งเกี่ยวกับนิมิตที่ดีงามในลำดับถัดไปอีก คือ
ลำดับที่ 4 พัด
ลำดับที่ 5 บุหรี่
ลำดับที่ 6 หมอนวด (ในสมัยเอโดะ จะเป็นชายตาบอดโกนศีรษะโล้น)
โดยลำดับที่ 1 และ 4 คือ ภูเขาฟูจิ และพัด จะมีความหมายคู่กัน คือมีฐานขยายกว้างออกไป อันหมายถึงมีการลูกหลานและฐานะเจริญรุ่งเรืองมั่นคง
ลำดับที่ 2 และ 5 คือ เหยี่ยว และบุหรี่ (ควันบุหรี่) ก็จะมีความหมายคู่กัน คือการลอยขึ้นสู่ที่สูง อันหมายถึงการมีโชคที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
และลำดับที่ 3 และ 6 คือ มะเขือ และหมอนวดศีรษะโล้น ก็มีความหมายคู่กัน คือเป็นการพ้องเสียงระหว่างคำว่า "ไม่มีขน" (毛がない : ke ga nai ) และ "ไม่บาดเจ็บ" (怪我ない : kega nai) จึงถือเป็นเคล็ดที่ดี
webmaster
29 กพ 55 13:53
pageviews 3,779,543